Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันในทารก - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันในทารก
Lymphocytes
พบ B lymphocytes ในตับเมื่ออายุครรภ์ 9 สัปดาห์ เป็นต้นกำเนิดของ plasma cell ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในการผลิต antibody
พบในเลือดและในม้ามประมาณสัปดาห์ที่ 12
T lymphocytes ผ่านการพัฒนาใน
Thymus และออกสู่กระแสเลือดประมาณสัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เป้าหมายและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
Immunoglobulin G
IgG มีมากที่สุด พบในน้ำเหลือง เนื่อเยื่อ ในและนอกหลอดเลือด ทารกได้รับ IgG จากมารดาผ่านทางรก ตั้งแต่ 3 เดือนแรกในครรภ์และจะเพิ่มปริมาณขึ้นเรือยๆ 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์จะมี IgG ปริมาณมากถูกส่งไปยังทารก อยู่ในร่างกายทารกและค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆจนถึง 3 เดือนหลังคลอด จึงสร้างเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้านเชื้อแกรม บวก ไวรัส exotoxin เช่น คอตีบ บาดทะยัก หัด คางทูม
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีระดับภูมิต้านทานต่ำกว่าในทารกคลอดครบกำหนดเพราะยังได้รับ IgG ไม่มากพอ รวมกับทารกคลอดก่อนกำหนดผิวหนังจะบางมากทำให้เชื้อโรคแทรกตัวเข้าในผิวหนังได้ง่าย จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
การสร้าง IgG ของทารกหลังคลอด
จะเพิ่มขึ้นจนมีระดับเท่าในผู้ใหญ่เมื่ออายุ 3 ปี
Immunoglobulin M
IgM ไม่สามารถผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น IgM
ที่พบในทารกในครรภ์ถูกสร้างขึ้นเองทั้งหมด
ระดับ IgM ที่พบในทารกปกติ มีปริมาณน้อยมาก ระดับ IgM ที่เพิ่มขึ้น พบในทารกในครรภ์ติดเชื้อ เช่น Rubella, Cytomegalovirus, Toxoplasmosis
ระดับ IgM
จะเท่ากับในผู้ใหญ่เมื่ออายุได้ 9 เดือน
Immunoglobulin A
IgA มักพบในสิ่งคัดหลั่ง น้ำตา น้ำลาย น้ำนมมารดา (colostrum) ไม่ผ่านรก ได้จากน้ำนมแม่ หน้าที่ป้องกันเคลือบเยื่อบุผิว(mucousmembrane) ไม่ให้เชื้อโรค
เกาะ IgA จะช่วยป้องกันระบบการหายใจและระบบลำไส้จากการติดเชื้อ
Complement
Complement เริ่มสร้างตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก จนเมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด
ระดับ Complement ในทารกมีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่
NeonatalSepsis หรือ Septicemia ภาวะติดเชื้อทั่วร่างกายในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดมีการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดสามารถพบได้ทั้งในทารกคลอดครบกำหนดและก่อนกำหนดอาจมีการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา (Intrauterine) โดยมาจากเลือดมารดาผ่านรกหรือระหว่างคลอด (Intrapartum) โดยการกลืนหรือสำลักน้ำคร่ำที่มีเชื้อโรคหรือติดเชื้อหลังคลอด (Postnatal) การมีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนาน (มากกว่า 24 ชม.) จะเป็นภาวะเสี่ยงของการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก
สาเหตุ
การติดเชื้อแกรมบวกเช่น Gr. B Streptococcai (GBS), Staphylococcus aureus ua: Staphylococcus epidermidis
แกรมลบรูปแห่งเช่น E. coli, ktebsiella, enterobacter และ Pseudomonas
ชนิดของการติดเชื้อ
