Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hypoglycemia - Coggle Diagram
Hypoglycemia
สาเหตุ
-
ใช้ยามากเกินขนาดที่กำหนด ยารักษาเบาหวานที่ทำให้เกิดน้ำตาลต่ำได้บ่อย คือ อินซูลิน และยาเม็ดกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน เช่น กลัยเบ็นคลามายด์ กลิพิซายด์ กลัยมิพิรายด์ กลัยคาซายด์
-
-
-
ไตวาย ผู้เป็นเบาหวานร่วมกับมีไตวายซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำตาลต่ำได้บ่อยกว่าผู้ที่ไตทำงานปกติ
การพยาบาล
-
- การให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ในการคิดและวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง พยาบาลควรประเมินผู้ป่วยก่อนว่ามีข้อมูล และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากน้อยเพียงใด มีเรื่องใดที่ผู้ป่วยทราบเป็นอย่างดีแล้ว มีเรื่องใดที่ผู้ป่วยทราบแต่ยังไม่สมบูรณ์ มีเรื่องใดที่ผู้ป่วยเข้าใจผิดและมีเรื่องใดที่ผู้ป่วยไม่ทราบ เพื่อนำมาวางแผนและหาวิธีการที่เหมาะสมในการให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยในแต่ละเรื่องต่อไป
- สร้างสิ่งแวคล้อมที่เอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการคูแลตนเอง ซึ่งประกอบด้วย
2.1 สิ่งแวดล้อมในการให้บริการ พยาบาลควรจัดบริการให้ลักษณะที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการคูแลตนเอง รับฟังความคิดเห็น เคารพในสิทธิความเป็นบุคคลและขอมรับความคิดเห็น
2.2 สิ่งแวดล้อมในด้านสื่อ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ในการดูแลตนเอง เรื่องโรคเบาหวานได้แก่ แผ่นพับเอกสารเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เป็นต้น
3.เป็นที่ปรึกษาและให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง พยาบาลควรให้ความสนใจและติดตามการปฏิบัติกิจกรรมการดูแถตนเองของผู้ป่วยในระยะที่เริ่มปฏิบัติเพื่อช่วยเป็นที่ปรึกษาให้แรงสนับสนุนหรือการปฏิบัติกิจกรรมการดูแถตนเองของผู้ป่วยในระยะที่เริ่มปฏิบัติเพื่อช่วยเป็นที่ปรึกษาให้แรงสนับสนุนหรือ
- ให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลเท้าและการใช้ยา
5.สร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัด เป็นการสร้างบรรยากาศของความไว้วางใจให้เกียรติในความเป็นบุคคลของผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นใจ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
- ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการปรับกิจกรรมการดูแลตนเอง ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองให้สำเร็จตามเป้าหมาย พยาบาลควรเป็นผู้คอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษา
7.สอนทักษะในการดูแลตนเองเรื่องโรคเบาหวาน ได้แก่การสังเกตและการประเมินอาการน้ำตาลต่ำและสูงในเลือดต่ำ ทักษะทางการแพทย์ ได้แก่ ฉีคอินซูลิน การทำแผล การตรวจปัสสาวะ
-
-
-
อาการ
-
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดระดับไม่รุนแรง คือมีระดับพลาสมากลูโคสต่ำแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการออโตโนมิค ได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหิว รู้สึกร้อน เหงื่อออก มือสั่น และผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยตนเองได้
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดระดับปานกลาง คือมีระดับพลาสมากลูโคสต่ำ มีอาการออโตโนมิค ได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
รู้สึกหิว รู้สึกร้อน เหงื่อออก มือสั่น ความดันโลหิตสูง รู้สึกกังวล คลื่นไส้และอาการสมองขาดเลือด ได้แก่ อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ แต่ผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยตนเองได้
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดระดับรุนแรง คือผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้และต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือมีอาการรุนแรงมาก เช่น ชัก หรือหมดสติ ในกรณีที่ไม่ได้รับการตรวจระดับกลูโคส ขณะที่มีอาการทางสมองหายไปภายหลังได้รับการแก้ไขก็ถือว่ามีภาวะนี้ในระดับรุนแรง
