Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A Beautiful Mind ครั้งที่2 - Coggle Diagram
A Beautiful Mind ครั้งที่2
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ
: จอห์น ฟอร์บส์ แนช จูเนียร์ อายุ: 24 ปี
เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
วัยเด็ก
จอห์นเป็นเด็กที่ฉลาด มี IQ ที่สูง แต่มีความสามารถในการเข้าสังคมได้ไม่ดี
วัยรุ่น
จอห์นเริ่มเห็นภาพหลอน คือ ชาร์ลส์ ซึ่งเป็นรูมเมทของตนเอง เริ่มมีนิสัยก้าวร้าวหมกมุ่นอยู่กับการคิดทฤษฎี และคิดว่าการเข้าห้องเรียนเป็นการตีกรอบความคิด อยากเป็นที่ยอมรับ สามารถคิดทฤษฎีสมดุลระบบได้จนชิงทุนไปเรียนที่มหาวิทยาลัย MIT ( Massachusetts Institute of Technology )
วัยทำงาน
เป็นอาจารย์และเป็นหัวหน้าวิจัย จอห์นเริ่มเห็นภาพหลอนคือ Parcher ว่าจ้างให้ไปทำงานถอดรหัส
ก่อนแต่งงานจอห์นเห็นภาพหลอนเพื่อนและหลานสาว
มีอาการหนักขึ้น มีความก้าวร้าวมากยิ่งขึ้นจึงได้รับเข้าการรักษาด้วยไฟฟ้าและยาที่โรงพยาบาล
มีอาการหนักขึ้น มีความก้าวร้าวมากยิ่งขึ้นจึงได้รับเข้าการรักษาด้วยไฟฟ้าและยาที่โรงพยาบาล
หลังจากรักษาได้สักระยะ จอห์นรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถทำงานได้อย่างเดิม ไม่สามารถช่วยภรรยาเลี้ยงลูกได้ จึงเริ่มหยุดยาเอง
วัยผู้สูงอายุ
เริ่มมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นมีการยอมรับจากนักวิชาการและเข้าสังคมได้ดีขึ้น เพราะเข้ารักษาอาการป่วยเริ่มหายดีแล้ว
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม
สารเคมีในสมอง
กายวิภาคสมอง
ประสาทสรีรวิทยา
ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม
การเลี้ยงดู
ความยากจน
สภาพสังคมบีบบังคับ
อาการและอาการแสดง
กลุ่มอาการด้านบวก (Positive Symptoms)
Psychotic dimension ได้แก่อาการหลงผิด และอาการประสาทหลอน
Disorganization dimension ได้แก่ disorganized behavior และ disorganized speech
กลุ่มอาการด้านลบ (Negative Symptoms)
Asociality เก็บตัว เฉย ๆ ไมค่อยแสดงออกหรือไมม่ กิจกรรมที่สนุกสนาน
Avolition ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาลง
Audible thoughts ผู้ป่วยมีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูด
Visual hallucination เห็นภาพหลอน
อาการของจอร์น แนช
ก้าวร่าว
หูแว่ว
ประสาทหลอน,ภาพหลอน
พฤติกรรมผิดแปลกจากปกติ
ความคิดหลงผิด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น เนื่องจากมีควมผิดปกติด้านการรับรู้
เสี่ยงอันตรายจากผลข้างเคียงของยาและอาจหลีกเลี่ยงการกินยา
มีความบกพร่องในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความต้องการของตนเนื่องจากมีพฤติกรรม
แยกตัวจากผู้อื่น
ครอบครัวไม่สามารถเผชิญกับการเจ็บป่วยได้อย่างประสิทธิภาพ
มีแนวโน้มกลับมารักษาซ้ำเนื่องจากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา
การรักษา
การรักษาด้วยยา
ระยะควบคุมอาการ เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้คือ
การควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว
ระยะให้ยาต่อเนื่อง หลังจากที่อาการสงบลงแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับม่มีอาการกำเริบซ้ำ
การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
มีปัญหาอื่นๆที่ดุแลใกล้ชิด เช่น มีอาการข้างเคียงของยารุนเเรง
เพื่อควบคุมเรื่องยา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยา
การรักษาด้วยไฟฟ้า ECT
การรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยจิตเภทนั้นผลไม่ดีเท่ากับการรักษาด้วยยา โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองด้วยยา โดยใช้ECT ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจใช้ในผู้ป่วยชนิด catatonic หรือผู้ป่วยที่มี severe depression ร่วม
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้กล้าพูดเปิดใจถึงความคิด ความรู้สึก
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยหรือใช้เทคนิคในการสื่อสารสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยพยายามจะฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยประสาทหลอนเห็นคนทำร้ายตนเอง พยาบาลจึงควรระมัดระวังประเด็นนี้
สอนให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
ไม่ส่งเสริมและลดโอกาสในการเกิดอาการประสาทหลอนต่างๆ โดยการสนทนากับผู้ป่วยด้วยถ้อยคำทีชัดเจนเรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาและรับประทานยาตามเวลาที่แพทย์สั่ง
ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย การร่วมมือในการรักษาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วย
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic theories)
ทฤษฎีของ Margaret Mahler ที่มองว่าในวัยเด็กผู้ป่วย schizophrenia มีรูปแบบความสัมพันธ์กับมารดา (mother - child relationship) ที่ไม่ดีนัก มีความใกล้ชิดที่มากเกินไป จนต้องอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงตลอดเวลา ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่เก็บแม่หรือวัตถุใดๆไว้ในใจ (object consistency) แม้ว้าแม่หรือวัตถุนั้นไม่ได้อยู่ในสายตาแล้วก็ตาม ทำให้ตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยมาผู้ป่วยไม่สามารถสร้างคามรู้สึกปลอดภัย (secure) ขึ้นภายในจิตใจตัวเองได้
ทฤษฎีของ Sigmund Freud เชื่อว่ามีความผิดปกติของ mental development ของผู้ป่วยschizophrenia ตั้งแต่ระยะก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบประสาท ทำให้ ego funcion ของผู้ป่วยมีผิดปกติแตกแยก และกลับสู่ช่วงวัยที่ egoยังไม่ได้เกิดขึ้น และเนื่องจากหน้าที่ส่วนหนึ่งของ ego คือการแปลความจริง (interpretation of reality) และคอยควบคุมแรงขับเคลื่อนภายใน (control internal drives เช่น sex และ aggression) ซึ่งหากไม่มี ego แล้วนั้น ความขัดแย้งภายใน (intrapsychic conlicts) และแรงขับเคลื่อนต่างๆ ก็จะแสดงออกเป็นอาการ psychotic ต่างๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้(Learning theories
ตามทฤษฎีการเรียนรู้เชื่อว่าผู้ป่วย schizophrenia จะเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์แบบไร้เหตุผล ทักษะการเข้าสังคมที่ไม่ดี และการมีวิถีคิดที่ผิดปกติ ตั้งแต่วัยเด็กผ่านการมีพ่อแม่เป็นแบบอย่าง
ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์
(Biomedical Model หรือ Medical Model)
เชื่อว่าการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจเป็นผลจากความผิดปกติของโครงสร้างสมอง และสารชีวเคมีในสมอง
เอมิล เครพพลิน (Emill Kraepelin)
เชื่อว่าสาเหตุความเจ็บป่วยทางจิตมาจากความผิดปกติทางร่างกาย
อดอล์ฟ เมเยอร์ (Adof Meyer)
เชื่อว่าบุคคลเป็นหน่วยรวมของร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเจ็บป่วยของบุคคลเป็นผลมาจากพยาธิสภาพของร่างร่าง
การวินิจฉัยโรค
โรคจิตเภท (schizophrenia) ตามเกณฑ์วินิจฉัย DSM-5
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน โดยอย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่ 1 อาการ
(1) อาการหลงผิด (2) อาการประสาทหลอน
(3) การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน (การพูดในลักษณะที่หัวข้อ วลี หรือประโยคที่กล่าวออกมาไม่สัมพันธ์กัน)
4) พฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยไม่ทำกัน พฤติกรรมการ
เคลื่อนไหวมากเกินไป น้อยเกินไป หรือแปลกประหลาด (catatonic behavior)
