Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 การใช้ยาในผู้สูงอายุ, นางสาวหงส์สุดา นพรัตน์ 621201176 - Coggle…
หน่วยที่ 8 การใช้ยาในผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลทําให้เกิดปัญหาการใช้ยา
1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวผู้สูงอายุ ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากกระบวนการชราที่ ส่งผลต่อเภสัชจลศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์
2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุประกอบด้วย
2.1) การใชยาดวยตนเอง (self-medication)
เช่น
การซื้อยาตามรานยา (over the counter)
การใช้อาหารเสริมบํารุงสุขภาพ และการใช้ยาทางเลือกและสมุนไพรตางๆ (complementary and alternative medicines)
2.2) ความรวมมือในการใช้ยา (medication adherence)
ซึ่งเป็นสวนที่เกี่ยวของกับการใชยา ตามคําสั่งการรักษาของแพทย
การเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลวิทยาในผู้สูงอายุ (Phamacologicalchang in elderly)
1) เภสัชจลศาสตร์ (Pharmacokinetic)
คือการศึกษาถึงวิธีการที่ร่างกายจัดการกับยาที่ได้รับเข้า ไปซึ่งได้แก่ การดูดซึมยา(drug absorption) การกระจายยาไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย(drug distribution) เมตะบอลิสมของยาโดยตับ(drug metabolism) และการขับถ่ายยาทางไต(renal excretion) เหล่านี้ล้วนเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องจากกระบวนการชรา
1.1) การดูดซึมยา (drug absorption)
ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง หลายอย่าง คือ ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลง (pH ในกระเพาะเพิ่มขึ้น) การบีบตัวของทางเดิน อาหารลดลง ปริมาณการไหลเวียนของเลือดผ่านกระเพาะอาหารลดลง การลดลงของพื้นผิวในการดูดซึม ในทางเดินอาหารส่งผลให้การดูดซึมยาลดลง โดยเฉพาะยากลุ่ม active transport เช่น calcium , organic iron, thiamine
1.2) การกระจายตัวของยา (drug distribution)
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใน ร่างกายที่มีผลต่อการกระจายตัวของยาดังนี้ ปริมาณน้ําในร่างกาย , มวลกล้ามเนื้อ (lean body mass) , โปรตีนอัลบูมินลดลงส่วนปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การกระจายตัวของยาที่ละลายได้ดีในน้ํา ลดลง ความเข้มข้นของยาในเลือดจึงสูงขึ้น และยาที่ละลายได้ดีในไขมันมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้นออกฤทธิ์ ยาวนานขึ้น โปรตีนที่ลดลงทําให้ยาที่จับกับโปรตีนได้ลดลงสัดส่วนของยาในเลือดจึงเหลือมากขึ้น จึงมี โอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มาก เช่น acetazolamide , warfarin , naproxen ฯลฯ
1.3) เมตะบอลิสมของยา (drug metabolism)
ขนาด, ปริมาณเลือดไหลผ่านตับ , การทํางานของ เอ็นไซม์ตับลดลง ส่งผลตับสามารถกําจัดยาได้ลดลงทําให้ยาอยู่ในร่างกายและออกฤทธิ์ได้นานขึ้นจึงเกิดผล ข้างเคียงได้ง่ายขึ้น เช่น benzodiazepines, propranolol
1.4) การขับถ่ายยาทางไต (renal excretion)
glomerular filtration rate , tubular secretion function และปริมาณเลือดที่ไหลผ่านไตลดลง ส่งผลให้ยาที่ถูกขับออกทางไตมีโอกาสสะสม และเกิดผลข้างเคียงได้บ่อย เช่น benzodiazepines , warfarin , opioids , Verapamil
2) เภสัชพลศาสตร์
(Phamacodynamic change)
การศึกษาการออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกาย (what drug does to the body) หรือการที่ยามีผลต่อร่างกายเกี่ยวข้องทั้งผลทางด้านชีวเคมีและ สรีรวิทยาของยา กลไกที่ทําให้เกิดผลทั้งด้านที่พึงประสงค์คือฤทธิ์ในการรักษา และผลที่ไม่พึงประสงค์คือ อาการข้างเคียงและพิษของยา การจับของยาเข้ากับโมเลกุลของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นตัวรับ (drug target) รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาที่ใช้กับการตอบสนองที่เกิดขึ้นในร่างกาย (dose-response relationship) ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องผลของยาต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบ ประสาท ซึ่งพบว่ายาส่วนใหญ่มีผล(efect) ต่อตําแหน่งออกฤทธิ์
ของผู้สูงอายุมากกว่าคนหนุ่มสาว
กลุ่มยาที่ใช้บ่อยและอาจทําให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตราย ยาที่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างยา และการพยาบาล
ยานอนหลับ (hypotonic drugs)
กลุ่มยา : Benzodiazepines เป็นยากลุ่มที่แพทย์มีการสั่งจ่ายออกเยอะที่สุด เป็นยานอนหลับที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมอง โดยออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสื่อประสาทชนิดยับยั้งที่เรียกว่า กาบา เมื่อมีสารนี้เพิ่มขึ้นทำให้มีการนอนหลับโดยตรง เป็นยาที่ออกฤทธิ์นานพอสมควรเหมาะสมหรับผู้ที่ตื่นบ่อย ช่วยลดอาการกระวนกระวาย หยุดอาการชัก และช่วยให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวยาที่ใกล้เคียงกันชื่อ Non-benzodiazepines เป็นยาที่ให้ผลคล้ายกัน ช่วยรักษาในผู้ป่วย ที่มีความเครียด ตัวยานี้จะ ผ่อนคลายความกังวล แต่ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าในบางกรณี
กลุ่มยา | Barbiturates ยากลุ่มนี้ใช้เมื่อคนไข้มีโรควิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดหัวและลมชัก ผลของยาจะช่วยลดเวลาก่อนนอนหลับทำให้หลับได้ยาวมากขึ้นยานี้ออกฤทธิ์กดการหายใจ จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจและช่วยเพิ่มการจับของสารสื่อประสาท ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้ยากลุ่มนี้เพื่อทำการรักษาแล้วเนื่องจากให้ผลกระทบอย่างมากกับคนไข้ในเวลาตอนตื่นจึงมีการใช้ยาตัวอื่นที่ปลอดภัยกว่าในการรักษา
ผลข้างเคียง : มีอาการซึมเศร้า ไม่แจ่มใส ปวดศรีษะ มึนงง อาจจะมีอาการท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย การรับยาเกินขนาดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายนั้นอาจถึงขั้นเป็น โรคอัลไซเมอร์ ได้ในอนาคตและขั้นร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เกิดการกดการหายใจจนเสียชีวิตในที่สุด
การพยาบาล :
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจะทำให้สับสนมากยิ่งขึ้น
ผู้สูงอายุที่มีโรคปอด ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กดการหายใจ ควรเปลี่ยนท่านอนหรือใช้ยากลุ่มอื่น เช่น lorazepam,Temazepam
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (hypoglycemic agent)
กลุ่มยา | chlorpropamide
ใช้ร่วมกับการคุมอาหารที่เหมาะสมและโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 อาจใช้ยานี้ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานอื่นๆ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยป้องกันความเสียหายต่อไต อาการตาบอด ปัญหาเกี่ยวกับประสาท การสูญเสียแขนขา และปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ
ผลข้างเคียง : ภาวะน้ำตาลต่ำ,ภาวะโซเดียมต่ำ,
ขาดสารอาหารและแร่ธาตุ
การพยาบาล : ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงกลุ่มยาดังกล่าว หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรสังเกตอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ช็อคหมดสติ
อาการแสดงโซเดียมในเลือดต่ำ คือ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึม สับสน หมดสติ
ยาที่มีผลต่อหัวใจ และหลอดเลือด
(cardiovascular drugs)
กลุ่มยา | thaiazides
ผลข้างเคียง : โปแตสเซียมต่ำ,น้ำตาลในเลือดและกรดยูริคสูง,หน้ามืดเป็นลมเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถเพราะ baroreceptor มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงความดัน โลหิตน้อยลง
การพยาบาล : หากจําเป็นต้องให้ยากลุ่มนี้ในผู้สูงอายุพยาบาลควรสังเกตภาวะโปแตสเซียมต่ำ ได้แก่ ท้องผูก อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อน แรง ลําไส้อุด หัวใจหยุดเต้น สังเกตภาวะน้ำตาลในเลือดได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ เหนื่อย และกรดยูริคสูง ได้แก่ ปวด บวม ข้อต่างๆ
กลุ่มยา | beta blocker
ผลข้างเคียง : เลือดไปเลี้ยงแขนขาลดลงลดความสามารถในการขยับ แขนขา
การพยาบาล : พยาบาลควรแนะนําหรือกระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกําลังกาย
กลุ่มยา | calcium chanel blocker
ผลข้างเคียง : ไม่มี จึงควรแนะนําให้ใช้ยากลุ่มนี้
การพยาบาล : พยาบาลควรแนะนําให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำป้องกันท้องผูก
กลุ่มยา | digoxin
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นผิดจังหวะทําให้เสียชีวิต
การพยาบาล : ยากลุ่มนี้ทําให้หัวใจเต้นช้าลง
หากผู้สูงอายุได้รับยากลุ่มนี้พยาบาลต้อง ตรวจวัดชีพจรของผู้ป่วย โดยเฉพาะ อัตราการเต้นและความสม่ำเสมอของชีพจร หากพบว่าชีพจรเต้นน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ควรให้ผู้สูงอายุหยุดยาและรีบมาพบแพทย์ทันที
ยาต้านโรคจิตและ โรคซึมเศร้า
(antipsychotic and antidepressant drugs)
กลุ่มยา | Lithium
ผลข้างเคียง : พิษต่อระบบประสาทเช่น สับสน เพ้อคลั่ง ชัก
การพยาบาล : ห้ามใช้ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดอุดตัน
กลุ่มยา | amitriptylline
ผลข้างเคียง : postural hypotension ความจําเสื่อม เฉียบพลัน
การพยาบาล : พยาบาลควรเฝ้าระวังอาการ postural hypotension หลงลืม
ยาระงับปวดและลดการอักเสบ
(analgesic and anti-inflammatory drugs)
กลุ่มยา | analgesic and anti-inflammatory
ผลข้างเคียง : กดศูนย์การหายใจ แผลในระบบทางเดินอาหาร พิษต่อไตและตับ กระดูกพรุน/หัก สับสน ความจำเสื่อม
การพยาบาล : พยาบาลควรติดตามการวัดสัญญาณชีพผู้สูงอายุโดยเฉพาะการหายใจสังเกตอาการเกิดแผลในทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือดติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับตับ
(SGOT, SGPT, alkaline
phosphatase) ไต (eGFR, creatinine)
ยาลดความดันโลหิตสูง (antihypertensive agent)
กลุ่มยา | ACE-inhibitors
ผลข้างเคียง : ความดันโลหิตต่ำลงขณะเปลี่ยนท่า นั่ง นอน ส่งผลให้เกิดการพลัดตกหกล้ม
การพยาบาล : ติดตามระดับความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการพลัดตกหกล้ม
ยาต้านจุลชีพ
(antimicrobial drugs)
กลุ่มยา | aminoglyco side group (gentamicin, kanamicin)
ผลข้างเคียง : มีพิษต่อไตมาก
การพยาบาล : เฝ้าระวังอาการไตวาย
ยากันชัก (anti convulsant)
กลุ่มยา | Phenobarbital
ผลข้างเคียง : เกิดภาวะพร่องวิตามิน D,กระดูกเปราะ
ชนิดยาและสารอาหารที่บกพร่อง
ยา Aluminium hydroxide
สารอาหารที่บกพร่อง : ฟอสเฟต
อาการแสดง : ระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำ
ยา colchicine
สารอาหารที่บกพร่อง : วิตามินB12
อาการแสดง : โรคโลหิตจาง
ยา isonizid
สารอาหารที่บกพร่อง : วิตามิน B6
อาการแสดง : เกิดพยาธิสภาพของระบบประสาทส่วนปลาย
ยา Phenobarbital
อาการแสดง : กระดูกเปราะ
สารอาหารที่บกพร่อง : วิตามิน D
ยา Methotrexate
อาการแสดง : Mucositis, stomatitis
สารอาหารที่บกพร่อง : โฟเลท
ยา Thiazides
สารอาหารที่บกพร่อง : K
