Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ (Hydrocephalus), นางสาวจริยาดา คำวงษ์ ชั้นปี 3…
ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ (Hydrocephalus)
ความหมาย
: เป็นภาวะที่มีน้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะ คือในโพรงสมอง (Ventricle) และชั้นใน subarachnoid ปกติจะมีน้ำไขสันหลังอยู่ประมาณ 50-150 ml/min ถ้าหากมีการอุดตันหรือบกพร่องในการดูดซึมก็จะเกิดภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะได้
สาเหตุ
1. มีการสร้างน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ
: เนื้องอกของ choroid plexus
2. มีการอุดกั้นของน้ำไขสันหลัง
cerebral aqueduct ความผิดปกติแต่กำเนิดมีการตีบแคบ อักเสบ หรือเนื้องอก
ทางออกจาก fourth ventricle อุดตัน/อักเสบ
บริเวณ foramen of Monra มีเนื้องอก
3. ความผิดปกติในการดูซึมน้ำไขสันหลัง
ผิดปกติแต่กำเนิด : พบบ่อย aqueductal stenosis การติดเชื้อแบคทีเรีย ถูกรังสีx ray เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เด็กโตหรืออายุ 2 ปีขึ้นไป : เนื้องอกใน posterior fossa + aqueductal stenosis
จากเหตุมีการแบ่ง Hydrocephalus เป็น 2 กลุ่ม
1. Obstructive Hydrocephalus
: เกิดจากการอุดกั้นสามารถแสดงให้เห็นได้
2. Communicating Hydrocephalus :
ไม่สามารถแสดงให่เห็นถึงการอุดกั้นของน้ำไขสันหลัง การดูดซึมเสีย/สร้างมากไป
อาการและอาการแสดง
ศีรษะโตผิดปกติเมื่อเทียบกับขนาดตัว
หลอดเลือดดำบริเวณศีรษะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
กระหม่อมใหญ่และตึงมากกว่าปกติ
รอยประสานของกะโหลกศีษะแยกจากกัน
ถ้ารุนแรงอาจมีอาเจียน ซึม
เลี้ยงไม่โต (failure to thrive)
ความดันกะโหลกศีราะสูง
1. ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Hydrocephalus) :
ความดันเพิ่มรวดเร็ว ปวดหัว
คลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ
เสียชีวิต
2. ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะสูงแบบเรื้อรัง (Chronic Hydrocephalus)
เนื้อสมองเหี่ยว ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มแต่ช้ากว่ากลุ่มเฉียบพลัน
หน้าฝากนูน ปวดหัว อาเจียน หงุดหงิด
ซึม ความจำเสื่อม ตามัว ตาเหล่
หาบใจเสียงดัง หายใจไม่ได้ หยุดหายใจ
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ อาการละอาการแสดง เส้นรอบศีรษะที่เพิ่มมากกว่าปกติ
transillumination test
การถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะ
การทำ subdural top เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ sudural effect
CT scan
Ventriculography โดยเจาะ ventricle ใส่ลมหรือสารทึบแสงให้เห็นขอบเขตตำแหน่งที่อุดตัน
การรักษา
1. เจาะหลังร่วมกับใช้ยา
: รักษาประคับประคองในกลุ่ม communicating hydrocephalus ที่เป็นแต่กำเนิด/เกิดภายหลัง
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
ผ่าตัดแก้ไขสาเหตุ : เอาเนื้องอกออก
ผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำไขสันหลัง : ทำ shunt มี 2 วิธี
อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ (intracranial shunt)
อยู่ภายนอกกะโหลกศีรษะ (extracranial shunt)
extracranial shunt
มี 4 วิธี
Ventriculo peritoneal shunt (V-P shunt)
Ventriculo atrial shunt (V-A shunt)
Ventriculo pleural shunt
Lumbar subarachnoid peritoneal shunt
การเลือกวิธีการใส่ extracranial shunt
เด็กที่พึ่งหายจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบควรใส่ V-P shunt
เด็กเล็กควรใส่ V-P shunt ผู้ใหญ่ควรใส่ V-A shunt
ในเด็ก/ผู้ใหญ๋ที่เป็น communicating hydrocephalus ควรใช้ Lumbar subarachnoid peritoneal shunt
การผ่าตัดเพื่อใส่ shunt ชนิดVentriculo peritoneal shunt
: นิยมทำมากสุด เป็นวิธีที่ทำง่ายและภาวะแทรกซ้อนน้อย
ภาวะแทรกซ้อน
การอุดตันของ shunt
ติดเชื้อ
สาย catheter หลุด
การผ่าตัด revise shunt มี 2 วิธี
Elective revise shunt
Emergency revise shun
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด
ปัญหาที่ 1 มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงจากการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ
- กิจกรรมการพยาบาล
ให้การพยาบาลเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ เช่น ดูแลไม่ให้เด็กร้อง พักผ่อนสงบ เลี่ยงการอาเจียน จดท่านอนหัวสูง 30 องศา
ระบายน้ำไขสันหลังโดยการเจาะ
ดูแลให้รับยา diamox
ประเมินอาการความดันในกะโหลกศีรษะสูง : หงุดหงิด งอแง กระสับกระส่าย ซึม ไม่ดูดนม หายใจช้า หัวใจเต้นช้า
กรณีอยู่บ้าน แนะนำผู้ปกครองติดตามอาการ
- การประเมิน
V/S ปกติเหมาะสมกับวัย
เส้นรอบศีรษะปกติ กระหม่อมไม่โป่งตึง
ระดับการรู้สึกตัวปกติ ไม่หงุดหงิด ไม่ปวดหัว
ปัญหาที่ 2 มีโอกาสเกิดแผลกดทับบริเวณศีรษะได้ง่าย
- กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้นอนบนที่อ่อนนุ่ม ให้หมอนรองไหล่ช่วยลดแรงกดทับ
พลิกตะแคงทุก 2 ชม.
ดูแลผิวหนังศีรษะให้สะอาดเสมอ
- การประเมิน
1.ไม่มีแผลกดทับที่ศีรษะ
ปัญหาที่ 3 มีโอกาสเกิดภาวะขาดน้ำและสารอาหาร จากการอาเจียนและดูดกลืนลำบาก
- กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับนมและสานน้ำ น้อยๆแต่บ่อยครั้ง ให้เพียงพอ
จับเด็กเรอเอาลมออกทุกครั้งหลังกินนมเสร็จ
- การประเมิน
ทารกไม่สำลัก/อาเจียน
น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลระยะหลังผ่าตัด
ปัญหาที 1 มีโอกาสเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในระยะ 1-3 วันแรก เนื่องจากมีการขัดขวางการไหลของน้ำไขสันหลังไปสู่ช่องท้อง
ปัญหาที 2 มีโอกาสเกิดภาวะ subdural hematoma ในระยะ 1-3 วันแรกหลังผ่าตัด V-P shunt จากการมีน้ำไขสันหลังไหลเข้าสู่ช่องท้องอย่างรวดเร็ว
ปัญหาที 3 มีโอกาสติดเชื้อบริเวณ shunt ทั้งในระยะแรกหลังผ่าตัดและเมื่อกลับไปดูแลที่บ้าน
ปัญหาที 4 มีโอกาสเกิดภาวะ shunt ทำหน้าที่ผิดปกติจากการใส่เป็นเวลานาน เช่นการอุดตันหรือการหลุดของ catheter
ปัญหาที่ 5 บิดามารดาอาจเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพของบุตร ความก้าวหน้าของการรักษา การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ตลอดจนสติปัญญา และการดูแลบุตรทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน
นางสาวจริยาดา คำวงษ์
ชั้นปี 3 รหัส 621201110