Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8การประเมินสุขภาวะมารดาเเละทารกในระยะรอคลอดปกติ - Coggle Diagram
บทที่ 8การประเมินสุขภาวะมารดาเเละทารกในระยะรอคลอดปกติ
ระยะ Active phase
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่๑
ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาเล่าว่า " รู้สึกเจ็บครรภ์มาก ปวดร้าวลงมาบริเวณหน้าขาและก้นมาก อยากเบ่งถ่ายตลอดเวลา และเหมือนมีน้ําไหลออกจากช่องคลอด "
O : หน้านิ่วคิ้วขมวดเวลามดลูกหดรัดตัว
-ร้องให้คนมาช่วยนวดหลัง
-PV พบ mucous bloody show ประเมินระดับความเจ็บปวดได้ 4-8 คะแนน เมื่อมดลูกหดรัดตัวผู้ คลอดลูบหน้าท้อง Interval 2-4 นาที Duration 40-60 วินาที Severity +3 Cx.dilate 10 cms. Eff 100% Station +2 Membranes rupture clear ตรวจหน้าท้องพบกระเพาะปัสสาวะโป่งตึง
วัตถุประสงค์การพยาบาล
-เพื่อให้ความก้าวหน้าของการคลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วดำเนินไปตามปกติ
-ปากมดลูกขยาย๑.๕cm/hr-การหดรัดตัวมดลูกInterval= ๓-๔ นาที, Duration=๔๕-๖๐วินาที
การประเมินผล
-ผู้คลอดสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของเเพทย์ พยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
๑. ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดโดยการประเมินการหดรัดตัวทุก๓๐นาทีและตรวจภายใน ทุก ๒ ชั่วโมง
๒. ประเมินเสียงหัวใจทารกทุก ๓๐ นาที
๓. ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างโดยกระตุ้นปัสสาวะทุก ๒-๓ ชั่วโมง
๔. ดูแลเกี่ยวกับความสุขสบายทั่วไป ดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การทําความสะอาดร่างกายเช็ดหน้าเช็ดตัว บ้วนปาก ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
๕ จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ อุณหภูมิพอเหมาะและมีการถ่ายเทอากาศที่ดี
๖. ประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้คลอดด้วยการพูดปลอบโยน เปิดโอกาสให้ซักถาม พูดคุยให้กําลังใจ
๗. ลงบันทึก Partograp
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ ๒. ไม่สุขสบายจากเจ็บครรภ์คลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวถี่นานและรุนแรงขึ้นในระยะ Active phase
ข้อมูลสนับสนุน
S: -บอกว่าเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น เหงื่อออกเต็ม ใบหน้า บิดตัวไปมา -บอกว่ารู้สึกเจ็บครรภ์มากอยากเบ่งถ่ายตลอดเวลา และเหมือนมีน้ำไหลออกจากช่องคลอด
O: -หน้านิ่วคิ้วขมวดเวลามดลูกหดรัดตัว
เมื่อมดลูกหดรัดตัวผู้คลอดลูบหน้าท้องและมีการหายใจแบบตื้น เบา เร็วตามคำแนะนำ - นอนพักผ่อนได้เมื่อมดลูกคลายตัว
-ร้องขอคนช่วยนวดหลัง- PV พบ mucous bloody show
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้คลอดสามารถเผชิญความเจ็บปวดในระยะ Active phase ได้
อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
ผู้คลอดสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ โดยการใช้เทคนิคการหายใจ และการผ่อนคลาย
-อาการกระสับกระส่ายน้อยลง ผู้คลอดเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนําได้
กิจกรรมการพยาบาล ๑.อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคลอด รวมทั้งแผนการรักษาและการพยาบาล เพื่อให้มีการรับรู้ที่ถูกต้อง เกิดความมั่นใจและเกิดความปลอดภัยในการคลอด
