Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นโยบาย กฎหมาย จริยธรรมที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
นโยบาย กฎหมาย จริยธรรมที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
นโยบาย
มีสุขภาพกายและจิตที่ดี
อยู่ในครอบครัวอย่างมีความสุข มีสังคมที่ดีและ
สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
พึ่งตนเองได้ มีประโยชน์
มีหลักประกันมั่นคง ได้รับสวัสดิการและบริการ
ที่เหมาะสม
มีความรู้และมีโอกาสได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรการทางสุขภาพ
เน้นบริการที่เข้าถึงตัวผู้สูงอายุในเชิงรุก การบริการระดับชุมชน และการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน แบบบูรณาการและสหสาขา โดยชุมชนมีส่วนร่วม
ความเคลื่อนไหวของนโยบาย กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทย
พ.ศ. 2525 จัดตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ จัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2525 – 2544) กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน “ผู้สูงอายุแห่งชาติ”
พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ม. 54 และ 80
พ.ศ. 2541 มีการรับรอง ปฏิญญามาเก๊า
พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี พ.ศ.2542 เป็นปีผู้สูงอายุสากล
พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564)
พ.ศ. 2546 จัดทำ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2550 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตราที่เกี่ยวข้อง 53 และ 80
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย
ข้อที่ 1 ผู้สูงอายุต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และศักดิ์ศรี
ข้อที่ 2ผู้สูงอายุควรอยู่กับครอบครัว โดยได้รับความเคารพรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร การดูแลเอาใจใส่
ข้อที่ 3ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
ข้อที่ 4 ผู้สูงอายุควรได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้สังคม
ข้อที่ 5 ผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ต้องมีหลักประกันและสามารถเข้าถึงหลักประกันและสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างคบวงจรโดยเท่าเทียมกัน
ข้อที่ 6ผู้สูงอายุควรได้รับบทบาท และส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ชุมชน และสังคม
ข้อที่ 7รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์การภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคม ต้องกำหนดนโยบายและแผนหลักด้านผู้สูงอายุ ส่งเสริมประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
ข้อที่ 8รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาน สถาบันสังคม ต้องตรากฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ เพื่อเป็นหลักประกันและการบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ คุ้มครองสวัสดิภาพและจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ
ข้อที่ 9 รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาน สถาบันสังคม ต้องรณรงค์ปลูกฝังค่านิยม ให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมที่เน้นความกตัญญูกตเวทีและความเอื้ออาทรต่อกัน
กฎหมายเกี่ยวกับผู้สูงอายุไทย
รัฐธรรมนูญ 2550
มาตรา 53
มาตรา 80
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 54 ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุให้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุและผู้เลี้ยงดูผู้สูงอายุ
มาตรา 11 และ 17
การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็ว
การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร
การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะ
การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรม
การให้คำแนะนำ ปรึกษา
การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่ม
การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี
ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษี
กฎหมายเกี่ยวกับผู้สูงอายุไทย
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2497 บัญญัติให้หลักประกันและความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ
กฎหมายอาญา มาตรา 398 วางโทษสถานเบาแก่ผู้ทำทารุณคนชราและผู้สูงอายุ
พ.ร.บ 2542 มาตรา 8 วรรค 1 กำหนดหลักการในการจัดการศึกษาแก่ประชาชนตลอดทุกช่วงอายุ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)
วิสัยทัศน์ “ผู้สูงอายุเป็นหลักชัยของสังคม”
สุขภาพดีทั้งกายและจิต ครอบครัวอบอุ่น มีสังคมที่ดี มีหลักประกันที่มั่นคง ได้รับสวัสดิการและบริการที่เหมาะสม
ผู้สูงอายุที่ทุกข์ยากได้รับการเกื้อกูล
ครอบครัวและชุมชนเป็นสถาบันหลักในการเกื้อหนุนผู้สูงอายุ
ระบบสวัสดิการสามารถรองรับผู้สูงอายุให้ดำรงอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ
รัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการ
ยุทธศาสตร์ของแผนผู้สูงอายุฉบับที่ 2
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ ระดับชาติ และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ด้านการประมวล และพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และการติดตามประเมินผล การดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
จริยธรรมทางการพยาบาลผู้สูงอายุ
หมายถึง ความประพฤติที่ชอบที่ปรารถนา ของผู้พบเห็น
ปัญหาจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้สูงอายุ
พินัยกรรม
พินัยกรรมชีวิต
การพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
Euthanasia
Active Euthanasia
Passive Euthanasia
การทำทารุณกรรมในผู้สูงอายุ
องค์ประกอบทางจริยธรรมในการพยาบาลผู้สูงอายุ
ให้ความเคารพยกย่อง คำนึงถึงคุณค่าของความสูงอายุ
ยอมรับความสูงอายุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวงจรชีวิตมนุษย์
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ คงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและดูแลตนเอง
ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลัก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และให้ความเท่าเทียม
ศึกษาหาความรู้ และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ
รัก ศรัทธา เห็นคุณค่าของวิชาชีพ