Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของกำลังการคลอด(Power) และ Psyche, นางสาวนันธิดา หางาม…
ความผิดปกติของกำลังการคลอด(Power) และ Psyche
ความผิดปกติของแรงเบ่ง
แรงจากการเบ่ง (Force from voluntary muscle หรือ Bearing down effort) แรงเบ่งที่ถูกต้องจะสามารถเพิ่มแรงดันในโพรงมดลูกให้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากในระยะที่ 2 ของการคลอด เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลไกการคลอดได้
ซึ่งผลการเบ่งไม่ถูกวิธีหรือแรงเบ่งน้อย ทำให้ระยะที่สองของการคลอดยาวนาน เนื่องจากกลไกการเคลื่อนต่ำของทารก (descent) การก้มของศีรษะทารก (Flexlon) และการหมุนของส่วนของทารกในช่องเชิงกราน (Internal rotation) เกิดขึ้นล่าช้านอกจากนั้นอาจทำให้ผู้คลอดหมดแรงอ่อนเพลียและเกิดภาวะการขาดน้ำได้
สาเหตุ
เบ่งไม่ถูกวิธีหรือเบ่งไม่เป็น
ท่าเบ่งไม่เหมาะสม
ผู้คลอดใช้ยาชาเฉพาะที่
ผู้คลอดได้รับยาสลบ
ได้รับยาแก้ปวดในปริมาณมาก
ผู้คลอดหมดแรง
ผู้คลอดเจ็บครรภ์มาก
ผู้คลอดอ้วนมาก
ผู้คลอดมีพยาธิสภาพ เช่น โรคหัวใจ ซีดมาก
ผลกระทบ
การคลอดยาวนาน
ผู้คลอดอ่อนเพลีย หมดแรง
วิตกกังวล หวาดกลัว
ทารกเกิดภาวะพร่องออกซิเจน
การพยาบาล
สอนวิธีการเบ่งที่ถูกวิธี
ไม่ให้ผู้คลอดเบ่ง ถ้าปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
ดูผลให้ได้รับสารน้ำเพียงพอ
ระยะเบ่งคลอด มีการกระตุ้นเชียร์เบ่ง
ให้เบ่งทุกครั้งที่มดลูกหดรัดตัว
ผู้คลอดที่มีพยาธิสภาพ แพทย์อาจใช้หัตถการช่วยคลอด
อธิบายให้คลายวิตกกังวล
หากการคลอดยาวนาน รายงานแพทย์เพื่อใช้หัตถการช่วยคลอด
แรงจากการหดรัดตัวของมดลูกผิดปกติ
ความหมาย
การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ
สาเหตุ
มารดามีความเหนื่อยล้า ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
มีภาวะไม่สมดุลของน้ำและ Electrolytes
น้ำตาลในเลือดต่ำ
มารดามีการหลั่ง Catecholamine ในการตอบสนองต่อความเครียดและความเจ็บปวด
ได้รับยาบรรเทาปวดมากเกินไป
ภาวะ CPD และการยึดขยายของมดลูกมากกว่าปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ
แบ่งเป็น 2 ชนิด
หดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติ (hypertonic uterine dysfuntion)
ความหมาย
การที่มดลูกหตรัดตัวแรงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อมดลูกในระยะพักมีความดึงตัวมากกว่าปกติ และการหดรัดตัวไม่มีจุดรวมของการหดรัดตัวที่ยอดมดลูก (Fundus) ทำให้มารดามีความเจ็บปวดมาก แต่ปากมดลูกไม่เปิดขยายและส่วนนำของทารกไม่เคลื่อนต่ำ มักพบในระยะ Latent phase
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.มดลูกหดรัดตัวไม่คลาย
(Tetanic contraction)
คือ มดลูกหดรัดตัวแข็งตึงตลอดเวลา มีความตึงตัวมากกว่าปกติ หดรัดตัวนานและถี่ ระยะพักสั้นหรือแทบไม่มีระยะพักเลย
ลักษณะ
D > 90 วินาทึ
I < 90 วินาที
ระยะพักสั้นมาก
สาเหตุ
การคลอดติดขัด เช่น ทารกผิดท่า
CPD พบ BandI's ring
ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกไม่ถูกวิธี รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบ
ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้
ผู้คลอดมีอาการเจ็บครรภ์มากกว่าปกติ
มดลูกแตก
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้สูง
การพยาบาล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาทึ
ถ้าได้รับยา Oxytocin ให้หยุดยาทันที
จัดท่าให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย
ให้ O2 cannula 4 ลิตร/นาทึ
ประเมิน FHS ทุก 5 นาที
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับยาบระเทาปวด
ดูแลให้ได้รับสารน้ำเพียงพอ
รายงานแพทย์ อาจจำเป็นต้อง C/S
มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน (Uncoordinated contraction)
สาเหตุ
ประมาณร้อยละ 50 ไม่ทราบสาหตุ
มารดามีความเครียดและวิตกกังวล
G1 พบได้มากกว่า G2
ผ่านการคลอด > 5 ครั้ง
ภาวะ CPD, ทารกท่าผิดปกติ
ผลกระทบ
ประสิทธิภาพในการขยายของปากมดลูกลดลง
ผู้คลอดมีอาการเจ็บครรภ์มากกว่าปกติ
ผู้คลอด อ่อนเพลียมาก
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้สูง
การพยาบาล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาที
จัดท่าให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย
ประเมิน FHS ทุก 15-30 นาที
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับยาบรรเทาปวด+พักผ่อนนอนหลับ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำเพียงพอ
รายงานแพทย์ อาจจำเป็นต้อง C/S
ลักษณะ
มดลูกหดวัดตัวแรงมาก โดยบริเวณตอนกลางและตอนล่างของมดลูกจะหดรัดตัวก่อน และหดรัดตัวแรงกว่าบริเวณยอดมดลูก
ในระยะกล้ามเนื้อพัก มดลูกคลายตัวไม่เต็มที่
มดลูกหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอ
การที่มดลูกหดรัดตัวถี่ และแรงแต่ไม่สม่ำเสมอ
ใยกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันทำให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ มดลูกหดรัดตัวแรงมากแต่ไม่ได้หดรัดตัวแรงที่บริเวณยอดมดลูก แต่หดรัดตัวแรงบริเวณตอนกลางหรือตอนล่าง
และยังพบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอและในระยะพักกล้ามเนื้อมดลูกคลายตัวไม่เต็มที่
มดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวนบนรอยคอดของทารก (Constriction ring)
คือ การที่กล้ามเนื้อมดลูกชนิดวงกลม มีการหดรัดตัวไม่คลายเฉพาะที่จนเกิดเป็นวงแหวนโดยรอบตำแหน่งรอยคอดบนตัวทารก
เช่น บริเวณซอกคอ โดยมากแล้วมักจะเกิดเหนือปากมดลูกขึ้นไปประมาณ 7-8 เซนติเมตร มดลูกหดวัดตัวแรงและไม่สม่ำเสมอ
ลักษณะ
มืวงแหวนเกิดขึ้นบนรอยคอดของทารก เกิดเหนือปากมดลูก 7-8 cm.ตรวจไม่พบทางหน้าท้อง
มดลูกหดรัดตัวไม่แรง ไม่สม่ำเสมอ แต่มีระยะพัก
สาเหตุ
Oligohydramnios,PROM
หลังจากทารกแฝดคนแรกคลอด
ให้ Oxytocin
ผลกกระทบ
ผู้คลอดเจ็บครรภ์มาก ถูกหน้าท้องไม่ได้
เกิดการคลอดติดขัด
ระยะที่ 3 ปากมดลูกปิดก่อนคลอด ซึ่งทำให้รกค้าง
การพยาบาล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาที
หยุดให้ Oxytocin, ดูแลให้ได้รับสารน้ำเพียงพอ
จัดท่านอนตะแคง ให้ 02
ประเมิน FHS ทุก 15 นาที
ดูแลให้ยา pethidine ตามแผนการรักษา
รายงานแพทย์เพื่อ C/S
เพิ่มเติม
การคลอดเร็วเฉียบพลัน
ความผิดปกติ
2 more items...
การพยาบาล
2 more items...
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดยาวนานเพื่อลดกังวล
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและ FHS
ดูแลให้ได้รับยาระงับความเจ็บปวดหรือยานอนหลับเพื่อให้ผู้คลอดบรรเทาปวดและได้พักผ่อน
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ผู้คลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวไม่คลาย ควรประเมินหาสาเหตุของมดลูกหดรัดตัวไม่คลายหากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวอยู่ให้หยุดยา
ผู้คลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน ภายหลังจากที่ผู้คลอดได้พักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว แต่การหดรัดตัวของมดลูกยังผิดปกติเหมือนเดิม ในรายที่ไม่มีข้อห้ามแพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ผู้คลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวน หากได้รับยา กระตุ้นการหดรัดตัวอยู่ให้หยุดยาและแพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความเจ็บปวดเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อวงแหวนคลายตัว
มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ (hypotonic uterine dysfunction)
หมายถึง การที่หดรัดตัวเป็นจังหวะ แต่การหดรัดตัวไม่แรง มดลูกยังนุ่มและไม่สามารถทำให้ปากมดลูกเปิดขยายได้ การหดรัดตัวของมดลูกจะห่างออกไป
ลักษณะทางคลินิกที่ตรวจพบ
Duration <40 นาที, Interval> 3 นาทีความถี่น้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที Intensity = Mild, Moderate หรือแรงดันถุงน้ำคร่ำ <15 mmHg
พบว่ามักเกิดในระยะ active phase โดยเฉพาะในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว (Phase of maximum slope) รวมทั้งในระยะที่สองของการคลอด
สาเหตุ
กล้ามเนื้อมดลูกยืดขยายผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำทารกตัวโต เคยคลอดมาแล้วหลายครั้ง
ขาดการกะตุ้น Ferguson's reflex เช่น CPD ส่วนนำผิดปกติ Bladder full
ได้รับยาแก้ปวดหรือยาสลบ
มารดามีความเครียดและวิตกกังวล
เจ็บครรภ์คลอดเป็นเวลานาน อ่อนเพลีย
ผลกระทบ
เกิดการคลอดยากในระยะที่ 1 ปากมดลูกเปิดช้า
