Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการผลการปฏิบัติงานของทีม Team Performance Management - Coggle Diagram
การจัดการผลการปฏิบัติงานของทีม Team Performance Management
1. ความหมายและแนวคิดการทำงานเป็นทีม
ทีมงาน หมายถึง กลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน สมาชิกในทีมจะมีบทบาทพึ่งพากันและกัน มีทักษะส่งเสริมกัน ทีมงานจะประกอบไปด้วยสมาชิกที่มีทักษะและประสบการณ์การทำงานแบบเดียวกัน หรือสมาชิกที่มีทักษะหรือประสบการณ์หลากหลาย โดยทีมในรูปแบบที่สองนี้จะเรียกว่า ทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team) และพบได้มากขึ้นในองค์กรปัจจุบัน
แนวโน้มการทำงานเป็นทีมเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมจากองค์กรต่างๆ ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากองค์กรต่างๆ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมมากกว่าการทำงานเป็นรายบุคคล และเชื่อมั่นว่าความสำเร็จที่ยั่งยืนของการดำเนินการนั้น องค์กรจำเป็นต้องได้รับการมีส่วนร่วม ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญขององค์กรในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุผลปฏิบัติงานที่กำหนดไว้
กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ช่วยในการพัฒนาทีมในรูปแบบต่าง ๆ สามารถพิจารณาร่วมกับกิจกรรมดังต่อไปนี้
การประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งในและนอกสถานที่
การรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันของสมาชิกในทีมงาน
กิจกรรมกลางแจ้งที่สมาชิกปฏิบัติงานร่วมกัน
การแบ่งปันอีเมลและกระดานข่าว
การพบปะหรือประชุมกันในห้องกาแฟในช่วงพักระหว่างวันทำงาน
ขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงานเป็นทีม
ขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงานเป็นทีม
ตามแนวคิดของ Tuckman (1965) ได้แบ่งขั้นของการพัฒนากลุ่มเป็น 5 ขั้น ดังนี้
ชั้นการทำงาน เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในทีมปฏิบัติงานตามหนำที่ที่ตนเองรับผิดซอ บอย่าง
เต็มที่
ขั้นการขัดแย้งภายใน เป็นขั้นที่สองของการเกิดขึ้น และมีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้งและ
เผชิญหน้าระหว่างกันมากขึ้น การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นนี้มักจะย้อนกลับไปทบทวนข้อตกลงที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนเกิดความเข้าใจและยอมรับ
ขั้นการสลายตัว เป็นลำดับชุดท้ายของการเกิดทีม ซึ่งอาจพิจารณาได้ 2 กรณี ได้แก่ กรณีแรก คือทีมที่ถูกจัดตั้งถาวรก็จะอยู่ที่ขั้นที่ 4 เท่านั้น และดำเนินการตราบนานเท่านานจนกว่าทีมจะปิดลง กรณีที่สองทีมที่จัดตั้งชั่วคราว ต้องแยกจากกันหรือสลายทีมเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ
ขั้นการก่อตัว เป็นขั้นตอนแรกของการก่อตั้งทีม มีลักษณะของความไม่แน่นอนและสับสน
เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และการะผู้นำของทีม
ขั้นการกำหนดบรรทัดฐานทีม มีลักษณะของความสามัคคีอย่างเห็นได้ชัด โดยสมาชิกในทีมจะเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน รวมถึงการยอมรับความแตกต่างของทัศนคติและแนวทางในการปฏิบัติงานของสมาชิก
การวิเคราะห์บทบาท
