Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ - Coggle Diagram
กระบวนการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
กระบวนการโฆษณา
กระบวนการโฆษณาแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
การกำหนดกลยุทธ์การโฆษณา
การดำเนินงานตามแผน
การประเมินผลการโฆษณา
การกำหนดกลยุทธ์การโฆษณา
1) การกำหนดวัตถุประสงค์การโฆษณา
2) การระบุกลุ่มเป้าหมายทางการโฆษณา
3) การกำหนดกลยุทธ์แผนงานสร้างสรรค์
4) การกำหนดกลยุทธ์สื่อโฆษณา
5) การกำหนดงบประมาณ
การดำเนินงานตามแผน
การสร้างสรรค์
งานโฆษณา
เป็นการนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของงานโฆษณาเข้าไว้ด้วยกัน
การผลิตชิ้นงานโฆษณา
เป็นขั้นตอนของการนำเอาภาพร่าง ผังโฆษณา สตอรี่บอร์ด บทโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง เข้าสู่กระบวนการผลิตชิ้นงานโฆษณาให้เสร็จสมบูรณ์
การเผยแพร่
งานโฆษณา
เมื่อการผลิตชิ้นงานโฆษณาเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว บริษัทตัวแทนโฆษณาจะต้องดำเนินการนำชิ้นงานโฆษณาไปเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ
การสร้างสรรค์
งานโฆษณา
พาดหัวหลัก (Headline)
เป็นคำหรือข้อความที่โดดเด่นที่สุด จะอยู่ส่วนบนหรือส่วนล่างของชิ้นงานโฆษณาก็ได้
พาดหัวรอง (Subhead)
ประกอบด้วยคำเพียง 2-3 คำหรือประโยคขนาดสั้นที่บ่งบอกถึงข้อมูลของสินค้าที่ไม่ได้กล่าวถึงในพาดหัว
ข้อความโฆษณา (Body Copy)
เป็นหัวใจสำคัญของสารโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์เนื่องจากเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า
องค์ประกอบที่สามารถมองเห็นได้ (Visual Element) และการจัดวางผังโฆษณา (Layout)
ได้แก่ ภาพ การออกแบบ และการจัดวางองค์ประกอบให้น่าสนใจ
แนวทางการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาที่มีประสิทธิภาพ
การเปิดเรื่องโดยดึงดูดความสนใจและตรงประเด็น
การเล่าเรื่องด้วยภาพ
ผสมผสานองค์ประกอบด้านเสียงให้เข้ากับองค์ประกอบด้านภาพอย่างกลมกลืน
การสร้างเรื่องราวที่ให้ความบันเทิง
การนำเสนอภาพสินค้าให้มีความโดดเด่น
การประเมินผลการโฆษณา
ความสำคัญของการประเมินผล
หลีกเลี่ยงความผิดพลาดด้านต้นทุน
ประเมินทางเลือกสำหรับกลยุทธ์การโฆษณา
เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การโฆษณา
แผนงานโฆษณาบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
เหตุผลที่ไม่ได้ทำการประเมินผลการโฆษณา
ใช้ต้นทุนสูง
ปัญหาด้านการวิจัย
ความไม่ชัดเจนของสิ่งที่จะวัดประเมิน
การประเมินความคิดสร้างสรรค์ทำได้ยาก
ระยะเวลาที่จำกัด
การประเมินผลการโฆษณาสามารถทำได้ 3 ระยะ ได้แก่
การประเมินก่อนการผลิตชิ้นงานโฆษณา
เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาแผนงานโฆษณาต่าง ได้แก่ การประเมินกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
การประเมินในช่วงที่กำลังดำเนินการตามแผนงานโฆษณา
ได้แก่ การสุ่มสำรวจ การทดสอบทัศนคติ และการติดตามพฤติกรรม
การประเมินผลหลังการเผยแพร่งานโฆษณา
เป็นการประเมินว่างานโฆษณาที่เผยแพร่ไปนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานโฆษณาที่ตั้งไว้หรือไม่
กระบวนการประชาสัมพันธ์
กระบวนการประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
การระบุปัญหา
เป็นการหาข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ว่าองค์กรกำลังเผชิญปัญหาอะไรบ้าง
การวางแผนงานประชาสัมพันธ์
เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างมีระบบ
การปฏิบัติและการสื่อสาร
เป็นการนำแผนงานประชาสัมพันธ์ที่กำหนดไปปฏิบัติ
การประเมินผล
ทำให้ทราบถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ
ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการประชาสัมพันธ์
1) ข้อมูลทั่วไป
2) ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
3) ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
การวิจัยทางการประชาสัมพันธ์
เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร
เพื่อกำหนดและศึกษากลุ่มเป้าหมายทางการประชาสัมพันธ์กลุ่มต่าง ๆ
เพื่อกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับประชามติหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อทดสอบสาร
เพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารได้ทราบข้อมูลที่จำเป็นอยู่เสมอ
เพื่อป้องการการเกิดเหตุวิกฤต
เพื่อสอดส่องการดำเนินงานของคู่แข่ง
เพื่อโน้มน้าวประชามติ
เพื่อดึงดูดความสนใจของสาธารณชน
เพื่อวัดผลสำเร็จ
การวางแผนงานประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของแผนงานประชาสัมพันธ์
เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของแผนงานหรือโครงการ
ทำให้มีการตระเตรียมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ
เป็นการกำหนดขอบเขตการทำงาน
ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีทิศทาง
เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหาร
เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของฝ่ายบริหารเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการวางแผนงานประชาสัมพันธ์
การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์ (Management by Objective: MBO)
แบบจำลองการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning Model)
องค์ประกอบของแผนงาน
สถานการณ์ปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
ผู้รับสาร
ใจความสำคัญ
กลยุทธ์
กลวิธี
ตารางปฏิบัติงานหรือปฏิทินการดำเนินงาน
งบประมาณ
การประเมินผล
ลักษณะของแผนงานประชาสัมพันธ์ที่ดี
มีการตั้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่ควรกำหนดวัตถุประสงค์หลายข้อมากจนเกินไป
มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
กำหนดกิจกรรมให้ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ควรมาจากฐานคิดที่เป็นระบบระเบียบและเป็นเหตุเป็นผล
มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
มีการระบุระยะเวลาที่แน่นอนในการดำเนินงาน
มีการกำหนดงบประมาณที่เหมาะสม
ควรมาจากความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่าย
สามารถประเมินผลได้เพื่อวัดผลสำเร็จของแผน
การประเมินผล
ความสำคัญของการประเมินผล
ตรวจสอบผลของการประชาสัมพันธ์ว่าส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายในระดับใด อย่างไรบ้าง
ช่วยให้ได้ข้อมูลย้อนกลับทั้งอันจะเป็นข้อแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขแผน และเป็นข้อมูลพื้นฐานในครั้งต่อไป
ทำให้ทราบว่าแผนงานประชาสัมพันธ์มีปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติตามแผนหรือไม่
ช่วยในการตรวจสอบผลสำเร็จของแผนงานประชาสัมพันธ์ว่าบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่
ประเภทของการประเมินผล
การประเมินความก้าวหน้า
เป็นการประเมินผลในช่วงก่อนหรือระหว่างการปฏิบัติหรือการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลนำไปปรับปรุงแผนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การประเมินผลสรุปของงาน
เป็นการประเมินคุณค่าของแผนงานหรือโครงการทั้งหมดเมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
เทคนิคการประเมินผล
การประเมินระดับพื้นฐาน
เป็นการวัดผลผลิตขั้นต้น (Outputs) เช่น จำนวนสื่อที่ผลิตขึ้น จำนวนข่าวที่ได้รับการเผยแพร่ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
การประเมินระดับกลาง
เป็นการวัดผลผลิตขั้นกลาง (Outgrowth) มุ่งวัดการเปิดรับสาร การตระหนักรู้ ความเข้าใจ การจดจำสารของผู้รับสาร
การประเมินระดับสูง
เป็นการวัดผลลัพธ์ (Outcomes) เป็นการวัดความเปลี่ยนแปลงด้านความคิดเห็น ทัศนคติ และพฤติกรรม