Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer) - Coggle Diagram
มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)
พยาธิสภาพ
มะเร็งกระเพาะอาหารเกี่ยวข้องกับเซลล์ที่สร้างเมือกในกระเพาะอาหารโดยเริ่มจากการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหารและมีการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ปกติไปสู่การขยายตัวที่มีการขยายตัวผิดปกติ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดadenocarcinomaซึ่งสามารถลุกลามกระจายไปทั่วกระเพาะอาหารรวมถึงแพร่ไปยังตับมีลักษณะเป็นก้อน การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองเกิดได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากกระพะอาหารเป็นตำแหน่งที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก รวมถึงท่อน้ำเหลืองและแพร่กระจายไปสู่ ตับ ปอด รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องตามมา
สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุที่แท้จริง ยังไม่ชัดเจน โดยมักเกิดจากปัจจัยร่วมหลายปัจจัย ดังนี้
กระเพาะอาหารอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
3.การถูกกัดจากสารเคมี กรด น้ำย่อยซ้ำ ๆ เช่น น้ำดี ยาต้านการอักเสบ ยาแอสไพริน หรือการสูบบุหรี่จัด
การบาดเจ็บของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ผนังเยื่อบุและเกิดการระคาย
การมีประวัติติ่งเนื้อหรือการผ่าตัดกระเพาะอาหารบางส่วน
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงได้แก่รู้สึกอิ่มเร็วเบื่ออาหารอาหารไม่ย่อย บางรายมีอาการอาเจียนหรือปวดท้อง น้ำหนักลดอาจจะมีอาการน้ำเกินในช่องท้องตัวเหลืองตับโตบางรายอาจมีกระเพาะทะลุ มีเลือดออกหรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ คลำพบก้อนแข็งใต้ชายโครงด้านซ้าย
อาการของผู้ป่วย
มีอาการหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ท้องอืดอึดอัดแน่นท้องปวดท้องรู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนออกมาเป็นcontent สี bile ๒๐ CC
ภาวะแทรกซ้อน
น้ำในช่องท้อง หรือท้องมาน และน้ำในเยื่อหุ้มปอด
การอุดตันของกระเพาะอาหารส่วนปลาย รอยต่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก
เลือดออกในทางเดินอาหาร จากภาวะเส้นเลือดที่หลอดอาหารโป่งพอง
ดีซ่านจากภาวะตับโต หรือท่อน้ำดีอุดตัน
อ่อนเพลียจากการขาดสารอาหาร
ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกที่เป็นผลมาจากเนื้อร้าย
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
1.ยา Carboplatin/5-FU เป็นยาต้านมะเร็งกลุ่ม Antimetabolite มีฤทธิ์เป็น Cytotoxic drugs
อาการข้างเคียงได้แก่ แผลในปาก ท้องเสีย ตาพร่า เคืองตา ผิวหนัง เล็บมือเล็บเท้าคล้ำลง เส้นเลือดที่เคยให้ยาดำเป็นลายกิ่งไม้ตามลักษณะของเส้นเลือด อ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแดงต่ำ เป็นต้น
การพยาบาล 1.เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยทุกรายจึงจะได้รับยาฉีดป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนก่อนรับยาเคมีบำบัดประมาณ 30 นาที
2.ยาเคมีบำบัดทุกชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ยาได้ หากรู้สึกแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เวียนศีรษะ หายใจติดขัด ต้องแจ้งพยาบาลทันที
Potassium Chloride (KCL) 40 mE เป็นยาป้องกันภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
อาการข้างเคียงคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระร่วง ท้องอืดแน่น ผื่นแดง และปัสสาวะบ่อยหัวใจเต้นช้าผิดปกติ หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื้อเยื่อตาย ปวด บริเวณที่ฉีด
การพยาบาล 1.Check v/s ทุก 4 ชั่วโมง
2.สังเกตภาวะแทรกซ้อน เมื่อ K. สูง (hyperkalemia)จะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ชาตามปลายมือปลายเท้า ใจสั่น ,ปัสสาวะบ่อย , อุจจาระร่วง , อ่อนแรง
ปัญหาการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากหอบเหนื่อย
2.มีภาวะเสียสมดุลของน้ำและอิเลคโทรไลต์ เนื่องจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
3.ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เนื่องจากท้องอืดอึดอัดแน่นท้อง ปวดท้อง
4.ผู้ป่วยรู้สึก ท้อแท้สิ้นหวังจากสภาวะของโรคที่เป็นอยู่
การพยาบาล
การดูแลด้านร่างกาย
1.จัดท่านอนศีรษะสูง 30 – 40 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อนตัว ปอดขยายตัวเต็มที่ เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
2.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ O2 3 LPM.ตามแผนการรักษา
3.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
4.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอิเลคโทรไลต์ 5% DSS + KCL 40mE q V drip 80 cc/hr ตามแผนการรักษา
5.สังเกตอาการและอาการแสดงถึงการเสียสมดุลของอิเลคโทรไลต์ คือ อาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง จังหวะการเต้นของหัวใจ ชาผิดปกติจากโปตัสเซียมต่ำ และอาการเบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว ซึม สับสน กล้ามเนื้อสั่นกระตุกจากโซเดียมต่ำ เป็นต้น
6.บันทึกปริมาณน้ำที่เข้า-ออก (Record I/O) จากร่างกาย และบันทึกลักษณะ ปริมาณของอาเจียน ปัสสาวะ
7.จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ให้รับประทานอาหารทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานไข่ขาวเพิ่มวันละ 2 ฟอง เพื่อเพิ่มปริมาณอัลบูมินในเลือด ซึ่งจะช่วยให้มีการควบคุมสมดุลน้ำในร่างกายดีขึ้น
8.ติดตามผลการตรวจ อิเลคโทรไลต์ในเลือด
การดูแลด้านจิตใจ
1.สร้างสัมพันธภาพ ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและด้วยการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก ความเชื่อ ร่วมค้นหาและกำหนดเป้าหมายในชีวิต
2.ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองให้ผู้ป่วยมีโอกาสในการตัดสินใจด้วยตนเอง ลดการเกิดภาวะสูญเสียอำนาจ
3.เปิดโอกาสให้ครอบครัวได้มีส่วนร่วม ช่วยเหลือและสนับสนุนให้มีการใช้เทคนิคผ่อนคลายอื่นๆ เช่น การนวด การสัมผัส การใช้ดนตรีหรือศิลปะ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้ป่วยต้องการและไม่ขัดต่อแผนการรักษา
4.การสื่อสาร พูดคุย กับผู้ป่วยทั้งแบบการใช้คำ พูดและไม่ใช้คำพูด ระหว่างการพูดคุยใช้การสัมผัสหรือสัมผัสบำบัด ถ่ายทอดความรู้สึกทางใจ ความเอื้ออาทร ความเข้าใจ ให้กำลังใจ แสดงความเข้าใจ และดูแลเอาใจใส่หมั่นมาเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นและไม่ถูกทอดทิ้ง
5.ให้คำปรึกษาผู้ป่วยทันทีที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพยาบาลสามารถเป็นที่พึ่งได้ในยามทุกข์
6.ดูแลจัดให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับผู้ป่วยอื่นที่มีความรู้สึกคล้ายกัน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายขึ้นและรู้สึกว่าตนเองไม่ได้เผชิญปัญหาความทุกข์เพียงคนเดียว
ประเมินสภาพวิเคราะห์เคส
ตัวอย่างผู้ป่วยที่ 2
หญิงไทยอายุ ๔๒ ปี Diagnosis Ca stomatch หลังจากได้รับChemotherapy ๕-Fu รู้สึกตัวดี มีอาการหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ ท้องอืดอึดอัดแน่นท้อง ปวดท้อง รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนออกมาเป็นcontent สี bile 20 CC On O2 canula 3 L/M O2 sat 97% On 5% DSS + KCL 40mE q V drip 80 cc/hr Hct= 25.7Wbc =8400 Na= 131K= 2.9 Albumin= 2.9 On NGT ต่อลง Comco Suction มีContent สีbile เล็กน้อย BP= 110/70 mmhg P =94 ครั้ง/นาที, R= 22 ครั้ง/ นาที, T= 37.7 ° C คำพูดที่ผู้ป่วยพูดกับพยาบาล “ มันปวดทรมานมากอยากตายให้รู้แล้วรู้รอดจะได้หมดเวรหมดกรรมไม่อยากอยู่แล้วรู้สึกทรมานเหลือเกิน อยากให้ฉีดยาให้ตายๆไปเลย ไม่มีเรี่ยวมีแรงหมดแรงแล้ว ยิ่งมาเห็นคนไข้ข้างๆเตียงร้องโหยหวลยิ่งรู้สึกปวดมากทรมานมากขึ้นใจมันหดหู่อย่างบอกไม่ถูก ทำไมต้องเป็นเราเวรกรรมแท้ๆ รู้สึกว่าทางรอดมีน้อยจริงๆ เหมือนใกล้จะตายแล้วจริงๆ คงไม่รอดแน่คราวนี้ ”
อาการสำคัญ
มีอาการหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ ท้องอืดอัดแน่นท้อง ปวดท้อง รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียนออกมาเป็น content สี bile 20 cc
ประวัติการเจ็บป่วย
หลังจากได้รับ chemotherapy 5-FU รู้สึกตัวดี มีอาการหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้
การวินิจฉัย Ca stomatch การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Hct 25.7 ต่ำ เสี่ยงต่อการเป็นภาวะโลหิตจาง
Wbc 8400 ปกติ
Na 131 ต่ำ เป็นภาวะที่มีปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
K 2.9 ต่ำ มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
Albumin 2.9 ต่ำ อาจเกิดจากการขาดสารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกโปรตีน