Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก - Coggle Diagram
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์
พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป
ระดับนี้เป็น 2 ขั้น
ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม ในขั้นนี้การ “ถูก” และ “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล
ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน ในขั้นนี้สิ่งที่ “ถูก” และ “ผิด” เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี
ระดับนี้เป็น 2 ขั้น
ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน ไม่เป็นตัวของตัวเอง คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่นพบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบของสังคม
จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ13 -16 ปี
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี
ระดับนี้เป็น 2 ขั้น
ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด”เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราะอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล
ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับลักษณะอื่นของมนุษย์
ผู้มีจริยธรรมสูงจะเป็นผู้มีสมาธิดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตน และมีความภาคภูมิใจในตนเองและสภาพแวดล้อม สูงกว่าผู้มีจริยธรรมต่ำ
โคลเบิร์ก (Kolberg) ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) และพบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ ไม่ได้บรรลุจุดสมบูรณ์ในบุคคลอายุ 16 ปี เป็นส่วนมาก แต่มนุษย์ในสภาพปรกติจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมอีกหลายขั้นตอนจนอายุ 16-25 ปี
ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับระดับสติปัญญาทั่วไป และความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับความสามารถที่จะผลได้ที่ดีกว่าในอนาคต แทนที่จะรับผลที่เล็กน้อยกว่าในปัจจุบันหรือในทันที ซึ่งลักษณะนี้เรียกว่า “ลักษณะมุ่งอนาคต”
การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจ ที่จะเลือกการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผนและยังอาจทำให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เหตุผลเชิงจริยธรรมของแต่ละบุคคลเป็นเครื่องทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นในสถานการณ์แต่ละอย่างได้อีกด้วย
ทฤษฏีการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผล (moral reasoning)ของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใช้กิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาจริยธรรมคือ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็น
ขั้นตอนที่ 2 แยกผู้อภิปรายออกเป็นกลุ่มย่อยตามความคิดเห็นที่แตกต่างกันจ
ขั้นตอนที่ 3 ให้กลุ่มย่อยอภิปรายเหตุผล พร้อมหาข้อสรุปว่า เหตุผลที่ถูก – ผิด หรือควรทำ ไม่ควรทำ เพราะเหตุอะไร
ขั้นตอนที่ 4 สรุปเหตุผลของฝ่ายที่คิดว่าควรทำและไม่ควรทำ
ขั้นตอนที่ 1 ผู้ดำเนินการเสนอประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีความยากแก่การตัดสินใจ
จริยธรรมแบ่งได้เป็น 4 ด้าน
ทัศนคติเชิงจริยธรรม
เหตุผลเชิงจริยธรรม
ความรู้เชิงจริยธรรม
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม