Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เต้านมอักเสบ(Mastitis) และเต้านมเป็นฝี (Breast abscess) - Coggle Diagram
เต้านมอักเสบ(Mastitis) และเต้านมเป็นฝี (Breast abscess)
อาการแสดง
เต้านมมีแดงกดเจ็บแข็งร้อนกว่าปรกติ
มีอาการแสดงทางร่างกาย
ไข้ (>38.4o ซ)
ไม่สบายตัว
คลื่นไส้อาเจียน (อาจมี)
การรักษา
การนวดคลึงเต้านม (local massage)
การประคบด้วย moist heat (ลดการคัดความปวด)
ยาต้านจุลชีพเริ่มเร็วที่สุดระยะเวลาของการรักษา 10-14 วัน
Cloxacillin/Dicloxacillin 500 Mg ทุก 6 ชม.
Amoxycillin-Clavulanic acid 375 มก. วันละ 3 มื้อถ้ารุนแรงให้ 625 มก. วันละ 3
ให้นมบุตรได้ตามปกติ แต่มักจะมีปัญหาลูกไม่ค่อยดูดนมข้างที่มีการอักเสบ เนื่องจากเต้านมจะคัดและแข็งทำให้ดูดยากกว่าปกติ ควรประคบอุ่นบริเวณเต้านมก่อนให้นม และแนะน้าให้ดูดข้างที่ปกติก่อน เมื่อน้านมไหลดีแล้ว จึงค่อยให้ดูดนมข้างที่อักเสบ หาก น้านมยังค้างอยู่ให้บีบออกจนเกลียงเต้า
ในประเทศที่ทรัพยากรขาดแคลน หญิงที่มีการติดเชือ HIV สามารถให้นมบุตรได้ ในกรณีที่มีการอักเสบของเต้านม ให้งดการให้นมจนกว่าจะหาย เนื่องจากระดับของ HIV RNA จะเพิ่มสูงขึนจากปกติ
ยาระงับปวดได้แก่ paracetamol 500 มก, Ibuprofen 400 มก.ทุก 6 ชม.
เป็นการอักเสบของต่อมน้านม ส่วนใหญ่จะพบในช่วง 3-4 สัปดาห์หลังคลอด มักจะเป็นข้างเดียว และบางต้าเแหน่ง เต้านมจะแดงและแข็งมากขึน มีอาการ ปวดบริเวณที่อักเสบ อาจจะมีไข้สูง หนาวสั่นร่วมด้วยประมาณ 10% ของ ภาวะเต้านมอักเสบจะกลายเป็นฝีบริเวณเต้านมตามมาได้
สาเหตุ
เต้านมอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทางเข้าของจุลินทรีย์
เข้าทางท่อนำน้ำนมสู่กลีบสร้างน้ำนม
เข้าทางแผลแตกที่หัวนมแล้วเข้าสู่ท่อน้ำเหลือง
เข้าทางกระแสเลือด
จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุ
Staphylococcus aureus
Escherichia coli (Amoxycillin/Clavulanate)
Streptococcus (พบได้น้อยมาก)
เต้านมเป็นฝี(Breast abscess)
เป็นภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบ มักเกิดในสัปดาห์ที่ 2-3 หลังคลอด ในคุณแม่ที่ให้นมลูกเกิดจากท่อน้ำนมอุดตัน หรือนมคัดตึงแล้วไม่ได้รับการระบาย จนน้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมเป็นเวลานานเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่เต้านมทางหัวนมและลานหัวนมที่แตกจึงเกิดการอักเสบติดเชื้อหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจะกลายเป็นฝีหนองตามมา
อาการแสดง
เต้านมอักเสบและคลำได้ก้อนที่กดเจ็บมากแม้คลำเบาๆผิวหนังเหนือก้อนที่คลำได้อาจแดงหรือไม่แดงต้องคิดถึงภาวะนี้เมื่อ
ภาวะเต้านมอักเสบที่ให้ยาต้านจุลชีพช้ากว่า 24 ชั่วโมงภายหลังมีอาการหรือ
ให้ยาต้านจุลชีพนาน 1-2 วันแล้วอาการไข้และเจ็บปวดไม่ทุเลา
การวินิจฉัย
ยืนยันการวินิจฉัยโดยการเจาะได้หนองอาจตรวจเต้าด้วยคลื่นความถี่สูง( Ultrasound )
การรักษา
Needle Aspiration เจาะหลายๆครัั้งหรือใส่หลอดสวน (Catheter) ระบายหนองโดยการอัลตร้าซาวด์ดูตำแหน่ง
การกรีดระบายหนอง (Incision and Drainage) ก็ได้หลังจากกรีดควรใส่ผ้าก๊อซไว้หลวมๆในโพรงหนอง ทำแผลทุกวันแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นผ้าก๊อซเล็กลงเรื่อยๆ
การกรีดระบายหนอง(Incision and Drainage) ผ่าตัดให้ลงมีดตามแนวรัศมีของเต้านมอย่าลงตามขวางเพราะจะตัดท่อน้ำนมอย่ากรีดที่รอยต่อระหว่างเต้านมกับลานหัวนมเพราะจะตัดท่อน้ำนมจำนวนมากและขัดขวางการให้ลูกดูดนม
ให้ยาต้านจุลชีพ Amoxycillin/Clavulanate 625 มก.วันละ 3 มื้อClindamycin 300 มก.วันละ 2-4 มื้อ
สามารถให้นมบุตรได้ยกเว้นมีอาการปวดมากหรือตำแหน่งแผลรบกวนการดูดนมของลูก ควรบีบออกมาแทน