(5) อาการด้านลบ เช่น สีหน้าทื่อ เฉยเมย แยกตัวจากคนอื่น
B. ระดับความสามารถในด้านสำคัญๆ เช่น ด้านการทำงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือการดูแลตนเอง
ลดลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งด้าน
C. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมี active phase (ตามข้อ A) อย่างน้อยนาน 1 เดือน (อาจน้อยกว่านี้หากรักษาได้ผล) และรวมช่วงเวลาที่มีอาการในระยะ prodromal หรือ residual phase โดยใน ช่วง prodromal หรือresidual phaseอาการที่พบอาจเป็นเพียงอาการด้านลบ หรืออาการตามข้อ A ตั้งแต่2อาการ ขึ้นไป แต่แสดงออกแบบเล็กน้อย (เช่น คิดแปลกๆ หรือมีอาการรับรู้ที่ไม่ปกติแต่ไม่ถึงขั้นประสาทหลอน)
D.ต้องแยก โรคจิตอารมณ์โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วออก
E. ต้องแยกอาการโรคจิตที่เกิดจากโรคทางกายและสารเสพติดออก
F. ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภทก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ร่วมด้วย
พระราชบัญญัติที่ควรมี
พระราชบัญญัติ สุขภาพจิต
พ.ศ.2551
มาตรา ๑๗
การบําบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทําไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพยสินของผู้อื่น โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๑๘
การรักษาด้วยไฟฟา กระทำต่อสมองหรือระบบประสาทหรือการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใด ที่อาจเป็นผลทำให้ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวรให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
กรณีผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัดรักษานั้น โดยผู้ป่วยได้รับทราบเหุตผลความจำเป็น ความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรืออาจเป็นผลทำให้ไม่สามารถแก้ไขให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม และประโยชน์ของการบำบัด
ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม และประโยชน์ของการบำบัด อันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัด
มาตรา ๒๑
การบำบัดรักษาจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการอธิบายเหตุผลความจำเป็น ในการบำบัดรักษา รายละเอยดและประโยชน์ของการบำบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย เว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา ๒๒
มาตรา ๒๒
บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้อง ได้รับการบำบัดรักษา
(๑) มีภาวะอันตราย
(๒) มีความจำเป็นต้องได้รับการับำบัดรักษา
มาตรา ๒๓
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมี
ลักษณะตามมาตรา ๒๒ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยไม่ชักช้า
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน : กลยุทธ์ 3 C
ด้านผู้ป่วย (Client)
1.1 ส่งเสริมให้มีการกินยาต่อเนื่อง
1.2 ฟื้นฟูทักษะในการดูแลตนเอง
1.3 เฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ
1.4 ดูแลให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน
2.ด้านญาติ/ผู้ดูแล (Carer/ Care giver)
2.1 เรียนรู้ทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
2.2 ดูแลสภาจิตใจตนเองไม่ให้เครียด
2.3 ฟื้นฟูทักษะในการดูแลตนเอง
2.4 เฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ
3.ด้านบริการชุมชน (Community service)
3.1 ยอมรับ เข้าใจผู้ป่วย
3.2 ผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มองการเจ็บป่วยว่าเป็นปัญหา/ความทุกข์ของชุมชน
3.3 สนับสนุนให้มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน สร้างอาชีพ เพื่อสามารถพึ่งพาตนเองได้