๒.ประเมินระดับความเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์คลอดโดยการซักถามสังเกตสีหน้าท่าทาง พฤติกรรม และ Pain scale ๓.สังเกตและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกตามระยะของการคลอด ใน Active phase ทุก ๓๐ นาที
๔.จัดท่านอนให้ผู้คลอดรู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อมากที่สุด โดยให้นอนตะแคง ใช้หมอนรองรับตามข้อต่างๆ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกได้มากขึ้น
๕.ส่งเสริมให้มีการผ่อนคลาย โดยใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การลูบหน้าท้อง นวดหลัง การควบคุมการหายใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ ๓ ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากการหดรัดตัวถี่และรุนแรง
ข้อมูลสนับสนุน S : - มารดาบอก “ ว่ารู้สึกเจ็บครรภ์มาก อยากเบ่งถ่ายตลอดเวลา และเหมือนมีน้ำไหลออกจาก ช่องคลอด ”
O : - การหดรัดตัวของมดลูก พบว่า Interval ๒ นาที และ Duration ๖๐ วินาที , Severity +๓/ - On Electronic fetal monitoring ผลเป็น CAT I / - PV Cervix dilated ๑๐ cm. , Effacement ๑๐๐ % , Membrane Rupture , Station +๒ / -ประเมินระดับความเจ็บปวด Pain Score = ๘ คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
๑. ประเมินฟังเสียงของหัวใจทารกในครรภ์ทุก ๓๐ นาที อัตราการเต้นของหัวใจทารกมากกว่า ๑๖๐ครั้ง/นาที หรือน้อยกว่า ๑๒๐ ครั้ง/นาที ถ้าพบความผิดปกติของการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ต้องดูแลมารดานอนตะแคงซ้าย , ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน Mask with bag ๑๐ Lit/min ,On Electronic Fetal Monitoring Contineous , รายงานแพทย์รับทราบ
๒. สังเกตการหดตัวของมดลูกทุก ๆ ๑๕ – ๓๐ นาที ปกติระยะนี้มดลูกจะหดรัดตัวนานประมาณ ๕๐ – ๖๐ วินาที ไม่เกิน ๙๐ วินาที และหดรัดตัวทุก ๆ ๒- ๓ นาที สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือการหดรัดตัวของ มดลูกชนิดไม่คลายจะทําให้เกิดภาวะFetalDistressได้ต้องรีบรายงานแพทย์
๓. ประเมินสภาพทารกในครรภ์โดยการทํา Electronic Fetal Monitoring
๔. จัดท่านอนตะแคงซ้ายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงมดลูกและนําออกซิเจนไปสู่ทารก
๕. สังเกตลักษณะสีของน้ำคร่ำว่าเหนียวข้นมากขึ้นหรือสีเขียวผิดปกติหรือไม่
วัตถุประสงค์- เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เกณฑ์การประเมิน ๑. อัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ในช่วง ๑๒๐-๑๖๐ ครั้ง/นาที ๒. ทารกมีการดิ้นปกติ คือดิ้นมากกว่า ๓ ครั้งใน ๑ ชั่วโมง และการดิ้นสม่ำเสมอ
ระยะ Latent phase
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่๒ ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดในระยะ Latent
ข้อมูลสนับสนุน
S: -ซักถามเรื่องการคลอด
O: -เมื่อมดลูกคลายตัวใช้มือลูบหน้าท้อง พูดคุยกับบุตรในครรภ์
-ใช้มือพยุงท้องขณะพลิกตะแคงตัวบนเตียง
-เมื่อมดลูกหดรัดตัวลูบหน้าท้อง -นอนพักผ่อนในท่านอนตะแคงได้เมื่อ มดลูกคลายตัว- เวลา ๐๖.๐๐ น. Cx. Dilate ๒ cms effacement ๕๐% MI Station 0 FHS ๑๔๘ bpm. Interval ๗’ Duration ๓๐” Severity ๑+
วัตถุประสงค์ - เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดในระยะ Latent เกณฑ์การประเมิน ๑.การบันทึก partograph ไม่เลยเส้นalert line
๒.ใช้เวลา ๘-๑๒ ชั่วโมง เฉลี่ย ๘ ชั่วโมงแต่ไม่ควรเกิน ๒๐ ชม.
