Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจิตเภท (Schizophrenia) - Coggle Diagram
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
อาการด้านบวก
อาการหลงผิด (Delusion)
มีความเชื่อที่ผิดๆในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่เป็นความจริงไม่ามารถเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วยได้
1.Delusion of persecution คิดว่าผู้อื่นจะมาปองร้าย
2.Delusion of reference คิดว่าผู้อื่นนินทาว่าร้ายตนเอง
3.Delusion of begin controlled คิดว่าการกระทำของตนถูกควบคุมโดยอำนาจภายนอก
4.Delusion of somstic คิดว่าตนเองเจ็บป่วยทางกาย
5.Delusion of grandeur คิดว่าตนเองเป็นใหญ่
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
เช่น สมองทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อการควบคุมการรับรู้และความคิดของผู้ป่วย เป็นต้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและจิตใจ
โดยอาจพบโรคนี้ในผู้ที่อยู่ในสภาวะที่มีความเครียดสูงหรือผู้ที่มีความโดดเดี่ยว
ปัจจัยอื่น ๆ
Delusion Disorder อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดต่าง ๆ
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ไม่แสดงกิริยาที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความสงสัยหรือไม่มั่นใจ
แสดงการยอมรับอาการ โดยไม่โต้แย้งหรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าไม่เป็นความจริง
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว
ยอมรับผู้ป่วยโดยการเรียกชื่อให้ถูกต้อง รับฟังเรื่องราวอย่างสนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย
ประเมินอาการหวาดระแวงทุกครั้งที่มารับบริการ
การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูดให้ข้อมูลอย่างชัดเจน
ประเมินพฤติกรรมการทำร้ายตนเองและบุคคลรอบข้าง
ใช้แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง OAS
การแปลผลคะแนน
: การตัดสินระดับความก้าวร้าวรุนแรงจะพิจารณาใช้คะแนนสูงสุดตามที่ประเมินได้ตามลักษณะพฤติกรรม เพียงคำเดียวเท่านั้น และคะแนนระดับความรุนแรงที่ประเมินได้มีความหมายดังนี้
คะแนน 0 หมายถึง ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แสดงว่าผู้ป่วยที่มีคะแนนในระดับนี้จะถูกจัดอยู่ใน กลุ่มฟื้นฟู(convalescent) ตามเกณฑ์การจำแนกผู้ป่วยจิตเวช
คะแนน 1 หมายถึง ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ที่ยังสามารถรับฟังคำเตือนแล้วสงบลงได้ซึ่งจะถูกจัด อยู่ในกลุ่มปานกลาง (Moderate) ตามเกณฑ์การจำแนกผู้ป่วยจิตเวช
คะแนน 2 หมายถึง ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่เริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้มีท่าทีที่อาจเกิดอันตรายต่อ ตนเอง ผู้อื่น และทรัพย์สิน ซึ่งจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มหนัก (semi-critical) ตามเกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วยจิตเวช
คะแนน 3 หมายถึง ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จนเกิดอันตรายต่อ ตนเอง หรือผู้อื่น หรือทรัพย์สิน ซึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มหนักมาก (critical) ตามเกณฑ์การจำแนก ประเภทผู้ป่วยจิตเวช
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
การรู้สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอก เช่น อาการหูแว่ว เห็นภาพคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่จริง
1.auditory hallucination มีหูแว่วได้ยินเสียงจากภายนอก อาจเป็นเสียงรูปแบบต่างๆหรือเสียงคนคุยกัน
2.visual hallucination มีภาพหลอนโดยอาจเห็นเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรืออย่างอื่น
3.olfactory hallucination ได้กลิ่นแปลกๆ เช่น กลิ่นไหม้
4.gustatory hallucination รู้สึกว่าลิ้นได้รับรสแปลกๆ เช่น รสโลหะ
5.tactile hallucination มีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ตามตัว หรือรู้สึกแปลกๆตามผิวหนัง
สาเหตุ
การใช้ยา
เกิดจากการใช้ยาที่เรียกว่า ยาหลอนประสาททำให้เกิดภาพหลอนขึ้น โดยจะเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของสมองและทำให้เกิดการประมวลผลเกิดความคิดที่ผิดปกติ
โรคจิตเภท
เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่ทำให้คนไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง
ภาวะกังวลใจและอาการซึมเศร้า
อาจเคยมีอาการภาพหลอนเกิดขึ้นโดยปกติจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ หรือระยะเวลาที่เกิดขึ้นของอาการมีความเกี่ยวข้องกับภาวะอารมณ์เเละความรู้สึกผู้ป่วยในช่วงเวลาหนึ่ง
ภาวะถอนพิษสุรา
เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาพหลอนเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในคนผู้ที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะถอนพิษสุราขั้นรุนเเรงที่ทำให้เกิดอาการเพ้อได้
โรคเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัส
ผู้ที่เคยมีอาการหูเเว่วหรือเห็นภาพผิดปกติอาจเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะหลอนประสาทซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสมองและระบบประสาทสัมผัสที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นหรือการได้ยินเสียงที่ส่งข้อมูลไปประมวลผลที่สมอง
สาเหตุอื่นๆ
ในบางกรณีอาการเห็นภาพหลอนอาจเกี่ยวข้องกับโรคหรือการใช้ยาที่เข้าไปกระตุ้นทำให้เกิดภาวะประสาทหลอนได้
การรักษา
การรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์
วิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการประสาทหลอนมาจากสภาวะทางจิตใจการได้พูดคุยกับจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจสิ่งที่ตนเองกำลังเผชิญได้ดี ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยผู้ป่วยพัฒนากลยุทธ์การรับมือกับอาการประสาทหลอนได้
การใช้ยารักษา
การรักษาอาการประสาทหลอนขึ้นอยู่กับสาเหตุทั้งหมดของผู้ป่วย เช่น หากผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอนจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก แพทย์จะให้ยาที่ลดอาการประสาทหลอนลง
การส่งเสริมผู้ป่วยให้มีการรับรู้ตามความเป็นจริง
แสดงการยอมรับอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยการรับฟังและไม่ โต้แย้ง
หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับต้องผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยจะมีแนวโน้ม ตีความหรือการรับรู้ผิด
ประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวข้องกับระบบรับสัมผัสใด
หากพบอาการกำลังแสดงประสาทหลอน ควรบอกสิ่งที่เป็น จริงกับผู้ป่วยขณะนั้น
เรียกชื่อผู้ป่วยให้ชัดเจนใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล และกระตุ้นให้ ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
การพยาบาล
เข้าใจและยอมรับในอาการของผู้ป่วย ไม่ตำหนิ หรือพูดเชิงขบขันว่าเป็นอาการที่ไม่น่าเป็นไปได้
พยาบาลควรสอบถาม Content ของประสาทหลอนเพื่อประเมินอาการของผู้ป่วยและผลกระทบที่เกิดขึ้น
สร้างสัมพันธภาพให้ ผู้ป่วยรู้สึกไวว้างใจปลอดภัย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการควรใช้เทคนิคการสนทนาที่จำเป็น
การพูดไม่มีระเบียบแบบแผน
การพูดในลักษณะที่หัวข้อวลีหรือประโยคที่กล่าวออกมาไม่สัมพันธ์กัน เช่น การเปลี่ยนเรื่องที่พูดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันเลยเป็นต้น
พูดไม่ต่อเนื่อง เช่น พูดรัวเร็ว พูดแล้วหยุดชะงัก พูดอ้อมค้อม
การออกเสียง เช่น พูดตะกุกตะกัก พูดติดอ่าง พูดไม่ชัด
การปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการสื่อสาร
6.พยาบาลต้องตระหนักว่า พฤติกรรมแยกตัว ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบคุยกับคนอื่นนี้เป็นปัญหาด้านความสามารถทางด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของผู้ป่วย
ดังนั้นพยาบาลต้องอดทนให้เวลาผู้ป่วยในการปรับปรุง
4.เมื่อสัมพันธภาพดำเนินมาสักระยะ พยาบาลควรชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งกิจกรรมระยะแรกควรเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว มีสมาชิกลุ่มไม่มากเกินไป กระตุ้นให้ผู้ป่วยสื่อสารมากขึ้น และพยาบาลควรร่วมกิจกรรมกลุ่มพร้อมผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นสบายใจเมื่อเห็นคนที่คุ้นเคย
2.พยาบาลควรสร้างสัมพันธภาพแบบ one to one เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย และไว้วางใจ จัดเวลาเข้าไปพบและพูดคุยกับผู้ป่วยสม่ำเสมอ ถึงแม้จะไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับและยังเป็นที่ต้องการของผู้อื่น พยาบาลควรสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างชัดเจน เช่นสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย
1.พยาบาลควรประเมินลักษณะการสื่อสารของผู้ป่วยว่ามีความบกพร่องอย่างไร เช่น พูดหลายเรื่องผสมกันจนคนฟังไม่เข้าใจ
5.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เป็นตัวของตัวเอง โดยกระตุ้นให้ ผู้ป่วยทำกิจกรรมกับสมาชิกอื่นที่ผู้ป่วยพอใจ และพยาบาลควรให้กำลังใจหรือแรงเสริมเมื่อเห็นผู้ป่วยในกิจกรรม
3.พยาบาลต้องนำเทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัดมาใช้ เช่น ในกรณีที่พูดหลายเรื่องพยาบาลควรให้ผู้ป่วยหยุดพูดเป็นครั้งคราว และกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้อธิบายสิ่งที่เขาพูดไปกรณีผู้ป่วยไม่พูดหรือไม่โต้ตอบ พยาบาลควรใช้การตีความหรือการคาดเดาจากภาษาท่าทางของผู้ป่วย และกระตุ้นุ้ป่วยโดยการวิเคราะห์ความรู้สึกของผู้ป่วย
กิจกรรมการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาเรื่องการสร้างสัมพันธ์ภาพ
4.แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอน หรือหวาดระแวงของผู้ป่วยโดยไม่โต้แย้งหรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าไม่เป็นความจริง แต่แสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้โดยใช้เทคนิคการให้ความจริง (presenting reality) ในขณะการสนทนา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจว่าความคิดที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นและหวาดระแวงน้อยลง
3.การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูดให้ข้อมูลอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการจ้องมอง
6.ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย การร่วมมือในการรักษาด้วยยาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความรู้ กับผู้ป่วยและญาติ ถึงพยาธิสภาพของโรค แผนการรักษาพยาบาล และการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย
เสริมสร้างพลังอำนาจ และสอนทักษะการจัดการกับความเครียดแก่ผู้ดูแล
ให้ข้อมูลในแหล่งที่สามารถช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน แก่ผู้ดูแล
สอนให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่น ทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
2.ยอมรับผู้ป่วยโดยการเรียกชื่อให้ถูกต้อง รับฟังเรื่องราวอย่างสนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ ไม่หัวเราะในพฤติกรรมผู้ป่วย
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (one to one relationship) โดยเน้นการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อถือ ทุกครั้งที่พบกับผู้ป่วย
5.ไม่แสดงกิริยาที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความสงสัยหรือไม่มั่นใจ ระมัดระวังการกระซิบต่อหน้าผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าพยาบาลนินทา หรือระแวง
การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคจิตเภท
ด้านการสื่อสาร
โดยพูดกับผู้ป่วยอย่างไพเราะ ไม่ตำหนิไม่ขู่
เวลาลูกไม่อาบน้ำ บอกว่าใครมาบ้านจะเหม็นสาบ
ให้ขอความช่วยเหลือ โดยการเสนอตัวให้ความช่วยเหลือสม่ำเสมอ
เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เอื้ออาทร
การตอบสนองต่อท่าทางของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
ขอสัญญาว่าต่อไปจะปฏิบัติตัวอย่างไรแทนการตำหนิผู้ป่วย
จะเอาอะไรให้บอก สอบถามให้ผู้ป่วยพูดปัญหา
เตือนผู้ป่วยให้กินยาโดยใช้คำพูดว่า กินยาหรือยังลูก
ถ้าลูกฮึดฮัด โต้เถียง แม่บอกว่า ขอโทษ
ฝึกการสื่อสารเพื่อรับยา
คนป่วยทำผิดอย่าตำหนินิ่งเสีย หายโมโหค่อยบอก
นอนหลับมั้ย/ เครียดมั้ย/ อยู่ว่างๆ เบื่อมั้ย/ลูกตื่นได้แล้ว สายแล้ว
อาการหวาดระแวง (Paranoid)
ภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัยหรือระแวงผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีคนจ้องทำร้ายอยู่ตลอดเวลา คิดว่าคนรอบข้างไม่ชอบตนเอง หรือไม่ไว้ใจผู้อื่น อาการเหล่านี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาการหลงผิด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือเข้าสังคมได้ยาก
สาเหตุ
ปัญหาสุขภาพจิต
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เสี่ยงที่จะไม่ไว้ใจหรือหวาดระแวงผู้อื่น
ปัญหาสุขภาพกาย
ผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจมีอาการหวาดระแวงร่วมด้วย เช่น โรคสมองเสื่อม พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease) เป็นต้น
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเสพติด
เช่น กัญชา แอมเฟตามีน โคเคน แอลเอสดี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น รวมไปถึงการใช้สารอื่น ๆ เช่น สารเฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) และสเตียรอยด์ ที่นักกีฬาใช้สำหรับฉีดกล้ามเนื้อ หรือยาฆ่าแมลง
การจำแนกความหวาดระแวง
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
แบ่งได้ตามลักษณะของความคิด
Persecutory type,
Jealous type
Erotomanic type
Somatic type
Grandiose type
บุคลิกภาพผิดปกติชนิดหวาดระแวง
บุคลิกภาพที่ไม่ไว้วางใจผู้อื่น
หลงผิดและประสาทหลอน
ไม่มีเพื่อนสนิท
สัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่ดี
โรคจิตเภทชนิดหวานระแวง (Schizophrenia : paranoid)
กลุ่มอาการหลงผิดที่มีสาเหตุทางกาย
ประเมินอาการหวาดระแวงจากการทำร้ายตัวเองและบุคคลรอบข้าง
ลักษณะของความหวาดระแวง
มักมีความคิดหลงผิดว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ (Grandeur idea delusion) ร่วมด้วย
ปฏิเสธการมีสัมพันธ์กับผู้อื่น มองผู้อื่นในแง่ร้าย
มีความคิดสงสัย ไม่แน่ใจ คอยสังเกตพฤติกรรมและการกระทำของคนอื่น
มีอารมณ์ก้าวร้าว ผลุนผลันและรุนแรง
ไวต่อการกระตุ้นและระมัดระวังตัวมาก
ใช้กลไกทางจิตแบบ Denial และ Projection
ไม่ยืดหยุ่น ไม่สนใจต่อเหตุผลของผู้อื่น
8.มักมีอาหารประสาทหลอนทางหู (Auditory hallucination) ร่วมด้วย
สามารถให้การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยลดความหวาดระแวงลง
ไม่แสดงกิริยาที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความสงสัยหรือไม่มั่นใจ ระมัดระวังการกระซิบต่อหน้าผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าพยาบาลนินทา หรือระแวง
ประเมินอาการหวาดระแวงทุกครั้งที่มารับบริการโดยสอบถามทั้งจากผู้ป่วย และญาติ เพื่อประเมินอาการและให้การพยาบาลได้เหมาะสม
แสดงการยมอมรับอาการหวาดระแวงของผู้ป่วย โดยไม่โต้แย้งหรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าไม่เป็น ความจริง แต่แสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้ โดยใช้เทคนิคการให้ความจริง (presenting reality) ในขณะการสนทนาเพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจว่าความคิดที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นและหวาดระแวงน้อยลง
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (one to one relationship) โดยเน้นการสร้างความ ไว้วางใจและความเชื่อถือทุกครั้งที่พบกับผู้ป่วย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อช่วยลดอาการหวาดระแวง
การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูดให้ข้อมูลอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาหลีกเลี่ยงการจ้องมอง
ยอมรับผู้ป่วยโดยการเรียกชื่อให้ถูกต้อง รับฟังเรื่องราวอย่างสนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยการร่วมมือในการรักษาด้วยยาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชนในการดูแลผู้ป่วย โดย
ให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ ถึงพยาธิสภาพของโรค แผนการรักษาพยาบาล และ การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย
สอนให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการ เตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่ม หงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่ม มีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
เสริมสร้างพลังอำนาจ และสอนทักษะการจัดการกับความเครียดแก่ผู้ดูแล
ให้ข้อมูลในแหล่งที่สามารถช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉินแก่ผู้ดูแล
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอิสระได้
สามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดต่างๆ
การให้ความสำคัญกับครอบครัวในการเข้าร่วมกระบวนการรักษา
การบำบัดมุ่งเน้นการปรับตัวต่อความเจ็บป่วย และการสามารถทำหน้าที่/มีคุณค่าในการดำรงชีวิตประจำวัน
กระตุ้นและส่งเสริมพลังอำนาจ การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยโรคจิตเภท ครอบครัวและชุมชน
มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคโดยเฉพาะสาเหตุความผิดปกติของการทำงานของสมอง
การสร้างความจริงใจ สัมพันธภาพ และความเห็นอกเห็นใจ
Giving General lead
Reflecting
Using Broad Opening Statement
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมมีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทแต่ละราย
คำนึงแหล่งสนับสนุนหรือการประคับประคองทุกรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคจิตเภท
การค้นหาและเสริมศักยภาพที่เป็นกลไกแก้ไขปัญหาที่เป็นธรรมชาติของผู้ป่วยโรคจิตเภท
ความผิดปกติของพฤติกรรม (ฺBehavioral disorganization)
จะมีพฤติกรรมวุ่นวาย พลุ่กพล่าน กระวนกระวาย ไม่ใส่ใจตนเอง มีการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม สกปรก
พฤติกรรมเคลื่อนไหวผิดแปลกไปจากปกติ คือ การเคลื่อนไหวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
ซึ่งในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้คนที่สมาชิกครอบครัวมีประวัติเกี่ยวข้องนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพได้มากกว่า
ปัจจัยสภาพแวดล้อม
โดยเฉพาะพื้นฐานทางครอบครัวและวิธีการเลี้ยงดูถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดบุคลิกภาพเป็นอย่างมากการถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับความรัก ความเอาใจใส่ ตลอดจนถูกทำร้ายหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ จนจมอยู่กับความเครียดมายาวนานนั้นมีความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งได้มากกว่า
ต่อคนรอบข้าง
การพยาบาล
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการสับสน มึนงงมาก สามารถผูกมัดได้
ลงบันทึกการสังเกต/การเยี่ยมผู้ป่วย
ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
แบบประเมิน SAFE-D
พยาบาล/ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ดูแลให้ผู้ป่วยสวมเสื้อ SAFE และติดป้ายชื่อที่มีสัญลักษณ์สีแดงในช่อง A
การพยาบาล
แนะนำผู้ป่วยให้ค่อยๆ เปลี่ยนท่าเพราะอาจเกิดหน้ามืด
กรณีที่ได้ยาฉีด
แนะนำให้ผู้ป่วยพัก ประมาณ 30-60 นาทีหรือ
จนกว่าจะประเมินได้ว่าเดินได้โดยปลอดภัย
รายงานแพทย์ ถ้ามีฤทธิ์ข้างเคียงจากยามาก
ดูแลใกล้ชิด ให้ผู้ป่วยอยู่ในสายตาตลอด
หากมีปัญหาในการทรงตัว จัดหาอุปกรณ์ช่วยเดิน มีเจ้าหน้าที่ช่วยประคอง
กรณีที่รักษาด้วยไฟฟ้า
ช่วยทำกิจวัตรทั้งหมด จนกว่าประเมินแล้วไม่มีความเสี่ยง
หลังทำจะมีอาการสับสน
ดูแลให้ได้รับยาทางจิตเวช
มีปัญหาการได้ยิน ญาตินำเครื่องช่วยฟังมาให้
ติดสัญญาณเรียกไว้ที่เตียง
จัดสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัย
ช่วยดูแลกิจวัตร งดการอาบน้ำตามลำพัง
อาการหลงผิดและประสาทหลอนมีความสัมพันธ์กับโรคจิตเภท
การวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิดและปรัสาทหลอนเป็นเป็นแันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
พยาบาลต้องประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวข้องกับระบบรับสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อการรับรู้นั้นๆ และอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
ถ้าพยาบาลพบผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการประสาทหลอนพยาบาลควรบอกสิ่งที่เป็นจริง (Present reality) กับผู้ป่วยในขณะนั้น เช่น ผู้ป่วยบอกว่าเห็นแม่มาหา ซึ่งขณะนั้น ไม่มีแม่ผู้ป่วย พยาบาลควรบอกให้ผู้ป่วยรู้ว่าพยาบาลไม่เห็นแม่ของเขา
จัดสิ่งแวดล้อมให้กระตุ้นผู้ป่วยน้อยที่สุด เช่น จัดที่พักให้เป็นส่วนตัวมากที่สุด มีแสงสว่างพอเหมาะเงียบสงบ ตกแต่งห้องเพียงพอเล็กน้อย เป็นต้น
จำกัดการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมของผู้ป่วย แต่ควรสร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว
สังเกตพฤติกรรมการทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่นของผู้ป่วยอยู่เสมอ
นำวัตถุที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม วัตถุที่ทำด้วยแก้ว หรือกระจก เข็มขัด เน็คไท บุหรี่ ฯลฯ ออกห่างผู้ป่วยให้มากที่สุด
ต้องมีเวลาอยู่กับผู้ป่วย คอยให้ความช่วยเหลือขณะที่ผู้ป่วยกระวนกระวายลุกลี้ลุกลน
วางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการกำหนดตารางกิจกรรม และเวลาพัก
ให้ผู้ป่วยระบายความก้าวร้าวออกมาเป็นกิจกรรมที่ใช้ออกกำลังกาย เช่น เล่นกีฬากลางแจ้ง ชกกระสอบทราย เป็นต้น
พยาบาลควรยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยและมีจิตใจสงบขณะให้การพยาบาล เพื่อป้องกันการกระตุ้นความรู้สึกรุนแรงของผู้ป่วย จัดให้มีกำลังเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอเพื่อแสดงถึงความพร้อมในการควบคุมผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างรุนแรง
ความรู้ที่บุคคลรอบข้างควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย
ทําความเข้าใจความรู้สึก
ทำความเข้าใจอารมณ์ละความรู้สึกของผู้ป่วย
ไม่ควรมองว่าภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยไร้เหตุผล
แนะนำสายด่วนหากผู้ป่วยไม่พูดคุยเปิดใจผู้ใกล้ชิดอาจ
ช่วยเหลือเต็มที่
หากผู้ป่วยไม่ต้องการไปหาหมอก็ไม่ควรฝืนบังคับ
บุคคลรอบข้าง เพื่อน ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด สังเกตอาการ พูดคุยแบบเปิดใจ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรู้มุมมองที่แตกต่างออกไปและช่วยลดความเครียดได้
เคารพการตัดสินใจ
ไม่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยควรให้ผู้ป่วยได้คิดและตัดสินใจเอง
อาการด้านลบ
ความคิดอ่านและการพูดลดลง ไม่พูดหรือพูดน้อย (alogia) บกพร่องทางเชาวน์ความคิด (Cognitive deficit)
อารมณ์ทื่อ (blunted affect) และเฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย (anehedonia)
ขาดความสนใจในการเข้าสังคมและกิจกรรมที่เคยสนใจ ไม่มีสัมพันธภาพกับใคร (lack of socialization)
ไม่ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว
สาเหตุ
1.มีบคุลิกภาพเก็บตัว (Schizoidpersonality) และขาดความมั่นคงทางจิตใจ
ลักษณะของการเลี้ยงดูจากครอบครัว เช่น บิดามารดามีความขัดแย้งกัน บิดามารดาปกป้องมากเกินไป บิดามารดามีลักษณะแยกตนเอง
อารมณ์ทื่อ เฉยเมย
พยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
การจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา หากปฏิเสธ จำเป็นต้องพูดให้เข้าใจ
ประเมินความเสี่ยง เฝ้า ระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ดูรูปแบบการนอน เมื่อถึงเวลานอน และจัดสภาพแวดล้อมให้สงบ
ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย การเรียนการทำงาน
ไม่มีความสนใจโต้ตอบสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยจะมีสีหน้าเรียบเฉย
การไม่มีความรู้สึก ไม่มีอารมณ์
อาการพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช
การให้ความสำคัญกับครอบครัวในการเข้าร่วมกระบวนการรักษา
การค้นหาและเสริมศักยภาพที่เป็นกลไกแก้ไขปัญหาที่เป็นธรรมชาติของผู้ป่วยโรคจิตเภท
การบำบัดมุ่งเน้นการปรับตัวต่อความเจ็บป่วย และการสามารถทำหน้าที่/มีคุณค่าในการดำรงชีวิตประจำวัน
คำนึงแหล่งสนับสนุนหรือการประคับประคองทุกรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคจิตเภท
การสร้างความจริงใจ สัมพันธภาพ และความเห็นอกเห็นใจ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคโดยเฉพาะสาเหตุความผิดปกติของการทำงานของสมอง
ขาดความสามารถในการปรับตัวเข้าหาผู้อื่น
การพบาบาล
ประเมินสภาพอารมณ์และสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสังเกตสัญญาณเตือนของการเกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ลดระดับสิ่งเร้าไม่ให้อึกทึกคึกโครม ไม่กระตุ้นผู้ป่วย
นำสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือผู้ป่วยอาจใช้เป็นอาวุธได้ไปไว้ไกลๆผู้ป่วย
ให้แรงเสริมทางบวก ให้กำลังใจ ชมเชย เมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมพฤติกรรมและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ไม่สามารถควบคุมพลังผลักดันของความต้องการพื้นฐานเป็นพฤติกรรมที่ขาดเหตุผล ไม่เหมาะสมกับวัย ตามใจตนเองเหมือนเด็ก
อารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงง่าย มีอาการไม่เหมาะสม เช่นเฉยเมยไม่ยินดียินร้าย
มักใช้ความคิดของตนเองฝ่ายเดียว ขาดเหตุผลที่เหมาะสมตามความเป็นจริง ในความคิดมีแต่เรื่องราวที่สมมติขึ้นจนทำให้หลงผิด
มีลักษณะนิสัยที่ชอบเก็บตัวแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว
เป็นพฤติกรรมที่หลีกเลี่ยงจากเหตุการณ์ บุคคล ที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย
ตัดขาดจากสภาพความเป็นจริงไปสู้โลกของความฝัน
การตีความ
โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด
ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร
สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับผู้ป่วยมากยิ่งมีโอกาสสูง จากความผิดปกติของสมอง โดยสารเคมีในสมองมีความผิดปกติและจากโครงสร้าง ของสมองบางส่วนที่มีความผิดปกติเล็กน้อย
ด้านจิตใจ (Psychological factors)
จากความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วย การใช้อารมณ์กับผู้ป่วย การตำหนิ มีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรหรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากไปก็มีผลต่อการกำเริบของโรคได้
ด้านชีวเคมีในสมอง (ฺBiological factors)
เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองมีปริมาณ Dopamine ที่ synapse ในสมองมากเกินไป มีจำนวน Post synaptic recepter มากเกินไป
ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factors)
สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เศรษฐกิจที่ตกต่ำหรือล้มเหลวอาจทำให้เกิดความเครียดและกระตุ้นให้เกิดโรคจิตเภทได้
ด้านครอบครัว
การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ขาดความรักความอบอุ่น และมีการสื่อสารไม่เหมาะสมในครอบครัว
สาเหตุกระตุ้นอื่นๆ
เช่น ความเครียดอย่างรุนแรง การใช้สารเสพติด
การวินิจฉัยโรคจิภเภทตามหลัก DSM V
A.มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือนต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่ 1 อาการ
