Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบหายใจ, นางสาวสรินญา มานิตย์ เลขที่76 ห้อง4B รหัส 61123301165 - Coggle…
ระบบหายใจ
ระหว่าง/หลังคลอด
ในระหว่างการคลอด การที่ทารกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดจะทำให้ทรวงอกของทารกถูกรีดบีบรัด น้ำคร่ำที่อยู่ในปอดและทางเดินหายใจถูกรีดออกมาได้ประมาณ 35 มิลลิลิตร เมื่อทรวงอกขยายตัวอีกครั้งหนึ่ง อากาศภายนอกจะเข้าไปแทนที่ด้วยปริมาณที่เท่ากัน เป็นการเริ่มกลไกการหายใจของทารก
การหายใจ 2-3 ครั้งแรกของทารกจะยิ่งเร่งกระบวนการการกำจัดของเหลวที่ปอด และเมื่อสิ้นสุดการหายใจครั้งแรก ปอดเริ่มขยายตัว กระตุ้นการหลั่งสารลดแรงตึงผิว (surfactant) น้ำภายในปอดส่วนที่เหลือจะถูกดูดซึมผ่านทางท่อน้ำเหลืองและระบบหลอดเลือดฝอย ถ้ามีการกำจัดสารน้ำช้าเกินไปจะทำให้ทารกมีกลุ่มอาการหายใจหอบ (transient tachyapnea of the newborn)
การหายใจครั้งแรกและครั้งต่อๆมา อากาศจะเข้าไปบรรจุในถุงลมปอดมากขึ้น รูปแบบการหายใจจะเปลี่ยนจากการหายใจแบบครั้งคราวและตื้นๆ มาเป็นการหายใจลึกขึ้นและสม่ำเสมอ การที่ทารกสามารถหายใจเอาอากาศเข้าและออกจากถุงลมปอดได้ ต้องอาศัยสารลดความตึงผิว( surfactant ) ช่วยลดความตึงผิวของถุงลม และป้องกันการแฟบของถุงลมขณะหายใจ ถ้าขาดสารนี้จะทำให้เกิดกลุ่มอาการหายใจลำบาก ( respiratory distress syndrome)
-
-
ลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ
ภาวะหยุดหายใจในทารกเกิดก่อน
กำหนด (apnea of prematurity): การหยุดหายใจเป็นเวลานานมากกว่า 15-20 วินาที มีภาวะหัวใจเต้นช้าลง (bradycardia ) และมี cyanosis ร่วมด้วย มักเกิดในอายุครรภ์เท่ากับหรือน้อยกว่า 34 สัปดาห์จะปรากฏภายใน 2 วันหลังคลอด
Apnea ที่มีภาวะอื่นหรือโรคอื่นร่วมด้วย: อาการหยุดหายใจเกิดขึ้น ทารกอยู่ในครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ เพราะศูนย์การหายใจในสมองของทารกยังไม่พัฒนาพอ ซึ่งบางครั้งก็ลืมส่งสัญญาณให้หายใจเป็นประจำ และภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ น้ำตาลต่ำ อุณหภูมิต่ำ ปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจ อาการชัก การบาดเจ็บทางสมอง หรือระดับออกซิเจนไม่เพียงพอ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-
ตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง โดยการวัดค่าความดันของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดแดง ประเมินภาวะกรด-ด่างของร่างกาย
การตรวจเสมหะ วิธีเก็บเสมหะส่งตรวจควรเป็นเสมหะที่ได้จากการไอลึกๆ หรือจากการดูดเสมหะ จากคอหอยส่วนหลัง (posterior pharynx) หรือทางท่อหลอดลมคอ
-
-
การส่องกล้องหลอดลม(bronchoscopy) เพื่อประเมินหาสาเหตุของโรค เช่น กรณีสงสัยว่ามีสิ่งแปลกปลอม การ
ไอเป็นเลือด หาชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค หรือต้องการนำเนื้อเยื่อที่ผิดปกติไปตรวจ
ขณะอยู่ในครรภ์
-
-
-
ปอดของทารกในครรภ์ไม่ได้มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ เนื่องจาก alveoli จะเต็มไปด้วยของเหลว ทารกในครรภ์มีการแลกเปลี่ยนก๊าซและสารอาหารที่รก
2-3 วันก่อนคลอดnormal labour ทารกจะลดการสร้างของเหลวในปอด การเจ็บครรภ์คลอดจะกระตุ้นให้ของเหลวในปอดถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด
-
-
การตรวจร่างกาย
การดู
ดูว่ามีอาการหายใจลำบากหรือไม่ โดยสังเกตอาการ อกบุ๋มขณะหายใจเข้า หรือมีปีกจมูกบานหรือไม่
ดูสีผิวว่ามีสีเขียวคล้ำหรือไม่