ความสำคัญของขอบเขตที่ต้องการทำการวิเคราะห์บทบาทที่ผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาสามารถสรุป
ได้ดังนี้
ㆍ การเข้าใจถึงผู้ส่งมอบบทบาท และความคาดหวังของบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเตรียมขอบเขตงานที่สำคัญให้แก่ผู้รับบทบาท
ㆍใช้สำหรับการกำหนดขีดความสามารถหลักในการทำงานและวิเคราะห์บทบาทให้สอดคล้อง
ㆍการระบุขีตดวามสามารถในการรับบทบาทงานเฉพาะอย่าง
ㆍเข้าใจถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและสายการบังคับบัญชาตามโครงสร้างขององค์กร
ㆍการระบุช่องว่างตำนผลการปฏิบัติงานโดยผ่านการจัดทำแผนภูมิดวามสามารถ และการพัฒนาแผน เพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว
ㆍใช้ในการกำหนดคุณสมบัติสำหรับตัดเลือกบูดลากรเพื่อทำงานเฉพาะกิจ
หลักในการจัดการผลการปฏิบัติงานของทีม
พฤติกรรมที่ทำให้ทีมประสบความสำเร็จมีความแตกต่างกัน การแสดงพฤติกรรมของทีมที่ประสบความสำเร็จย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละทีมและช่วงเวลา เนื่องจากผลการปฏิบัติงานของแต่ละทีมงานอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดการ การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจ การจูงใจของผู้นำทีม หรือการให้ผลตอบแทน เป็นต้น
พฤติกรรมของทีมอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยใช้กระบวนการบริหารผลงานของทีม
ㆍการสร้างเป้าหมายทางพฤติกรรมให้เข้ากับผลงานของทีม แนวทางนี้สามารถดำเนินการขึ้นได้โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลของทีมเพื่อติดตามว่าพฤติกรรมใดทำให้ทีมประสบความสำเร็จ
ㆍ การกำหนดความต้องการด้านพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์โดยใช้ตัวชี้วัดบทบาทของทีมเปรียบเทียบพฤติกรรมเป้าหมายและพฤติกรรมปัจจุบันโดยใช้การวิเคราะห์ช่องว่างทางพฤติกรรม
ㆍ ลงมือเพื่อปิดช่องว่างซึ่งเป็นการบังคับให้มีความต้องการทางพฤติกรรมเพื่อความสำเร็จของทีม
พฤติกรรมของทีมมีความแตกต่างจากพฤติกรรมรายบุคคล ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าสมาชิกในทีมแต่ละคนทำอะไรในทีม แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือสมาชิกในทีมทำงานอะไรร่วมกัน เมื่อพนักงานแต่ละคนเข้าไปเป็นสมาชิกของทีมจะถูกหล่อหลอมวัฒนธรรม คำนิยมหรือรูปแบบการดำเนินงานของทีมตามมา และจะแสดงพฤติกรรมตามแนวทางของทีม
ส่วนใหญ่ระบบการจัดการผลงานของทีมนั้นองค์กรมักจะใช้เกณฑ์วัด 2 ประเภท
เกณฑ์วัดภายนอก เป็นตัวกำหนดปริมาณของผลงานของทีม เป็นการประเมินผลงานของทีมผลผลิต และประโยชน์ของทีมที่มีต่อความสำเร็จทางธุรกิจ
เกณฑ์วัดภายใน เป็นการวัดพฤติกรรมของทีมด้วยการประเมินถึงวิธีการที่ใช้เพื่อบรรลุผลลัพธ์
เกณฑ์วัดดังกล่าวจะอธิบายว่า ทีมใช้วิธีการอย่างไรในการทำงาน
ประเภทของทีม
ทีมแก้ไขปัญหา เป็นทีมที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยการรวม ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ ทำหน้าที่เพียงให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
ทีมข้ามสายงาน เป็นทีมที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากสายงานต่างๆ ขององค์กร และอาจใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน
ทีมบริหารตนเอง ทีมที่ไห้รับมอบอำนาจอย่างมที่ในการวางแผน จัดการ ควบคุมประสานงาน โดยสมาชิกในทีมจะร่วมกันกำหนดและตัดสินใจเอง โดยทั่วไปจำนวนสมาชิกในทีม จะอยู่ในช่วง 5 – 15 คน (สุนันทา เลาหนันทน์,2551)
ทีมเสมือนจริง เป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ห่าไกลกันคนละพื้นที่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อและประสานงานร่วมกัน อาจมีการพบกันแบบเผชิญหน้ากันโดยตรงบ้างบางครั้ง ประกอบด้วยคนภายในและภายนอกองค์กร แต่ทำงานภายใต้ธุรกิจเดียวกัน มีลักษณะมุ่งงานมากกว่า ความสัมพันธ์ของสมาชิกในทีม (พูนเพิ่ม เสรีวิชยสวัสดิ์, 2558)
ทีมวิจัยและพัฒนา เป็นทีมที่จัดขึ้นเพื่อทำการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ขึ้น ทีมงานประเภทนี้จะพบในอุตสาหกรรมพวกที่ต้องไว้เทศโนโมนี่รั้นยุง เช่น อุตสาหกรรมการบิน อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
แนวทางเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของทีม
การระบุเป้าหมายพฤติกรรม เป็นแนวทางเริ่มต้น ซึ่งประกอบด้วยการรวบรวมความคิดเห็นจากสมาชิกในทีม ลูกค้า ฝ่ายบริหาร เจ้าหน้าที่ เพื่อนร่วมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำรายงาน และกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและตัวชีวัดต่างๆ
การวัดพฤติกรรมในปัจจุบัน เป็นกระบวนการของการประเมินพฤติกรรมของทีมในปัจจุบันกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก เพื่อพิจารณาผลการปฏิบัติงานของทีมว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
การวิเคราะห์ช่องว่าง เป็นกระบวนการนำข้อมูลจากการวัดพฤติกรรมในขั้นตอนก่อนหน้ามาพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อระบุช่องว่างระหว่างพฤติกรรมที่แสดงออกจริงกับพฤติกรรมที่คาดหวังหวังตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นว่าเป็นอย่างไร
การปิดช่องว่าง เป็นการพิจารณาแทรกแซงเพื่อหาแนวทางปิดช่องว่างโดยพัฒนาและฝึกอบรมให้แก่ทีมงานอย่างเหมาะสม
การตรวจสอบและติดตามผล เป็นการตรวจสอบโปรแกรมการแทรกแซงทีมว่มีความรู้ทักษะ และทัศนคติตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรมแทรกแซงหรือไม่ พร้อมทั้งดำเนินการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ลักษณะของสมาชิกในทีมที่ดี
จินตนาการ เป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลต้องมีเพื่อใช้ไนการสร้างภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตว่าต้องการให้คนเองและกลุ่มเป็นไปในทิศทางใด
รับฟังผู้อื่น เป็นทักษะในการรับข้อมูลข่าวสารจากบุคคลอื่นในการแสตงความคิดเห็นต่างๆ ทั้งในการดำเนินงานหรือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของทีม
มีน้ำใจ เป็นการแสงพฤติกรมในกาช่วยเหลือต่อสมาชิกรายอื่นในต้านต่าง ๆ
รับผิดชอบ เป็นการแสคงพฤติกรรมในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากลุ่ม
ให้อภัย เป็นการแสดงพฤติกรรมในการยกโทษแก่สมาชิกคนอื่นๆ ที่อาจแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดพลาดไป
กล้าแสดงออก เป็นการแสดงพฤติกรรมของสมาชิกต่อการดำเนินงานบางสิ่งบางอย่างที่ควรกระทำ
7.ปรับตัวง่าย เป็นการแสดงพฤติกรรมของสมาชิกต่อการปรับตัวให้เข้ากับสถานการ สมาชิกของทีมได้เป็นอย่างตึ
