Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยกับภาวะสมองเสื่อม - Coggle Diagram
ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยกับภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
เป็นโรคที่แสดงถึงการเสื่มสภาพของสมอง สติปัญญา จนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันและต่อสังคมรอบด้าน และพบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในผู้สูงอายุทั่วโลก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease , AD)
จะมีอาการหลงลืม เช่น ลืมว่าวันนี้รับประทานอาหารเช้าหรือยัง ลืมว่าเคยพบใครในวันนี้ ชอบพูดซ้ำ เป็นต้น การดำเนินของโรคจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป และทรุดลงในระยะเวลา 1-3 ปี การแสดงออกทางอาการแบ่งได้ 2 ชนิด
Familial Alzheimer's disease (early-onset disease)
จะแสดงอาการก่อนอายุ 60 ปี เกิดจากการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
Sporadic Alzheimer's disease (late-onset disease)
จะแสดงอาการเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี
ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular Dementia , VD)
สาเหตุมาจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดภาายในสมอง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
พันธุกรรม
อายุ
เพศ
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
การออกกำลังกาย
ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และลดความถดถอยในการเรียนรู้ได้
การศึกษา
จากการวิจัยผู้ที่มีการศึกษาน้อยมีโอกาสเกิดโรคภาวะสมองเสื่อมมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาสูง
การดื่มแอลกอฮอร์
ดัชนีมวลกาย
ผู้ที่มีดัชนีมวบการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีอัตราการเกิดภาวะสมองเสื่อมมากเพิ่มตามไปด้วย
ปัจจัยอื่นๆ
เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหว่า Type2 โรคเอดส์ โนคตับอีกเสบซี โรคซึมเศร้า
สมุนไพรไทยที่มีรายงานการิจัยเพื่อป้องกันและรักษาภาวะสมองเสื่อม
กระทงลาย หรือกระทุงลาย
สารสกัดน้ำจากเมล็ดกระทงลายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ความจำดีขึ้นและช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ประสาท ใบของกระทงลายช่วยกระตุ้นประสาท
ขมิ้นชัน (Turmeric)
สาร curcumin และ curcuminoids ที่ได้จากเหง้าขมิ้น มีฤทธิ์สัมพันธ์กับการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ และมีคุณสมบัติปกป้องเซลล์ประสาทในสมอง ใช้รักษาอาการเพ้อคลั่งได้อีกด้วย
บัวบก(Pennywort)
สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์กดประสาท ต้านอาการซึมเศร้าและกาการกังวลในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และเพิ่มความจำอาจเกิดจากการที่สารสกัดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในระบบส่วนกลาง
พรมมิ (Dwarf bacopa)
ใช้ในการบำรุงประสาท มีการรายงานการวิจัยพบว่า สารสกัดแอลกอฮอร์จากส่วนต้นที่อยู่เหนือดินมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง และพบว่าเมื่อให้ยาน้ำเชื่อมพรมมิแก่เด็กชั้นประถมมีการเรียนรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเวลาที่ใช้ในการตอบโต้ดีขึ้น
ว่านน้ำ (Sweet Flag)
มีการรายงานว่า สารสกัดเอทานอลผสมน้ำจากส่วนเหง้า มีฤทธิ์กดประสาท และปกป้องเซลล์ประสาท ใช้ระงับประสาท แก้ตื่นเต้น แก้อาการหลงลืม แก้อาการชัก
สมอไทย (Myrobalan)
พบสาร 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose ที่สกัดแยกได้จากผลของสมิไทย มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase และ butyrylcholinesterase และยังมีฤทธิ์ต่านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
โสนน้อย (Fishbone cassia)
มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase และยังใช้ในการถอนพิษยาเบื่อยาฆ่าแมลง หรือกินยาเกินขนาด
อัญชัน (Butterfly pea)
ส่งเสริมความจำ โดยมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณ acetylcholine และ เอนไซม์ cholineacetyl transferase