ดูการขยายตัวของทรวงอกขณะหายใจเข้าว่าเท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่ ถ้าทรวงอกข้างใดข้างหนึ่งไม่ขยายอาจมีภาวะปอดแฟบ โดยปกติ
อัตรา ส่วน AP: lateral ประมาณ 1:2
การนับการหายใจช่วยในการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบได้ จะพบว่าหายใจเร็วกว่าปกติโดยเทียบตามอายุ เช่น อายุ 0-2 เดือน หายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที อายุ 2 เดือน -1 ปี หายใจมากกว่า 50 ครั้ง/นาที
เด็กอายุ 1-5 ปี หายใจมากกว่า 40 ครั้ง/นาที ควรนับขณะทารกนอนหลับ นับอย่างน้อย 30-60 วินาที
การฟัง
ใช้หูฟังแนบผนังทรวงอก เปรียบเทียบทั้ง2ข้าง จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง ทั้งด้านหน้าและหลัง โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆทางปาก
1.เสียงหายใจปกติจะได้ยินเสียงฮื้ด ได้ยินเสียงหายใจเข้าดังและยาวกว่าหายใจออก ถ้าพบเสียงหายใจค่อยทั่วไปทั้ง2ข้าง อาจเกิดจากถุงลมพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หายใจแรงๆไม่ได้ เช่น กระดูกซี่โครงหัก ถ้าเสียงหายใจค่อยหรือไม่ได้ยินเฉพาะบางส่วน อาจเกิดจากปิดอักเสบ ปอดแฟบ มีน้ำหรือหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด
2.Stridor เป็นเสียงผิดปกติ ลักษณะเป็นเสียงหวีด มักได้ยินขณะหายใจเข้าโดยไม่ต้องใช้หูฟัง เกิดจากการตีบแคบของกล่องเสียงหรือหลอดคอ พบได้ในเด็กที่เป็นครู้ป (Croup: การอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น)
3.Rhonchi เป็นเสียงผิดปกติ ได้ยินเสียง อี๊ด ตอนใกล้สุดเสียงหายใจเข้าหรือช่วงต้นเสียงหายใจออก พบได้ในหลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ
-
5.Crepitation เป็นเสียงผิดปกติ ได้ยินเสียงกรึบๆหรือกรอบแกรบคล้ายใบไม้หรือเสียงขยี้ผมตอนใกล้จะสุดของเสียงหายใจเข้า พบได้ในปอดอักเสบ วัณโรคปอด ปอดบวมน้ำ หัวใจวาย
การคลำ
เพื่อดูว่าปอดทั้งสองข้างทำงานเท่ากันหรือไม่ โดยการคลำการขยายตัวของทรวงอก วางมือทั้งสองข้างทาบกับชายโครงด้านหน้า นิ้วหัวแม่มือจรดกันที่ xiphoid process สังเกตการเคลื่อนที่ของนิ้วหัวแม่มือขณะหายใจเข้าออกลึกๆ ถ้านิ้วหัวแม่มือข้างใดเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าก็แสดงว่าปอดข้างนั้นอาจมีการอักเสบหรือมีก้อนในปอดข้างนั้น หรือมีน้ำหรือมีหนองขังในโพรงเยื่อหุ้มปอดข้างนั้น
การเคาะ
จะเคาะเฉพาะในเด็กโตเท่านั้นและเคาะเหมือนในผู้ใหญ่ เคาะจากยอดปอดโดยเคาะบริเวณช่องซี่โครงทั้งสองข้างเทียบด้านซ้ายและขวา จากบนลงล่าง ควรเคาะทั้ง
ด้านหน้าและด้านหลังทรวงอก บริเวณเนื้อปอดปกติจะได้ยินเสียงโปร่ง (resonance) ถ้าเคาะได้
โปร่งมาก แสดงว่ามีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือถุงลมพอง ถ้าเคาะทึบ แสดงว่ามีน้ำหรือหนองในโพรง
เยื่อหุ้มปอด ปอดอักเสบ หรือมีก้อน
โครงสร้างของระบบหายใจ
ระบบหายใจส่วนบน(Upper respiratory tract): จมูก(Nasopharynx), คอหอย(Pharynx), กล่องเสียง(Laryngopharynx)
ระบบหายใจส่วนล่าง(Lower respiratory tract ): หลอดลมขนาดใหญ่หรือหลอดลมคอ(trachea), หลอดลมเล็กหรือหลอดลมแยก(bronchi), หลอดลมฝอย (bronchioles) และปอด
ความหมาย
แลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างอากาศภายในและภายนอกร่างกาย เพื่อให้เซลล์ได้รับออกซิเจนและขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกจาก่างกาย ซึ่งการแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นโดยหลอดเลือดดำที่ผ่านเข้าไปในปอด และอาศัยการท้างานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ
-