เกิดการคลอดยากในระยะที่ 2 แรงในการผลักดันเด็กไม่พอ
การคลอดยาวนานทำให้ผู้คลอดอ่อนเพลียน้ำคร่ำแตกทำให้ติดเชื้อ
ตกเลือดหลังคลอด
การพยาบาล
การวัดสัญญาณชีพของมารดา
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที
จัดท่านอนศีรษะสูง
กระตุ้นปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง
หากอุจจาระเกิน 12 ชั่วโมงการตุ้นหรือสวนอุจจาระ
ดูแลให้สารน้ำเพียงพอ
รายงานแพทย์ เพื่อให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ระยะคลอด Observe การหดรัดตัวของมดลูก
Psychological condition
(สภาวะจิตใจของผู้คลอด)
กลไกของ Fear-Tension-Pain
ความกลัว ความเครียด ความเจ็บปวด เมื่อจิตใจมีความกลัว จะเกิดการสร้าง Epinephrine ซึ่งมีผลทำให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่มีประสิทธิภาพ ความเครียดจะทำให้การหลั่งฮอร์โมน oxytocin,Endophine ลดน้อยลง ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี ความเจ็บปวดทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแคททิโคลลามีนมากจากระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัว การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีเช่นกัน
การได้รับความช่วยเหลือในระยะก่อนคลอด และระยะคลอด ประสบการณ์การคลอดที่ดี การเตรียมความพร้อม การไว้วางใจผู้ทำคลอด จะช่วยให้มารดามีความกังวลลดลง
สาเหตุ
สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล
การที่ผู้คลอดมาอยู่ตามลำพังโดยปราศจากบุคคลใกล้ชิดในโรงพยาบาลที่มีสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากที่บ้าน
มีกฎระเบียบและการปฏิบัติกิจกรรมที่ยุ่งยากซับซ้อน
บุคคลแปลกหน้า กลิ่น เสียงที่ไม่คุ้นเคย
การคลอดไม่เป็นไปตามความคาดหวังหรือตามความต้องการ
มีการเจ็บครรภ์ก่อนหรือช้ากว่ากำหนดใน
ผู้คลอดที่เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ทำให้ไม่มีการเตรียมตัวคลอด ในขณะที่ผู้คลอดที่เกินกำหนดอาจรู้สึกคับข้องใจหรือท้อแท้ใจได้
เหตุการณ์ในระยะคลอดไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ตามที่เคยมีประสบการณ์จากการคลอดในอดีต
การขาดความรู้หรือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความคิดฝันไปต่างๆนานา
ความกลัวในระยะคลอด
ความกลัวเกี่ยวกับตนเองและความกลัวเกี่ยวกับทารก
ความกลัวเกี่ยวกับตนเอง
เช่น กลัวว่าตนเองจะบาดเจ็บ หรือตายจากการคลอด
สำหรับความกลัวเกี่ยวกับทารก เช่น กลัวว่าทารกจะบาดเจ็บ
พิการ มีภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิต
ผลกระทบต่อผู้คลอด
ความกลัว ความวิตกกังวลที่มีมากกว่าปกติจะทำให้ปากมดลูกเปิดช้า ซึ่งทำให้การคลอดล่าช้าและมีความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลทำให้เพิ่มฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ได้แก่ เบต้าเอ็นดอร์ฟิน (beta-endorphine ) อดรีโนคอร์ติโคโทรปิค (adrenocorticotropic) ฮอร์โมนคอร์ติโซน (cortisol) และอิพิเนฟริน (epinephrine) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก โดยทำให้การหดรัดตัวของมดลูกลดลง ซึ่งมีผลคลอดล่าช้าและคลอดยาก
ผลกระทบต่อทารก
ผู้คลอดที่มีความวิตกกังวลสูงหรือตื่นกลัวจะทำให้หัวใจของทารกเต้นช้าลง นอกจากนั้นผู้คลอดที่มีความวิตกกังวลสูงจะมีค่าคะแนน APGAR ต่ำกว่าทารกที่เกิดจากผู้คลอดที่มีความวิตกกังวลต่ำ
การพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้มารดาเกิดความสุขสบาย เพื่อช่วยให้ร่างกายของมารดาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยมารดาให้ใช้เทคนิคการผ่อนคลายและดูแลความสุขสบาย เพื่อช่วยให้ร่างกายของมารดาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ให้ยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษาของสูติแพทย์ เพื่อลดความเครียดความวิตกกังวล
พูดคุยกับมารดาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพทางด้านจิตใจ ให้แนวทางการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และให้ความมั่นใจเพื่อเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถเผชิญการคลอดและลดความคับข้องใจ
ส่งเสริมให้สามีเข้ามามีส่วนร่วม
นางสาวนันธิดา หางาม รหัสนักศึกษา 61102301062 กลุ่ม D3