Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (Premature Rupture of Membranes :…
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
(Premature Rupture of Membranes : PROM)
ความหมาย
ภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ (Premature Rupture of Membranes: PROM) หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ พบได้ทั้งในอายุครรภ์ครบกำหนด คือ ถุงน้ำคร่ำแตกเมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (term
PROM) หรือในครรภ์ก่อนกำหนดคือ อายุครรภ์ <37 สัปดาห์ (preterm PROM: PPROM)
Prolonged PROM หมายถึง ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกที่มีระยะเวลาตั้งแต่ถุงน้ำคร่ำแตกจนถึงเริ่มเจ็บครรภ์คลอดนานเกิน 24 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันพิจารณาจากระยะเวลาที่ถุงน้ำคร่ำแตกนานกว่า 18-24 ชั่วโมงโดยมีหรือไม่มีอาการเจ็บครรภ์ก็ได้
สาเหตุ
มีการอักเสบติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด เช่น Group B Streptococcus, Bacterial Vaginosis
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
ขาด vit. c ทำให้ถุงน้ำคร่ำไม่แข็งแรง
การตั้งครรภ์แฝด
การทำหัตถการบางอย่าง เช่น การเจาะถุงน้ำคร่ำ
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด (abruption placenta)
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง ที่ส่วนนำปิดส่วนล่างของเชิงกรานไม่สนิทดี แรงดันในโพรงมดลูกจะดันมาที่ถุงน้ำคร่ำโดยตรง ให้ถุงน้ำคร่ำแตกได้ง่าย
ปัจจัยส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ เศรษฐานะต่ำ ภาวะทุพโภชนาการ เป็นโรคของเยื่อเกี่ยวพัน (SLE) ได้รับยาสเตอร์รอยด์เป็นเวลานาน
เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนหรือมีประวัติ PROM ในครรภ์ก่อนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดซ้ำได้สูง
อาการและอาการแสดง
สตรีตั้งครรภ์แเต่ละบุคคลอาจมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปโดยอาจจะมีอาการและอาการแสดง ดังนี้คือ
เจ็บครรภ์ถี่ขึ้น มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างสม่ำเสมอจนทำให้ปากมดลูกมีการบางตัวและเปิดขยายตัว ปวดหลังหรือปวดเอว ปวดหน่วงท้อง ปวดหน่วงลงช่องคลอดหรืออาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย มีน้ำไหลออกทางช่องคลอด เช่น มูก มูกเลือด น้ำเดิน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติในด้านข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อาชีพ ลักษณะการทำงาน (การทำงานโดยส่วนใหญ่ของสตรี ตั้งครรภ์นั่ง ยืน หรือเดิน)
โรคประจำตัว การใช้ยาหรือสารเสพติด การสูบบุหรี่ของสตรีตั้งครรภ์และ สมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว
การตรวจร่างกาย
ใส่ dry sterilized speculum เข้าไปในช่องคลอด จะเห็นน้ำขังอยู่ที่ posterior fornix หรือไหลออกมาจากปากมดลูกชัดเจน(Cough test)
การตรวจพิเศษ
Nitrazine Paper Test : เป็นการทดสอบความเป็นกรดด่างของน้ำคร่ำเนื่องจากน้ำคร่ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.0-7.5 ส่วนสารคัดหลั่งอื่นในช่องคลอดจะมีค่า pH อยู่ที่ 4.5-6.0 เมื่อนำน้ำคร่ำมาทดสอบ จะทำให้กระดาษทดสอบมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินหรือกรมท่า
Nile Blue Sulfate Test : เป็นการตรวจเซลล์ไขมันของทารกเมื่อทารกอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ จะสามารถตรวจพบเซลล์จากต่อมไขมันของทารกที่ปนออกมากับน้ำคร่ำได้ เซลล์เหล่านี้จะติดสีแสด
Fern test เป็นการทดสอบน้ำคร่ำที่ได้โดยนำน้ำคร่ำที่พบในช่องคลอดหรือบริเวณ posterior fornix ป้ายบนสไลด์ส่องด้วยกล้องจะพบผลึกเป็นรูปใบเฟิร์น
Cough test : ใส่ dry sterilized speculum เข้าไปในช่องคลอด ให้ผู้ป่วยเบ่งหรือไอจะเห็นน้ำขังอยู่ที่ posterior fornix หรือไหลออกมาจากปากมดลูกชัดเจน
ภาวะแทรกซ้อน
มารดา
รกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption)
มีอัตราการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น
สายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือย้อย (Cord prolapsed)
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
การคลอดก่อนกำหนด (preterm labor)
ภาวะสายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
ทารก
อัตราการเสียชีวิตของทารกหลังคลอดสูงขึ้น (neonatal death) โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 25 สัปดาห์
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การติดเชื้อของทารกในครรภ์ จากถุงน้ำคร่ำแตกเป็นเวลานาน
เกิดภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory Distress Syndrome : RDS) ถ้าทารกคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
ภาวะขาดออกซิเจน (Fetal distress)
การดูแลรักษา
ทดสอบการเจริญของปอดทารก
หาอายุครรภ์ที่แน่นอนเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยวางแผนการรักษา
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ฟังเสียงหัวใจเด็กทุก 2 ชั่วโมง เพื่อดูการติดเชื้อ
นอนพักบนเตียง ใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตลักษณะ จำนวนของน้ำคร่ำ
หลีกเลี่ยง PV PR เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าโพรงมดถูกง่ายขึ้น
รับไว้ในโรงพยาบาล
การตัดสินใจว่าจะให้ผู้ป่วยคลอดเมื่อใด จะพิจารณาตามอายุครรภ์ ในปี 2007 สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ได้ให้คำแนะนำดังนี้
กลุ่มอายุครรภ์ 32 - 33 สัปดาห์ หากนำน้ำคร่ำที่ได้จากช่องคลอดหรือจากการทำ amniocenthesis ไปทดสอบความเจริญของปอดแล้วพบว่าปอดของทารกเจริญดีแล้ว ให้พิจารณาชักนำให้คลอด
กลุ่มอายุครรภ์ 24 - 31 สัปดาห์ ควรให้การรักษาแบบประคับประคอง (expectant managerent) เป็นหลักโดยพยายามยืดอายุครรภ์ให้ถึง 33 สัปดาห์ หากไม่มีข้อบ่งชี้ให้รีบคลอด เนื่องจากหากคลอดเลย จะเกิดภาวะแทรกช้อนจากการคลอดก่อนกำหนดของทารกค่อนข้างมาก
กลุ่มอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป แนะนำให้ชักนำให้คลอดเลย โดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องการติดเชื้อ
แบคที่เรีย Group B Streptococccus ด้วย
กลุ่มอายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ ถือว่าเป็นช่วงที่ทารกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถเลี้ยงให้รอดได้หากคลอดสามารถให้ทางเลือกได้ทั้งการยุติการตั้งครรภ์หรือการรักษาแบบประคับประคอง โดยให้ผู้ป่วยเลือกหลังจากที่ได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยอย่างดีแล้ว