1.อาการหลงผิด (delusion) มีความเชื่อที่ผิดๆในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่เป็นความจริงไม่สามารถเปลี่ยนความคิดของผู้ป่วยได้
2.อาการประสาทหลอน ( hallucination)
3.การพูดแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (disorganized speech)
4.พฤติกรรมไม่มีระเบียบแบบแผนและเคลื่อนไหวผิดแปลกไปจากปกติ (grossly disorganized or catatonic behavior)
5.อาการด้านลบ (Negative symptoms) ได้แก่ ความคิดอ่านและการพูดลดลง ไม่พูดหรือพูดน้อย (alogia),
บกพร่องทางเชาวน์ความคิด (Cognitive deficit),อารมณ์ทื่อ (blunted affect) และเฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย (anehedonia)
B.มีความเสื่อมหรือปัญหาในด้านการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ
C.มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป
โดยต้องมี active phase (ตามข้อA) อย่างน้อยนาน 1 เดือน และที่เหลืออาจเป็น prodromal หรือ residual phase อาการที่พบอาจเป็นอาการด้านลบหรืออาการตามข้อ A ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปแต่แสดงออกเล็กน้อย
D.ต้องแยกโรคจิตอารมณ์ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว
E.ต้องแยกอาการโรคจิตที่เกิดจากโรคทางกายและสารเสพติดออก
F.ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็กจะวินิจฉัยโรคจิตเภทก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิด หรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนร่วมด้วย
แบบประเมินอาการทางจิตผู้ป่วยจิตเภท (Positive and Negative Syndrome Scale : PANSS )
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภท
พยาบาลจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล ดังนี้
1. ด้านสุขภาพทั่วไป
ผู้ป่วยที่มีคิดผิดปกติอาจมีความบกพร่องในการดูแลสุขภาพ รับฟังปัญหาของผู้ป่วย ตรวจร่างกายบริเวณผิวหนัง รอยแผล รอยเข็มจากการใช้ยาฉีด ถ้าผู้ป่วยใช้ยารักษาโรคจิต (antipsychotics) อยู่ควรสอบถามชนิดของยาปริมาณและระยะเวลาที่ใช้เพราะพยาบาลจำเป็นต้องแยกว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นผลจากยาที่ได้รับหรืออาการทางจิตโดยแท้จริง นอกจากนี้ต้องรวบรวมข้อมูลการใช้ยาประเภทอื่นนอกเหนือจากแพทย์สั่ง เช่น ยาเสพติดต่างๆ
2. ด้านโภชนาการ
อาจมีภาวะทุโภชนาการได้ เพราะจัดการตนเองไม่ได้ในเรื่องของอาหาร อาจหวาดระแวงไม่ยอมรับประทานอาหารหรือในรายที่แยกตัวมากจะไม่สนใจ ไม่รับรู้ความรู้สึกหิวหรืออยากอาหาร แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้รับยารักษาโรคจิตไประยะหนึ่ง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีน้ำหนักมากขึ้น เพราะยาไปกระตุ้นความอยากอาหาร
3. ด้านการขับถ่าย
ผู้ที่มีอาการทางจิตมากอาจจะไม่รู้ว่าตนเองต้องไปห้องน้ำ หรือมีอาการ disorientation ไปห้องน้ำไม่ถูกหรือสับสน ซึ่งปัญหาส่วนมากเกิดขึ้นเพราะอาการทางจิต
4. ด้านกิจกรรมประจำวัน มี 2 ด้าน
4.1 Underactivity ไม่ทำค่อยอะไร หรือไม่เคลื่อนไหว มักแยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจในกิจวัตรประจำวันของตนเอง จะนำมาซึ่งปัญหาและอาการทางจิตอื่นๆ
4.2 Overactiviry ไม่อยู่เฉย เดินไปมา นั่งไม่ติด จะเป็นผู้ป่วยที่พูดเสียงดัง พูดเร็ว เคลื่อนไหวมาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้เสี่ยงกับการมีพฤติกรรมรุนแรง
5. ด้านการพักผ่อน-นอนหลับ
อาการนอนไม่หลับติดต่อกันหลายวันในผู้ป่วยจิตเภทมักเป็นอาการนำเริ่มแรกก่อนมีอาการทางจิตอื่นๆ พยาบาลควรพิจารณาว่ามีอาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในด้านการนอนหลับและการพักผ่อนของผู้ป่วย ก่อนมีอาการทางจิตชัดเจน และหลังจากอาการทางจิตสงบลง
6. ด้านความคิดและการรับรู้
ส่วนมากผู้ป่วยมักมีความบกพร่องในการคิดและการตัดสินใจแม้ในสถานการณ์ง่ายๆ ความคิดที่แปรปรวนมากขึ้นมักจะเป็นเรื่องของความหลงผิด มีความคิดไม่เหมือนคนอื่น ไม่สามารถคิดให้เป็นนามธรรมได้ ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดร่วมกับการรับรู้ต่อสิ่งเร้าบกพร่อง อาจทำให้มีหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน ซึ่งอาจสังเกตเห็นผู้ป่วยพูดคนเดียว มีกิริยาเหมือนเงี่ยหูฟังคนพูดที่ไม่มีตัวตน
7.ด้านการรับรู้ตนเอง
ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการรับรู้ตนเอง เช่น ผู้ป่วยคิดว่าตนเองมีพละกำลังมาก มีความสามารถสูงหรือบางคนหมกมุ่นอยู่กับอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายในด้านself-concept มักเป็นการมองภาพตนเองในด้านไม่ดี ไม่มีตัวตน
8. ด้านบทบาทและสัมพันธภาพ
ความสามารถในการเข้าสังคมของผู้ป่วยบกพร่อง การใช้คำพูดหรือภารใช้กาษาในการติดต่อสื่อสารเป็นลักษณะไม่พัฒนา หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม มีความบกพร่องในการปฏิบัติตนตามบทบาท เช่น ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ตามกติกาของสังคม
พระราชบัญญัติ สุขภาพจิต 2551
มาตรา 23 ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันนาเชื่อวาบุคคลนั้นมีลักษณะผิดปกติทางจิต หรือ มีภาวะอันตราย ให้แจ้งเจ้าหน้า/ตำรวจ ทันที
ผู้ป่วยจิตเภทมีสิทธิ์ได้รับการบำบัด รักษา คุ้มครองตามความยินยอมของผู้ป่วย
มาตรา 21 ในกรณีที่ผูป่วยมีอายุไมถึง 18 ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้ปกครองดูแลบุคคลนั้น เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
