Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาหารและโภชนาการ - Coggle Diagram
อาหารและโภชนาการ
-
-
-
-
การจัดอาหารมื้อต่างๆ
อาหารมื้อกลางวัน
ควรจัดหรือเลือกรับประทานอาหารประเภทจานเดียว แต่มีคุณค่าทาง โภชนาการครบถ้วน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ข้าวผัด ราดหน้า เป็นต้น และรับประทานผลไม้ต่าง ๆ แทนขนม หวาน
อาหารมื้อเย็น
ควรจัดหรือรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่รับประทานมากจนเกินไป เพราะหลังจากนี้ร่างกายต้องการพักผ่อน ไม่จําเป็นต้องใช้พลังงานมาก จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อย ง่าย ถ้าเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อปลา หลีกเลี่ยงสารอาหารประเภททอด เน้นรับประทานผักและ ผลไม้ และควรรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อนเข้านอนประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง
อาหารมื้อเช้า
เป็นอาหารมื้อแรกของวันที่มีความสําคัญที่สุด เพราะในระหว่างที่ร่างกาย นอนหลับ ร่างกายใช้พลังงานมากจากกลูโคสที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ ดังนั้น ในมื้อเช้าจึงจําเป็นต้องรับประทาน อาหารที่มีสารอาหารครบห้าหมู่ เพื่อชดเชยสารอาหารและพลังงานที่ร่างกายได้สูญเสียไป อันจะทําให้ ร่างกายมีพลังงานในการทํางานได้อย่างเต็มที่
อาหารว่าง
เป็นอาหารหรือเครื่องดื่มที่แทรกระหว่างมื้อ จึงควรเป็นอาหารที่รับประทาน แล้วไม่อิ่มจนเกินไป เป็นการรับประทานเพื่อเป็นการรองท้องก่อนจะถึงอาหารมื้อหลัก เช่น ขนมปัง นมถั่ว เหลือง ผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
การดัดแปลงอาหาร
หมายถึง การนําอาหารคาวหวาน เครื่องดื่มที่ปรุงสําเร็จแล้วหรือที่เหลือเป็น วัตถุดิบ มาปรุงแต่งดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ ทําให้ได้อาหารตํารับใหม่ ซึ่งมีรสชาติและลักษณะอาหารผิดไป จากอาหารเดิม แต่ยังสามารถรับประทานหรือจัดเลี้ยงอาหารมื้อต่อไปได้ โดยผู้รับประทานไม่เกิดความรู้สึกว่า เป็นอาหารที่เคยรับประทานแล้ว
-
-
-
การเลือกซื้ออาหาร
ประเภทอาหารสด
เนื้อเป็ด,ไก่
เนื้อเป็ดไก่ควรเลือกซื้อจากแหล่งเลี้ยงและชําแหละที่สะอาดถูกหลักอนามัย ต้องล้างเอาปอด หัวใจ และ เลือดภายในทรวงอกออกให้หมด ปลายปีกไก่ต้องไม่มีสีคล้ํา การบรรจุสะอาด เวลาเลือกซื้อไม่ควรใช้มือสัมผัสโดยตรง ควรใช้ถุงมือพลาสติก หรือใช้ครีมหยิบจับเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนก
ไข่
ไข่ควรเลือกซื้อที่เปลือกสะอาด ถ้าเป็นไข่ใหม่ลูบเปลือกไข่แล้วจะรู้สึกสากมือ ไม่ลื่น หลีกเลี่ยงการใช้ไข่ที่ แตกร้าว ไข่ที่ดีเมื่อนํามาส่องกับแสงไฟ ภายในเนื้อไข่ต้องไม่มีจุดสีดําโพรงอากาศเล็ก ถ้านํามาลอยในน้ําไข่ที่ดีจะ จมน้ําเมื่อตอกไข่แดงนูนแสดงว่าเป็นไข่ใหม่
เนื้อหมู,วัว
เนื้อหมูควรมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่มีสัตวแพทย์ควบคุมเนื้อวัวที่ดีจะมีสีแดงสดเนื้อหมูควรมีสีชมพูไม่ ควรบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงผิดปกติเพราะพ่อค้าให้สารเร่งเนื้อแดง หรือบางครั้งพ่อค้าจะใช้ดิน ประสิวทาที่เนื้อ เนื้อจะมีสีแดงอยู่เสมอ เนื้อสัตว์ที่ดีต้องไม่มีกลิ่นเน่าและกลิ่นแอมโมเนีย ไม่มีเมือกลื่น ไม่มีไข่พยาธิ
กุ้ง
หางและครีบกุ้งต้องไม่เปลี่ยนเป็นสีชมพูยกเว้นกุ้งบางชนิดที่มีส่วนสีชมพูอ่อนตามธรรมชาติตัวกุ้งต้องมี เนื้อแน่นใสไม่มีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย กุ้งสดเมื่อต้มแล้วจะพบว่าแกะยากเพราะเปลือกจะกับหัวกุ้ง
ผักผลไม้
ผักและผลไม้ควรเลือกพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลที่มีลักษณะเหมาะสมกับพันธุ์ของพืชผักเหล่านั้นไม่มีรอย ช้ําพืชผักกินใบอาจมีรูของหนอนเจาะได้เล็กน้อยส่วนผักที่รับประทานทั้งหัว และผลไม่ควรมีรอยกระแทกของหนอน และแมลง
ปลา
ควรเลือกซื้อปลาที่เหงือกมีสีแดงสด ครีบของเหงือกปิดสนิท ไม่มีเมือกบริเวณใต้ท้อง ไม่มีกลิ่น ตาใสเปิด โตเต็มที่ ไม่ลึกโบ๋หรือขุ่นเป็นสีเทา เกล็ดเป็นมัน สดใส ไม่แห้ง เนื้อแน่น ไม่หลุดออกจากกันได้ง่าย ถ้าใช้นิ้วกดลงไป บนเนื้อปลาจะต้องไม่เป็นรอยบุ๋มอยู่นาน ถ้านําไปลอยน้ําปลาจะจมลงก้นอ่าง ปลาที่แล่เนื้อแล้วต้องไม่มีสีเขียว
หอย
หอยที่สดฝาจะปิดสนิท ถ้าเป็นหอยที่ฝาเผยออยู่ เมื่อเอานิ้วไปแตะฝาจะปิดทันทีไม่มีกลิ่นเน่า เปลือกไม่ มีเมือกและไม่สกปรกมาก หอยที่ดีเมื่อนําไปลอยน้ําหอยจะจม เมื่อแกะเปลือกหอยเนื้อหอยจะมีสีแดงสด ไม่ควร รับประทานหอยที่มีถิ่นกําเนิดในแหล่งน้ําเสีย
ประเภทอาหารแห้ง
อาหารประเภทนี้ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่สะอาด อาหารแห้งที่ดีต้องไม่ชื้น ไม่มีเชื้อรา ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน สีและ สภาพปกติถ้าใส่สารกันเสียจะต้องใช้กรดเบนโซอิก โซเดียมเบนโซเอต หรือโพแทสเซียมเบนโซเอตไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปลาเค็มหรือปลาแห้งห้ามแต่งสีหรือพ่นด้วยดีดีทีถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดต้องไม่แตก ไม่มีจุดดําๆ ของเชื้อรา บรรจุในหีบห่อที่สะอาด มิดชิด หัวหอม หัวกระเทียม ต้องแห้งและมีเปลือกที่สะอาดไม่มีจุดดําของเชื้อรา
ประเภทอาหารกระป๋อง
ต้องมีฉลากปิดข้างกระป๋องให้เรียบร้อย ไม่บุบหรือโป่งบวม ไม่มีสนิม ตะเข็บรอยพับข้างกระป๋องเรียบร้อย กระป๋องเคลือบด้วยแลคเกอร์ส่วนกระป๋องที่คุณภาพไม่ดีจะมีสีดําเป็นแห่งๆ เมื่อเปิดกระป๋องจะต้องได้ยินเสียงลมเข้า ไปแทนสูญญากาศทันที
-
ความหมาย
อาหาร
สิ่งที่รับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน การดื่ม หรือ การฉีดเข้าสู่ ร่างกาย แล้วจะช่วยหล่อเลี้ยงชีวิต และเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย โดยให้สารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่าง
โภชนาการ
อาหารที่เรารับประทานเข้าไป แล้วร่างกายนําเอาไปใช้เพื่อการทําหน้าที่เป็นปกติ ของอวัยวะที่สําคัญ เช่น หัวใจ ปอด เป็นต้น นอกจากนั้นยังนําไปใช้เพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตของ ร่างกายการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
การประกอบอาหาร
การประกอบอาหาร หมายถึง การทําอาหารให้สุก ขบวนการที่จะทําให้อาหารสุกนั้นมีหลายอย่าง ได้แก่ หุง ต้ม ปิ้ง ย่าง เผา อบ ก่อนการประกอบอาหารจะต้องมีการเตรียม ได้แก่ การปลอก ล้าง หั่น สับ คลุก สารอาหารจะเหลือถึงผู้บริโภคเท่าใดขึ้นอยู่กับการเตรียม ถ้าทําไม่ถูกต้องตามหลักการสงวนคุณค่าของ อาหารแล้ว เมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่ช่วยบํารุงร่างกาย และสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง แต่อาจจะทําให้เกิดโรคขึ้น ได้