Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) - Coggle Diagram
โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
โรคหลอดลมอักเสบ
หมายถึง การอักเสบของหลอดลมใหญ่ (Trachea) และหลอดลมเล็ก (Bronchi) มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรีย
ได้แก่ Hemophilus influenza และ Streptococcus pneumoniae
สาเหตุอื่นๆ
เช่น โรคภูมิแพ้ และการระคายเคืองจากสารเคมี
ควันบุหรี่ เป็นต้น
การติดเชื้อไวรัส
ได้แก่ Adenovirus, Rhinovirus, RSV, Influenza
และ Parainfluenza เป็นต้น
พยาธิสรีรวิทยา
การติดเชื้ออักเสบของเยื่อบุหลอดลม (Respiratory epithelium)
ทำให้ความสามารถในการต่อต้านเชื้อลดลง
มีการทำลายเซลส์ขนกวัดในหลอดลม
การทำงานของเซลส์ขนกวัดลดลง
เซลส์สร้างมูกมีขนาดใหญ่และเพิ่มจำนวนขึ้น
มีการสร้างมูกเพิ่มขึ้น
ทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ
มีการแทรกซึมของเซลส์เม็ดเลือดขาวเข้าไปในหลอดลมทำให้เกิดเสมหะเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง
อาการไอเป็นอาการนำที่สำคัญที่สุด
หากเกิดจากเชื้อไวรัส
มักเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เป็นต้น
อาการทางหลอดลม ได้แก่ ระคายคอ ไอแห้งๆ และรุนแรงขึ้น และไอเริ่มมีเสมหะใสเหนียวหรือสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองข้น
อาจมีหลอดลมหดเกร็ง เจ็บหน้าอก
ถ้าจากเชื้อ Hemophillus influenza มักมีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปัญหาที่ 1 เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากประสิทธิภาพการหายใจบกพร่อง มีการหดเกร็งของหลอดลมและมีการหลั่งของมูกมาก
เกณฑ์การประเมินผล
อัตราการหายใจปกติ
(แรกเกิด 40-60 ครั้งต่อนาที, 1-5 ปี 20-40 ครั้งต่อนาที, 6 ปีขึ้นไป 16-20 ครั้ง/นาที)
ไม่มีเหนื่อยหอบ กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าซีด/เขียว
ไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อพิเศษช่วยในการหายใจ
ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (Oxygen saturation) ≥95%
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน เช่น การหายใจลำบาก หายใจหอบ หายใจเข้ามีเสียงดัง หน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ผิวซีด เขียว ซึม ระดับความรู้สึกสดลง กระสับกระส่าย เมื่อพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาที่เหมาะสมกับอาการความรุนแรงของการขาดออกซิเจนและอายุของเด็ก
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ รบกวนผู้ป่วยเมื่อจำเป็น และพยายามจัดกิจกรรมการพยาบาล ให้อยู่ในในเวลาเดียวกัน เพื่อลดการใช้พลังงานและออกซิเจน โดยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง โดยทำกายภาพบำบัดทรวงอกที่เหมาะสม
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 4-6 ชั่วโมง
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ Arterial blood gas ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยากลุ่มคอร์ติโคสติรอยด์ ตามแผนการรักษา
วัตถุประสงค์
เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ปัญหาที่ 3 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากเด็กอยู่ในภาวะอ่อนแอและอวัยวะในระบบทางเดินหายใจมีการอักเสบ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาดของปากและฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียแนะนำวิธีรับประทานยาเน้นให้เห็นความสำคัญของการรับประทานยาให้ครบตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันเกิดภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อนและเกิดภาวะแทรกซ้อน
รวมทั้งการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนตามกำหนด
แนะนำเด็กและครอบครัวให้หาสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค
เพื่อหาวิธีป้องกันติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อน
เกณฑ์การประเมิน
อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ระหว่าง 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
ไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อซ้ำซ้อนและภาวะแทรกซ้อน เช่น ไข้ ไอ หายใจลำบาก น้ำมูก หรือเสมหะเปลี่ยนสี
ปัญหาที่ 2 ความทนต่อการปฏิบัติกิจกรรมลดลงเนื่องจากภาวะหายใจลำบากและพร่องออกซิเจน
วัตถุประสงค์
สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามปกติและได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์ประเมินผล
ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ อาการหายใจลำบาก
สามารถเล่นและทำกิจกรรมได้ตามปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ เสียงการหายใจ ภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะหายใจลำบาก
ประเมินสภาพร่างกายก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรม
ดูแลให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
จัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับอายุ สภาพร่างกาย และความสนใจ
ให้การพยาบาลอย่างเหมาะสมที่ไม่รบกวนการพักผ่อน