การรักษา
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วยก่อนทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
2.การปฏิบัติตัวหลังการรักษา หากมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น
2 ชั่วโมงหากอาการไม่ดีขึ้นสามารถทานยาบรรเทาปวดได้
ปวดศีรษะ ให้ประคบเย็นแล้วนอนพัก 30 นาที
หากปวดเมื่อยจากการเกร็งกล้ามเนื้อ ให้ประคบร้อนหรือประคบเย็น หรือนวดเบาๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
หากมีภาวะหลงลืม ให้ญาติช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วย ความทรงจำจะค่อยๆ ฟื้นตัวภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ - 6 เดือน
1.การเตรียมตัวก่อนทำการรักษาล่วงหน้า 1 วัน โดย
ทำความสะอาดร่างกาย สระผม ตัดเล็บให้สั้น ไม่ทาเล็บมือ-เล็บเท้า
หากมีภาวะความดัน โลหิตสูง จิตแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความดันในเวลา 06.00 น. และดื่มน้ำได้ไม่เกิน 30-60 ซีซี
ปัสสาวะก่อนทำการรักษา
งดน้ำ งดอาหารหลังเที่ยงคืนจนเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา
ในขณะเข้ารับการรักษาด้วยไฟฟ้าให้สวมเสื้อผ้าสะอาด ผมแห้ง ไม่ทาแป้งบริเวณใบหน้า ไม่สวมเครื่องประดับใด ๆ
ถอดฟันปลอม หากมีปัญหาฟันผุ ฟันโยกต้องแจ้งพยาบาลก่อนเสมอ
นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะพักฟื้นที่ทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
1.ประเมินภาวะแทรกซ้อนและให้การดูแลระยะพักฟื้น โดย
ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวาน/โอวัลติน
สังเกตอาการข้างเคียงหลังการรักษาด้วยไฟฟ้า เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง คลื่นไส้อาเจียน
ประเมินความพร้อมในการกลับหอผู้ป่วย/กลับบ้าน
วัดสัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม
ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนประมาณ 30 นาที หรืออาจจะมากกว่า 30 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพอาการของผู้ป่วย แต่ละคน
2.ส่งต่อข้อมูลแก่พยาบาลประจำหอ เรื่องการดูแลผู้ป่วยหลังการ
รักษาด้วยไฟฟ้า พร้อมนำส่งผู้ป่วยกลับหอ
การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระหว่างทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
สอบถามผู้ป่วยถึงการงดอาหารและน้ำ
ตรวจความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจน ในกระแส เลือด และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ก่อนทำ M.ECT
จัดท่าผู้ป่วย (Jaw thrust หรือ Head tilt-chin lift) และให้ออกซิเจนก่อนด้วย self inflating bag with mask เปิดออกซิเจนประมาณ 10 ลิตร/นาที
ภายหลังให้ยาหยอนกล้ามเนื้อ รอให้ยาออกฤทธิ์ประมาณ 1 นาที สังเกต การกระตุกของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณแขนขา หรือรอบๆ กระบอกตา
ใส่อุปกรณ์ป้องกันช่องปากและฟัน เช่น แผนยาง, mouth guard หรือ oral airway ตามความเหมาะสม เพื่อเปิดทางเดินหายใจ และป้องกันหรือลดแรงกด ขณะผู้ป่วยชักเกร็งกระตุก
ตรวจสภาพช่องปาก / ฟันว่ามีฟันปลอมหรือได้ถอดฟันปลอมหรือไม่ ถ้าปาก แห้งให้ทา vasaline jelly
ระหว่างนี้ผู้ป่วยจะหยุดหายใจ ต้องช่วยหายใจด้วย self inflating bag ที่มี ออกซิเจน 10 ลิตร และมีจังหวะการบีบไม่น้อย 10 – 15 ครั้ง/นาที
วางขั้วไฟฟ้า (electrode) ที่ทำ electric jelly บริเวณขมับ ทั้ง 2 ข้างของ ผู้ป่วยพร้อมต่อสายไฟจากเครื่อง ECT เข้ากับปุ่ม electrode
6.ประเมินอาการผู้ป่วยตลอดระยะเวลาทำการรักษาด้วยไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
ก่อนให้แพทย์กดกระแสไฟฟ้า พยาบาลและวิสัญญีพยาบาลช่วยกันตรวจสอบ อุปกรณ์ในช่องปากอีกครั้ง
ในขณะที่ผู้ป่วยเกร็งกระตุก เจ้าหน้าที่ ช่วยประคองบริเวณหัวไหล่ ข้อมือ สะโพก หัวเข่า เป็นแบบประคับประคอง โดยใช้อุ้งมือจับ หรือใช้ผ้าห่มพันตัวผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดแรงกระแทกที่รุนแรง
มีการจับระยะเวลาในการชักของผู้ป่วย และมีการบันทึก
หลังจากผู้ป่วยหยุดชัก ดึงอุปกรณ์ในช่องปากออกพร้อมตรวจดูช่องปาก ว่ามี อุบัติเหตุกับช่องปากหรือไม่
หลังจากผู้ป่วยหยุดเกร็งกระตุก ให้วัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ และ ความอิ่มตัวของ O2 ทันที
ช่วยหายใจนานๆ ครั้ง จนกว่าผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง เปลี่ยนเป็น O2 mask bag 10 ml/min
ประเมินว่าผู้ป่วยตื่นรู้สึกตัว หายใจสม่ำเสมอ จึงย้ายเข้าห้องพักฟื้น (recovery room) เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า
มีคำสังการรักษาด้วยไฟฟ้าในใบคำสั่งแพทย์
มีบันทึกการตรวจร่างกายและการซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางกายของ แพทย์ผู้สังการรักษา
มีบันทึกการรักษาด้วยไฟฟ้าของแพทย์ (Request) กำหนดเหตุ ผลของการรักษาพร้อมทั้งลายเซ็นของแพทย์ผู้สังการรักษา
มีประวัติการแพ้ยาแพ้อาหาร ประวัติการผ่าตัดที่เคยได้รับยาระงับความรู้สึก ของผู้ป่วยและคนในครอบครัว
มีประวัติโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคปอด โรคทาง กระดูก เป็นต้น
มีผลการตรวจตรวจทางห้องปฏิบัติการตามข้อตกลง CBC, FBC, BUN,Cr, Electrolyte (ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ )
มีผลตรวจ CXR ภายใน 1 ปี และผล EKG ทุกครั้ง/คอร์ส ในผู้ป่วยทุกราย
เตรียมความพร้อมด้านจิตใจโดยการพูดคุยกบผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการรักษา ด้วยไฟฟ้า
ได้รับการยินยอมจากญาติเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
