Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 9 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ได้กำหนดสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการที่ผู้สูงอายุต้องได้รับ
การจัดบริการและสวัสดิการในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1.การจัดบริการโดยรัฐ 2.การจัดบริการโดยเอกชน มีรายละเอียดดังนี้
1.การบริการและสวัสดิการู้สูงอายุโดยภาครัฐ มีรูปแบบการจัดและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้
ก.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ (สถานสงเคราะห์คนชรา Home for the age)
2.ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ (Day Center)
-บริการภายในศูนย์
-บริการบ้านพักฉุกเฉิน
-หน่วยเคลื่อนที่
3.การจัดอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)
4.เงินสงเคราะห์ในการจัดศพสำหรับศพผู้สูงอายุยากจนศพละ 2,000 บาท
5.กองทุนผู้สูงอายุ
6.การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับอันตรายจากการทารุณกรรม เบื้องต้น 500 บาท
7.การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เบื้องต้น 500 บาท
8.การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาครอบครัว
9.การช่วยเหลืออาหารและเครื่องนุ่งห่ม เป็นเงินครั้งละ 2000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/คน/ปี
ข.กระทรวงมหาดไทย
1.การจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้คนละ 500 บาท/เดือน จนเสียชีวิต หลักเกณฑ์คือ ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัญชาติไทย ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ 2.การจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุในวัด โดยชุมชนตนเอง
ค.กระทรวงสาธารณสุข
รับผิดชอบการจัดระบบบริการสุขภาพก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจัดตั้งบริการต่างๆดังนี้
-คลินิกผู้สูงอายุ (Geriatric clinic)
-การจัดบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้สูงอายุ
-ระบบบริการดูแลระยะยาว (Long term care)
-ศูนย์ดูแลกลางวัน (Day care)
ง.กระทรวงศึกษาธิการ
1.บริการการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีการจัดบริการการศึกษาต่อเนื่องในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา จัดโครงการฝึกอบรม จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน มีหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สูงอายุในการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงอุดมศึกษา
จ.กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
1.ฝึกอบรมทักษะอาชีพแก่ผู้สูงอายุ
2.จัดหางานและรับสมัครงาน
3.บริการให้ข้อมูลทางอาชีพและตำแหน่งงานว่าง
ฉ.กระทรวงการคลัง
1.การลดหย่อนภาษีแก่ผู้บริจาคทรัพย์สินให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ 2.การลดหย่อนภาษีเงินได้ แก่ผู้อุปการะบิดา มารดา หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท/ผู้สูงอายุ 1 คน/ ปี
ช.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1.การบริการด้านการท่องเที่ยว
2.การบริการด้านกีฬาและนันทนาการ
ซ.กระทรวงวัฒนธรรม
1.บริการด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
2.คัดเลือกศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้สูงอายุที่ทรงคุณค่าทางภูมิปัญญาไทย
ฌ.กระทรวงยุติธรรม
1.การช่วยเหลือในทางคดี โดยให้คำแนะนำ ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ญ.กระทรวงพาณิขย์
1.การจัดหาตลาดรองรับสินค้า โดยนำสินค้าเข้าร่วมจำหน่ายในงานต่างๆ
ฑ.กระทรวงคมนาคม
1.การลดหย่อนค่าโดยสาร และการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง
ฐ.หน่วยงานอื่นๆ
1.หน่วยงานของรัฐยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ ทั่วประเทศ 257 แห่ง
2.การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุโดยชุมชน มีรูปแบบการจัด ดังนี้ การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า โครงการสถานพักฟื้นคนชราดอนลาน เป็นต้น
ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุไทย
เป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คือมุ่งสู่ "Active Ageing"
1.การให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุฟรี (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า)
2.การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ทุกตำบล ทั่วประเทศ
3.การจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ (Geriatric clinic)
4.การจัดช่องทางด่วนสำหรับผู้สูงอายุในทุกสถานบริการพยาบาล
5.การจัดระบบบริการดูแลระยะยาว (Long term care)
6.การจัดศูนย์ดูแลกลางวัน (Day Care)
7.การจัดโรงพยาบาลที่ให้การดูแลในระยะสุดท้าย