ชนิดเริ่มเร็ว (Early-Onset sepsis) เกิดในทารกอายุน้อยกว่า 3 วันอาจเกิดการติดเชื้อในระยะก่อนหรือระหว่างการคลอดจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อในทางเดินอาหารหรืออวัยวะสืบพันธุ์ของมารดา ได้แก่ Streptococcus, Klepsiella, E.coli
ชนิดเริ่มล่าช้า (Late-onset sepsis) เกิดใน 4 วันไปแล้วหรือใน 1-3 สัปดาห์หลังคลอดส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อในรพ. เช่น Staphylococcus และ Pseudomonas ซึ่งพบในเด็กที่นอนโรงพยาบาลนาน ๆ มักพบมีอาการแสดงเฉพาะที่เช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
ด้านมารดาเศรษฐานะต่ำทุพโภชนาการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และระยะคลอด เช่น ถุงน้ำแตกก่อนคลอดนาน มารดามีไข้ บาดเจ็บและมีภาวะขาด 02
ด้านทารก
ระบบ Immune ยังทำงานไม่สมบูรณ์ ความบกพร่องมีดังนี้ ผิวหนังและเยื่อเมือกค่อนข้างบางฉีกขาดง่ายการขาด Normal flora การทำหน้าที่ของเซลล์ที่ทำลายจุลชีพและสิ่งแปลกปลอม (Phagocyte) ได้แก่ Neutrophil แล Monocyte / Macrophage ยังไม่สมบูรณ์และขาด Antibody เฉพาะและ Complement ที่จะช่วยให้ Phagocyte ทำหน้าที่ได้รวดเร็ว
Complement เป็นสารน้ำที่ประกอบด้วย Protein 9 ชนิดอยู่ในเลือดและ Tissue ของร่างกายกระตุ้นการทำลายเชื้อโรคทารกคลอดก่อนกำหนดมีการทำงานของ Complement ต่ำกว่าทารกครบกำหนด
ปัจจัยเกี่ยวกับเชื้อโรคเชื้อโรคบางชนิดไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเด็กโต แต่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกแรกเกิดได้
อาการและอาการแสดง
อาการทั่วไปไม่สุขสบายอุณหภูมิของร่างกายต่ำหรือสูงผิดปกติ (36 <BT> 37 ° C) นานเกิน 1 hr.
ระบบไหลเวียนทารกอาจมีภาวะซีดเขียวหรือตัวลาย BP ต่ำบวม HR เร็วหรือช้า
ระบบหายใจไม่สม่ำเสมอหยุดหายใจหรือหายใจเร็ว เขียว หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก หรือมีหน้าอกนุ่ม
ระบบประสาทซึมกระสับกระส่ายสั่น ชัก กระหม่อมตึง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ระบบทางเดินอาหารดูดนมไม่ดี อาเจียน อุจจาระร่วงหรือท้องผูก ท้องอืด ตับโต ม้ามโต
ระบบผิวหนังตัวเหลือง ซีด จุดจ้ำเลือดเลือดออก
ระบบเผาผลาญ Hyperglycemia, Acidosis กลุ่มอาการที่พรที่พบนี้เรียกว่า Systemic Inflammatory Response Syndrome: SIRS ถ้ารักษาไม่ถูกต้องทันท่วงที่เด็กอาจเสียชีวิตได้
การรักษา
ให้ Antibiotic ที่ครอบคลุมเชื้อทั้ง gm และ gm + ในทารกแรกเกิดที่มีอาการใน 3 วันแรก ได้แก่ Gentamycin ร่วมกับ Penicillin ถ้ามีอาการมากกว่า 3-4 วัน Methicillin ร่วมกับ Gentamycin
เสริมภูมิคุ้มกัน เช่น การให้ Plasma หรือการให้เลือดการให้เม็ดเลือดขาวการให้ Immunoglobulin baznnsvin Blood Exchange
การรักษาแบบประคับประคองเช่นการให้ออกซิเจนถ้ามีภาวะ Cyanosis ให้ IV Fluid ถ้า NPO ดูแลอุณหภูมิรักษาภาวะกรดต่าง
การรักษาภาวะแทรกซ้อนเช่นภาวะ Shock จากการติดเชื้อภาวะ Hyperbilirubinemia
การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโดยให้ทารกอยู่ห้องแยกหาสาเหตุของการติดเชื้อใช้หลัก Universal Precaution
ผิวหนัง
ผิวหนังเมื่อแรกเกิดโครงสร้างต่างๆของผิวหนังมีปรากฎแล้ว แต่ทำหน้าที่ยังไม่ดีชั้น Epidermis และ Dermis จะยึดติดกันอย่างหลวม ๆ และบางมากเมื่อมีการเสียดสีชั้น Epidermis เพียงเล็กน้อยเช่นการดึงพลาสเตอร์ออกจากผิวหนังก็จะทำให้ผิวหนังสองชั้นนี้แยกออกจากกันและเกิดมีตุ่มพอง