งดน้ำและอาหารก่อนส่งรักษา M.ECT อยางน้อย 6 ชั่วโมง
ตรวจวัดสัญญาณชีพพร้อมลงบันทึกก่อนส่งรักษา M.ECT ทุกครั้ง
ถอดฟันปลอมออก สำหรับผู้ป่วยที่มีฟันปลอม
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปากและฟัน ปัสสาวะให้เรียบร้อย ในตอนเช้าก่อนส่ง รักษา M.ECT
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานต้องเจาะ DTX ก่อนส่งทำการรักษาทุกครั้ง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมได้ ให้ทานยาลดความดัน โลหิตมาก่อนทำการักษาทุกครั้ง
การบำบัด
การบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม (Milieu Therapy)
การรักษาผู้ป่วยโดยใช้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ผู้ป่วย
บุคลากรทางจิตเวช
นักอาชีวบำบัด
จิตแพทย์
นักจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์
หอผู้ป่วย
การจัดสิ่งแวดล้อม
เงียบสงบร่มรื่น
คล้ายบ้าน
จัดตกแต่งอาคารเป็นสัดส่วน
บทบาทของพยาบาล
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมตามตารางกิจกรรม
ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึงและยุติธรรม
ดูแลให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ประชุมทีมงานเพื่อแก้ไขปัญหาและหาแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วย
นำกระบวนการพยาบาลมาโช้ในการปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผล
ในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย
ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วยและแบบแบบอย่างที่ดี
ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับบุคลากรในทีม
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยพึ่งพาดนเอง มีความรับผิดขอบ และมีส่วนร่วมตัดสินใจในการกระทำต่างๆ
ยอมรับในความเป็นบุคคลและเคารพ
มีทัศนคติที่ดีและปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยด้วยท่าทีอบอุ่น นุ่มนวล พูดจาสุภาพช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยความจริงใจและสม่ำเสมอ
การดูแลโดยครอบครัว
(family caregiving)
บทบาทของญาติในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ไม่แสดงความห่วงใย หรือคาดหวังผู้ป่วยจนเกินไป
ต้องพึ่งพาผู้อื่น
มีพฤติกรรมถอยเป็นเด็ก
ผู้ป่วยกลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่น
รับฟังความคิดเห็น
พยายามหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์ต่อผู้ป่วย
ไม่พูดข่มขู่ผู้ป่วยว่าจะจับไปขังหรือปล่อยทิ้งไว้ที่โรงพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง
การดูแลหรือช่วยเหลือสมาชิกที่เจ็บป่วยโดยไม่มีค่าตอบแทนจากสมาชิกครอบครัวคนอื่น หรือเพื่อนที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน
การรักษาด้วยยา
ผลกระทบจากการไม่ได้รับการรักษา
คนรอบข้าง
เกิดความเครียดสูง และวิตกกังวล
ผู้อื่นหวาดกลัว
เสี่ยงที่จะโดนทำร้าย
ต่อตนเอง
ถูกล้อเลียนจากคนในสังคม
ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมส่วนใหญ่
ไม่ยอมรับการรักษา
ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ยอมรับการรักษา
ผลข้างเคียงของยา
มีอาการผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์จากยา
ความเข้าใจเรื่องโรคและกระบวนการรักษา
เข้าใจว่าโรคนี้รักษาได้โดยไม่จำเป็นต้องกินยา
ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกินยาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตนเอง
ความเข้าใจเรื่องโรคและกระบวนการรักษาไม่ถูกต้อง
คิดว่าอาการหายดีแล้วไม่ต้องกินยาต่อเนื่อง
การดูแลผู้ป่วยของญาติผู้ดูแลผู้ป่วย
ญาติรู้สึกเป็นภาระมีความเครียดสูง
มีความเชื่อและเจตคติที่ไม่ดีต่อการกินยา
ไม่มีเความเอาใจใส่
ศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุขในชุมชน
เจ้าหน้าที่ในชุมชนมีศักยภาพไม่เพียงพอ
การดูแลต่อเนื่องในชุมชน
ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องการ การดูแลจากเจ้าหน้าทีในชุมชน
ขาดการประสานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
รู้สึกไม่คุ้นเคย ไม่มั่นใจ
ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่
การให้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล
การเตรียมความพร้อมญาติก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลไม่เพียงพอ
ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรงไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs.
ผลข้างเคียง
ชาตามแขนและขา
เจ็บหน้าอก
หัวใจเต้นผิดปกติ เต้นเร็วหรือเต้นช้าลง
มีความรู้สึกสับสน ความรู้สึกตัวลดลง
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า คอ และหลังชักกระตุก
กลุ่ม Phenothiazine
ใช้รักษาความผิดปกติของจิตใจ
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs. prn
ผลข้างเคียง
ชีพจรเต้นเร็ว
ระคายเคืองทางเดินอาหาร
ใจสั่น
สับสน มึนงง
เสียความจำข้างหน้า
กล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ประสานกัน
ง่วงซึม
กลุ่ม Benzodiazepine
ขัดขวางการทำงานของสารเคมีที่เป็น
สารสื่อประสาทที่เรียกว่า GABA
พยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานยา
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุยและระบายความรู้สึก
เยี่ยมสม่ำเสมอ และให้กล่าวชื่นชม
สร้างสัมพันธภาพ
ให้ผู้ป่วยไว้วางใจ
ให้การเสริมแรงทางบวก
จัดให้ผู้ป่วยสนทนาเกี่ยวกับ
ความเข้าใจเรื่องโรคและการรักษา
ตระหนักถึงผลเสียมากขึ้น
สังเกตผลของการรับประทานยา