การรักษา
ถ้าอาการไม่รุนแรงให้รับประทานอาหารที่มีแป้ง 15-20 กรัม เช่น น้ำส้ม 180 มล., น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา, นมหนึ่งแก้ว รออีก 15-20 นาทีถ้าระดับน้ำตาลยังต่ำกว่า 70 มก.ดล. ให้รับประทานอาหารที่มีแป้งอีก
15 -20 การรับประทานน้ำตาลทางปากจะได้ผลชั่วคราว ซึ่งมักน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลจากอินซูลิน หลังจากการแก้ไขในเบื้องต้นผู้ป่วยควรรับประทานอาหารหรือได้รับน้ำตาลทางหลอดเลือดดำต่อ ผู้ป่วยหมดสติหรือไม่สามารถรับประทานได้ ให้ใช้น้ำตาล 25 กรัมทางหลอดเลือดดำ หรือฉีด glucagon 1 มิลลิกรัม เข้าใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ
เจาะ DTX q 2 hr ให้ 50% Glucose 50 ml ทางหลอดเลือดดำ
5 % D/NSS/2 1000 cc vein drip 80 cc/hr
และ0.9% NSS 1000 cc vein drip 80 cc/hr
ยาที่ได้รับตามแผนการรักษาของแพทย์ คือ Ceftriaxone 2 g , Folic Acid 5 mg 1 tab OD , Ferrous fumarate 200 mg 1 tab oral tid pc , Doxazosin 200 mg 1 tab oral bid pc , MetoProlol 100 mg ½ tab OD pc , Lasix 40 mg 2 tab oral bid pc และ Simvastatin 40 mg oral hs
การวินิจฉัย
กรณีศึกษา
ซักประวัติ : ผู้ป่วยให้ผู้ป่วยว่า มีอาการสับสน ซึมลง ถามตอบไม่รู้เรื่อง หลังฉีดยาอินซูลินไม่ชอบรับประทานอาหาร
ตรวจร่างกาย : ผิวสองสี ขาวเหลือง ผิวไม่แห้ง ผิวหนังอาการบวมกดบุ๋มระดับ 1+ กดบุ๋มที่ผิวหนังลึก เล็บซีด ใบหน้าสมมาตร ผมสีดำ การกระจายตัวดี ไม่มีรังแค หนังตาตก ตาไม่เหล่ เยื่อบุลูกตาซีด ตาข้างซ้ายบอดและตาข้างขวามัว ไม่สูญเสียการได้ยิน ปากสีอมชมพู ไม่ซีด ปากแห้งและนิ้วเท้าผิดรูป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ตรวจ UA ,Electrolyte,Blood chemistry,CBC
การซักประวัติ : จะพบผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอย่างใดอย่างหนึ่งคังต่อไปนี้ อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป อ้วนมีดัชนีมวลกาย 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป มีบิดามารดานเบาหวาน คลอดบุตที่น้ำหนักเกิน 4,000 กรัม หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานตั้งครรภ์ มีความดันโลหิตสูง ( > 140/90 มิลลิเมตรปรอท ) มีHDL cholesterol ไม่เกิน 35 มิลลิกรัมต่อเคซิลิตรและมีค่า Triglyceride 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ตรวจ UA ,Electrolyte,Blood chemistry,CBC
พยาธิสภาพ
- ยับยั้งการหลั่งอินซูลิน เป็นกลไกตอบสนองแรกของร่างกาย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงที่ประมาณ 80-85 mg/al ร่างกายจะยับยั้งการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ พร้อมกับเพิ่มการสังเคราะห์น้ำตาลจากตับ ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือคเพิ่มสูงขึ้น
- เพิ่มการหลั่ง glucagon เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงที่ประมาณ 65-70 mg/dl ร่างกายจะเพิ่มการหลั่ง glucagon จากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน และ glucagon จะทำหน้าที่เพิ่มการสลาย glycogenจากกระบวนการ glycogenolysis และเพิ่มกระบวนการ gluconcogenesis ที่ตับ ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาลกลูโคส
- เพิ่มการหลั่ง epinephrine และระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 65-70 mg/dl นอกจากร่างกายจะหลั่ง glucagon จากการลดลงของอินซูลินที่ตับอ่อนแล้ว ระบประสาทอัตโนมัติ (central nervous system, CNS) ซึ่งถูกกระตุ้นจากภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ sympathoadrenal outlow นำมาสู่การกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตเพิ่มการหลั่งสาร epincphrine ซึ่งมีบทบาทในการช่วยเพิ่มการสังเคราะห์น้ำตาลจากตับ กระตุ้นการผลิตน้ำตาลที่ใต และลดการขับน้ำตาลออก ช่วยเพิ่มน้ำตาลในร่างกาย การเพิ่มขึ้นของ sympathoadrenal outlow ยังทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักถึงภาวะน้ำตาลต่ำในเดือค จนนำไปสู่การรับประทานอาหารหรือน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายในที่สุด