Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเต้านม - Coggle Diagram
มะเร็งเต้านม
ข้อวินิจฉัย
-
-
-
-
ข้อวินิจฉัยที่ 2 เสี่ยงต่อการไม่ยอมรับภาพลักษณ์ของตนเอง เนื่องจากต้องผ่าตัดเต้านมข้างซ้าย และทำเคมีบำบัด
เกณฑ์การประเมิน
1ยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยให้ความร่วมมือในการดูแลรักษา
2ไม่แสดงถึงความอับอายเมื่อพูดถึงการผ่าตัดเต้านม
3ผู้ป่วยบอกความรู้สึกที่มีคุณค่าต่อตนเอง และ เข้าใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
4ผู้ป่วยสนใจในการดูแลตนเองมีการปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น และวางแผนดูแลตนเองให้เหมาะสมกับโรคและ ผลของยาเคมีบำบัด
กิจกรรมการพยาบาล
1ประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์ ความสามารถ บทบาท และแบบแผนชีวิต
2ให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของ ผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์และอื่นๆดังนี้
2.1 ผมร่วง อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า ผมร่วง จะเกิดขึ้นประมาณ 2 อาทิตย์หลังการให้เคมีบำบัดครั้งแรก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ทั้งให้กำลังใจว่าผมร่วง จะเกิดขึ้นชั่วคราวโดยจะงอกขึ้นใหม่เมื่อการให้เคมีบำบัด สิ้นสุดลงประมาณ 2-3 เดือน แต่บางรายผมจะงอกก่อนการ ให้ยาเคมีบำบัดจะสิ้นสุดลง แนะนำตัดผมให้สั้นเพื่อลด ความวิตกกังวล ใช้แปรงที่มีขนนุ่มและหวีผมเบาๆ ใช้แชมพู อ่อนในการสระผม งดการย้อมและดัดผมในระหว่างให้ยา เคมีบำบัด
2.2 ผิวหนังและหลอดเลือดดำมีสีเข้มขึ้น อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าผิวหนังและหลอดเลือดจะมีสีเข้ม ขึ้น โดยเฉพาะได้รับ fluorouracil อาการเกิดขึ้นชั่วคราว หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดเนื่องจากผิวหนังในระหว่างนี้จะ ไวต่อแสงมาก ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้ทาครีม กันแดด SPF 30 ขึ้นไป สวมเสื้อแขนยาว สวมหมวก หรือ ถือร่ม
3การเปลี่ยนแปลงของเล็บ อธิบายให้ผู้ป่วย เข้าใจว่าระหว่างให้ยาเคมีบำบัดเล็บจะหนาขึ้น ไม่งอก จมูก เล็บชัดเจน และสีเข้มขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นชั่วคราวเท่านั้น
4ให้กำลังใจและคำชม เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรม การปรับตัวที่ดี เช่น สนใจตนเอง มีสัมพันธภาพที่ดี กับ บุคคลในครอบครัว เป็นต้น
5อธิบายให้ผู้ป่วยและลูกสาวเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การดูแลและการหลังผ่าตัด รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและลูกสาวซักถามในสิ่งที่สงสัย
6เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกถึงการสูญเสีย สังเกตลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ ของผู้ป่วย โดยรับฟังอย่างตั้งใจ
7แนะนำให้ผู้ป่วยและลูกสาวได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกต่อกันให้ลูกสาวเข้าใจ ให้กำลังใจ และแสดงความห่วงใยให้มารดาเห็น
8ถ้ามีโอกาสอาจจะให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดเต้านมเหมือนกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อภาพลักษณ์ของตนเองได้
เป้าหมายการพยาบาล
1ยอมรับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปของตนเองได้
2มีการปรับตัวต่อภาพลักษณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม
3ส่งเสริมให้มีความมั่นใจในตนเอง
การประเมินผลการพยาบาล
1ผู้ป่วยมีอาการสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการรักษา มีการซักถามข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเต้านมและการให้ยาเคมีบำบัด
2สามีเอาใจใส่ดูแลภรรยาอย่างใกล้ชิด แสดงถึงความรัก ความห่วงใย
3ผู้ป่วยกล้าที่จะให้ญาติหรือเพื่อนเข้าเยี่ยม
4ผู้ป่วยมีความมั่นใจ เมื่อเข้าสังคมและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นปกติ
ข้อมูลสนับสนุน
1จากการตรวจ mammography และอุลตร้าซาวน์ พบว่าเป็นBIRADS VI-LUOQ malignant
2แพทย์แจ้งแนวทางการรักษา ต้องผ่าตัดเต้านมข้างซ้าย
3ต้องให้เคมีบำบัดเป็นจำนวน 10 ครั้ง
-
-
-
-
ข้อมูลผู้ป่วย
-
หญิงไทย อายุ 50 ปีรูปร่างค่อนข้างผอม ความสูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม อาชีพแม่บ้าน มาที่ OPD โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ด้วยเรื่องคลำพบก้อนแข็งที่เต้านม กดไม่เจ็บ เมื่อได้รับการตรวจร่างกาย และพบว่าลักษณะก้อนมีความผิดปกติ แพทย์จึงขอตรวจ Lab พิเศษ โดยอุลตราซาวน์และตัดชิ้นเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจ Ma mammography with ultrasound ซึ่งต้องรอผลการตรวจอีก 2 สัปดาห์
-
โรคมะเร็งเต้านม
พยาธิสภาพ
มะเร็งเต้านมเป็นความผิดปกติของเซลล์ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวได้ และสามารถแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด และต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงหรืออวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง โดยพบว่ามะเร็งเต้านมเป็น clonal diseaseจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเซลล์เดียวจะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์(mutation) ของ somatic cell หรือ germline ได้ มะเร็งเต้านมประมาณร้อยละ 5-10 ที่เป็นชนิดที่มีความบกพร่องของยีนสำคัญบางอย่างจึงจัดให้อยู่ในกลุ่มของมะเร็งชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม (hereditary cancer) เช่น มีการถ่ายทอดของยีน breast cancer susceptibility gene 1 (BRCA1) และยืน breast cancer susceptibility gene 2 (BRCA2)การกลายพันธุ์ของ BRCA1 ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 17q21 สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมและรังไข่ มีโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมอยู่ที่ร้อยละ 60-80 และการกลายพันธุ์ของ BRCA2 ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 13q12 พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมในเพศหญิงและเพศชายมะเร็งเต้านมบางชนิดอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของ TP53 และ RB1 ซึ่งปกติทำหน้าที่เป็นยีนยับยั้งเนื้องอก และบางชนิดสัมพันธ์กับยีนก่อมะเร็ง เช่น c-erbB2 (Her2/neu) และc-Myc oncogene โดยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตรวจพบว่ามีการแสดงออกของยีน HER-2 มากกว่าปกติ(HER-2 gene overexpression) จะส่งผลให้มีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเกิดและการตายของเซลล์ เกิดการดื้อต่อยาเคมีบำบัด และเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์ ทำให้เซลล์มะเร็งกระจายไปยังบริเวณอื่นได้
อาการและอาการแสดง
-
-
-
-
-
-
7) การบวมของรักแร้เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โตหรือมาด้วยอาการของมะเร็งที่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น
สาเหตุ
-
ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะหากครอบครัวมีญาติสายตรง เช่น มารดา พี่สาว น้องสาว หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมหลายคน หรือมีญาติเคยเป็นมะเร็งเต้านมพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
-
-
ผู้หญิงที่กินยาฮอร์โมนทดแทนหลังวัยทองเป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้
-
-
-
การรักษา
การผ่าตัดเต้านม (mastectomy)
เป็นวิธีหนึ่งในการรักษามะเร็งเต้านม โดยผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และกล้ามเนื้อที่หน้าอกออก ในขณะที่การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (partial mastectomy) จะเป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นก้อนเนื้อร้ายออก ไม่ได้ตัดเต้านมออกทั้งหมด