๓.ปากมดลูกเปิดขยาย ๐.๓ ซม./ชม.๔.การหดรัดตัวของมดลูก Interval = ๕-๑๐ นาที, Duration = ๓๐-๔๕ วินาที ความรุนแรง +๑ +๒
กิจกรรมการพยาบาล
๑. บอกมารดาให้ทราบเกี่ยววกับความก้าวหน้าของการคลอดระยะนี้ และอธิบายให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมการพยาบาลที่ปฏิบัติจ่อมารดา เช่น การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก การฟังเสียงหัวใจทารก
๒. ติดตามบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกในระยะ Latent phase ทุก ๑ ชั่วโมง
๓. ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดจากการตรวจภายในในระยะ Latent phase ทุก ๒ ชั่วโมง
๔. ดูแลให้ผู้คลอดพักผ่อนเพื่อป้องกันช่วยลดอาการเหนื่อยล้า
๕. แนะนําให้ผู้คลอดปรับเปลี่ยนท่า ที่ทําให้ทารกเคลื่อนต่ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกได้ง่าย
๖. ดูแลในการขับถ่ายปัสสาวะเพื่อไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม
๗. ดูแลทางด้านโภชนาการ เพื่อให้ได้รับสารน้ำ และสารอาหารที่เพียงพอเป็นการป้องกันการเกิดอาการอ่อนล้าของผู้คลอด ช่วยในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอีกด้วยในช่วงปากมดลูกเปิดเร็ว
๘. ดูแลทางด้านจิตใจ ในกรณีที่ผู้คลอดที่กลัวมาก ๆ หรือมีความเหนื่อยล้า พยาบาลควรจะเปิดโอกาสให้ผู้คลอด ได้ซักถามหรือระบายความรู้สึก ในช่วงต้น (latent phase) ผู้คลอดยังเจ็บครรภ์ไม่มากมักสนใจซักถามและรับฟังสิ่งต่างๆ ได้ดีจึงควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการคลอด ความก้าวหน้าของการคลอด แผนการดูแล ตลอดจนคําแนะนําในการปฏิบัติตัวโดยเฉพาะวิธีการลดอาการเจ็บครรภ์
๙. ลงบันทึกความก้าวหน้าของการคลอดโดยใช้ Partograph หากพบความผิดปกติควรรายงานแพทย์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่๑เสี่ยงต่อภาวะ Fetal distress จากการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่และรุนแรงขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
S:Pt บอกว่าปวดบริเวณบั้นเอวและมดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้นทุก 10 นาที ร่วมกับมีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
O : ผู้คลอดลูบหน้าท้องเมื่อมดลูกหดรัดตัว ประเมินระดับความเจ็บปวดได้ 3-4คะแนน Interval 6-7 นาที Duration 30 วินาที Severity + Cx.dilate 2 cms. Eff 50% Station 0 Membranes intact
วัตถุประสงค์ - เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน (Fetal distress)
เกณฑ์การประเมิน
๑. อัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ในช่วง ๑๒๐-๑๖๐ ครั้ง/นาที
๒. ทารกมีการดิ้นปกติ คือดิ้นมากกว่า ๓ ครั้งใน ๑ ชั่วโมง และการดิ้นสม่ำเสมอ ๓. ไม่มี meconium stain ปนออกมากับน้ำคร่ำ
กิจกรรมการพยาบาล ๑. ประเมินและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารก ใน Latent phase ทุก ๑ ชั่วโมง และเมื่อถุงนํา้แตก โดย FHS อยูในช่วง ๑๒๐ – ๑๖๐ ครั้ง/นาที
๒. ติดตามบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกใน Latent phase ทุก ๑ ชั่วโมง เพื่อสังเกตการหดรัดตัวของ มดลูก เนื่องจากเมื่อมดลูกมีการหดรัดตัว เกิดการเกร็งของเส้นเลือด เลือดไปเลี้ยงรกและมดลูกน้อยลง
๓. แนะนําให้นอนตะแคงด้านซ้าย เพื่อไม่ให้มีการกดทับเส้นเลือด Inferior vena cava ทําให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
๔.สังเกตลักษณะของน้ำคร่ำ เมื่อถุงน้ำรั่วซึมหรือแตก
๕. รายงานเมื่อพบภาวะ Fetal distress