อาการแสดง : กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
1) กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากกระบวนการชราที่ส่งผลต่อเภสัชจลศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์
ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา (adverse drug reaction : ADR) คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกาย หลังจากการใช้ยาด้วยขนาดที่ใช้ในมนุษย์ เพื่อการป้องกัน การวินิจฉัยโรค และการรักษา โดยปฏิกิริยานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยา เนื่องจากผู้สูงอายุมีปัจจัย ด้านการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอันเนื่องมาจากขบวนการแห่งการชรา (aging process)
2) การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันหลายขนาน (polypharmacy)
3) ความผิดพลาดจากตัวผู้ใช้ยา (human error)
แนวปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริม
การใช้ยาอย่างถูกต้องในผู้สูงอายุ
1) ประเมินเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม
2) ประเมินความเข้าใจของ
ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการใช้ยา
3) ให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบการใช้ยาหลายชนิด ค่าใช้จ่าย การใช้ยาสมุนไพรที่ไม่หรือยา หลายชนิดที่ไม่สมเหตุสมผล อาหารเสริมต่างๆ เป็นต้น
4) ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยสูงอายุ (aging process)
5) ให้ความรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์ในการให้ยาแต่ละชนิด
การออกฤทธิ์ของยา อาการข้างเคียงที่ อาจเกิดขึ้น
อาการของการทําปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยากับยา ความจําเป็นในการรับประทานยาให้ตรงตามขนาดและเวลาต่อผู้สูงอายุ
7) อธิบายเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพและการหมดอายุของยา
6) อธิบายความหมายของคําที่เกี่ยวข้องกับการให้ยา
8) จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
9) ประเมินครอบครัว ผู้ดูแลที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุเกี่ยวกับความรู้ของการใช้ยาพร้อมทั้งให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ แก่ผู้ดูแล
10) แนะนําผู้สูงอายุ และญาติให้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
ไม่ใช้ยาของบุคคลอื่นแม้จะป่วยเป็นโรคคล้ายคลึงกัน เพราะอาจเกิดพิษจากยาได้
11) หากพยาบาลประเมินพบว่าผู้สูงอายุมีอาการแสดงจากผลข้างเคียงของการใช้ยา หรือการ เกิดปฏิกิริยาต่อกันของยา
12) การส่งเสริมการรักษาจากการไม่ใช้ยาผู้สูงอายุบางรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีภาวะ สมองเสื่อม (Dementia) และปัญหาด้านพฤติกรรม
13) การประเมินและทบทวนการบริหารยาของผู้สูงอายุและผู้ดูแลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลที่ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โดยการให้ข้อมูลความรู้ในการบริหารยาและทบทวนความถูกต้องแม่นยํา
14) ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีส่วนสนับสนุนการดูดซึมยา การกระจายตัวของยา หรือ ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากยา
15) จัดโปรแกรมการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้องสมเหตุสมผล
สรุป
กระบวนการชราที่เกิดขึ้นในระบบต่างๆ ของร่างกายผู้สูงอายุ ส่งผลให้เภสัชจลศาสตร์ เภสัช พลศาสตร์ เกี่ยวกับยาเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ พยาบาลจึงต้องมี ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและให้การพยาบาล ผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัย
นางสาวหงส์สุดา นพรัตน์ 621201176