Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรีระวิทยาของทารกแรกเกิด (ระบบเลือด), นางสาวศิลป์ศุภา ประถม เลขที่ 74…
สรีระวิทยาของทารกแรกเกิด (ระบบเลือด)
คลอดครบกำหนด
ฮีมาโตคริต (Hct) 45-52 % และจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ตามอายุ จนถึงระดับต่ำสุดคือ 30-40 % เมื่อทารกอายุ 2-3 เดือนจึงมีภาวะเรียกว่า "Physiological anemia"
เม็ดเลือดขาว (WBC) มีระดับสูง15,000-45,000ลบ มม และค่อยลดลงเหลือประมาณ 5,000-19,500 ลบ มม เมื่ออายุ 1 เดือน
ปริมาตรเลือดของทารกแรกเกิดจะมีประมาณ 80-85 มล/กก ทารกแรกเกิดจะมีปริมาตรเลือดโดยเฉลี่ย 300 มล แต่ถ้าผูกสายสะดือช้า มดลูกที่หดรัดตัวภายหลังทารกเกิด จะผลักดันเลือดไปยังทารกอีก 50-125 มล
Hemoglobin โดยเฉลี่ยประมาณ 16-18 กรัม และจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ตามอายุจนถึงระดับต่ำสุด เมื่อทารกอายุประมาณ 2-3 เดือน คือ 11-12 กรัม %
Platelet จะมีจำนวน 150,000-250,000 /mm3 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเด็กโตและผู้ใหญ่
ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (Clotting factor) ใน 2-3 วันแรกจะมี Prolonged prothrombin time เพราะหน้าที่ของตับยังไม่สมบูรณ์และในเลือดมีระดับของวิตามิน K ต่ำจึงมีโอกาสเลือดออกได้ง่าย ดังนั้นทารกหลังคลอดจึงมักได้รับวิตามิน K ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเมื่อแรกคลอด
ในทารกแรกเกิดมีปริมาณ red blood cell มากกว่าในผู้ใหญ่และเด็กโตเนื่องจากยังมีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ดีไขกระดูกจึงผลิต red blood cell มากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
คลอดก่อนกำหนด
ระดับโมโกลบินหรือฮีมาโตคริดเมื่อแรกเกิดมักจะต่ำกว่าทารกครบกำหนด จึงให้ทารกนอนอยู่ระดับเดียวกับมารดาและไม่รีบตัดสายสะดือจนกว่าชีพจรที่สายสะดือหยุดหรือรอประมาณ 30-60 วินาทีจึงค่อยผูกและตัดสายสะดือ (delayed cord clamping)
อุบัติการเกิดภาวะซีดจากขาดธาตุเหล็ก (Irondeficiency anemia) และจากการขาดวิตามินอี (Vitamin E deficiency anemia)พบได้บ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ 30 สัปดาห์)ในช่วงอายุประมาณ 5-6 สัปดาห์หลังเกิด เนื่องจากทารกได้รับสารเหล่านี้ไม่เพียงพอจากมารดา
ปัญหาตัวเหลือง (Hyperbilirubinemia) นั้นพบได้บ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนด
เฉพาะจากหมู่เลือดไม่เข้ากับแม่ (Blood group หรือ Rh หรือ minor incompatibility)
ตับทำงานไม่สมบูรณ์ส่งผลต่อกระบวนการขับบิลลิรูบิน และสร้าง Prothrombin และ Factor V, VII มีไม่มากพอ ทำให้มีเลือดออกง่ายและการแข็งตัวของเลือดช้า ความต้องการเมีดเลือดแดงที่น้อยลงจากการมีปริมาณ 02 ในเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เกิด hemolysis ส่งผลต่อระดับของบิลลิรูบินที่เพิ่มสูงขึ้นนำมาสู่ภาวะ Physiological jaundice ซึ่งพบได้ในวันที่ 2-3หลังคลอด และหายได้เองใน1 ส้ปดาห์
ทารกในครรภ์
การสร้างเม็ดเลือด (Hematopoiesis) ใน Embryoกิดขึ้นครั้งแรกที่ mesodermal cell ของ Yolk sac
หลังจาก 7 เดือนไปแล้ว การสร้างเม็ดเลือดแดงจะเปลี่ยนไปอยู่ที่ไขกระดูก
เมื่ออายุครรภ์ได้ 3-4 เดือน การสร้างเม็ดเลือดแดงจะเปลี่ยนไปอยู่ที่ม้ามและตับ Erythropoietin เป็นสารที่หลั่งออกมากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หลั่งจากตับส่วนน้อยอาจมาจากไต
นางสาวศิลป์ศุภา ประถม เลขที่ 74 ห้อง4B รหัส 61123301158