บทบาทสมาชิกในทีมที่พึงประสงค์
West (2012) ได้ระบุถึงบทบาทของสมาชิกที่พึงประสงค์ของทีมว่า ควรประกอบด้วย
ผู้สนับสนุน
ผู้ประสาน
นักการสื่อสาร
ผู้มีความท้าทายต่อสิ่งต่างๆ
หลักปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม
ทีมต้องมีอุคมการณ์ที่แน่นอนและชัดเจน
ถือความถูกต้องเป็นหลักซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องถูกใจ
เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
ประนีประนอมกันหากมีข้อขัดแข้งหรือมีปัญหาในการทำงานร่วมกัน
อย่าเด่นผู้เดียว ต้องนำเสนอในรูปแบบความสำเร็จของทีม
แบ่งงานกันตามความรู้ความสามารถของสมาชิกแต่ละคน
มีความอิสระในการทำงานพอสมควรแก่สมาชิกในทีม
ปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบของทีมที่ได้กำหนดขึ้นร่วมกันอย่างเคร่งครัด
เมื่อมีความขัดแย้งกันในกลุ่ม
ลักษณะของกลุ่มและทีมที่มีประสิทธิภาพ
โดย Robbins and Coulter (2012) ได้เสนอแนวติดเกี่ยวกับลักษณะของทีมที่มีประสิทธิภาพควรประกอบด้วยลักษณะ 8 ประการ
การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน หากเป้าหมายไม่มีความชัดเจนให้สมาชิกเกิดความลับสนและกดตันต่อการปฏิบัติงาน เพราะพวกเขาจะไม่ทราบความต้องการที่แท้จริง และปฏิบัติงานอย่างไม่มีทิศทาง
สมาชิกภายในทีมทุกคนต้องมีความสามารถเฉพาะตัว
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
สมาชิกของทีมต้องมีความภักดีและอุทิศตัวเองให้กับทีม (
สมาชิกและผู้บริหารทีมจะต้องมีการติดต่อสื่อสารและมีความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง
สมาชิกในทีมที่มีประสิทธิภาพดี จะมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง
ผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพจะสามารถจูงใจผู้ปฏิบัติงาน
บรรยากาศภายในของการปฏิบัติงาน
การผนึกประสานระบบการให้รางวัลจูงใจของทีมงาน
รางวัลจูงใจที่อยู่ในรูปตัวเงิน
องค์ประกอบของค่าตอบแทน เป็นการพิจารณาถึงความสมารถของสมาชิกแต่ละคนในองค์กรโดยยึดแนวทางปฏิบัติงานสำหรับการจ่ายคำตอบแทนในรูปแบบของตัวเงินที่อิงกับผลลัพธ์รวมของการปฏิบัติงาน
ประเภทของค่าตอบแทน เป็นการพิจารณาถึงรูปแบบการจ่ายคำตอบแทนให้แก่ทีมงานโดยพิจารณาใน 2 รูปแบบ ประกอบด้วย
2.1 จุดมุ่งหมายการจ่ายค่าตอบแทน
1.1 การจ่ายพื้นฐาน (Basic Pay)
2.1.2 การจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Performance Pay)
2.1.3 การจ่ายเพื่อจูงใจ (Incentive Pay)
2.2 โบนัส โตยทั่วไปการจ่ายโบนัสมักพิจารณาจ่ายใน 2 ลักษณะ ได้แก่
2.2.1 การจ่ายโบนัสตามผลการปฏิบัติงาน (Performance Bonus)
2.22 การจ่ายโบนัสเพื่อจูงใจ (Incentive Bonus)
รางวัลจูงใจที่ไม่อยู่ในรูปตัวเงิน
เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่แสดงไห้เห็นว่าองค์กรหรือผู้บริหารขององค์กรให้การยอมรับความสามารถของทีมงาน เนื่องจากทีมงานได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าแก่องค์กรหรือได้รับการชื่นชมจากลูกคำที่ให้บริการ อาจอยู่ในลักษณะของการยกย่องว่าเป็นทีมงานยอดเยี่ยมประจำปี การให้เกียรติบัตรแก่ทีมที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณคำแก่องค์กร การให้ไปพักผ่อนยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ เป็นตัน