Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Postpartum blue, อ้างอิง, สภาวการณ์อารมณ์เศร้าของหญิงหลังคลอด,…
Postpartum blue
เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดกับมารดาภายหลังการคลอดบุตร โดยภาวะนี้จะมีอาการไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง ไม่ต้องใช้ยา ซึ่งการเกิดอาการนี้ไม่ได้แสดงว่ามารดามีปมขัดแย้งในใจ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว ไม่รบกวนความสามารถในการดูแลทารก
อาการ
มารดาจะมีความรู้สึกท้อแท้ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ อาจมีอารมณ์หงุดหงิด เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่ทาบสาเหตุ ความรู้สึกว่าความรักจากสามีและญาติได้เปลี่ยนไปจากตน คือ ทุกคนมุ่งทุ่มเทความรักความสนใจไปสู่ทารก ขณะเดียวกันก็รู้สึกผิดต่อความคิดรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความผิดปกติทางจิตเวชหลังคลอด
-
-
การพยาบาล
-
ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะคู่สมรสช่วยให้กำลังใจ ประคับประคองการช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้มารดามีเวลาพักผ่อน คลายความเครียด และสามารถปรับตัวได้
-
ให้กำลังใจเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการเป็นมารดา เพราะในระยะแรกของการปรับตัวของมารดาจะเกิดความสับสน วิตกกังวล ดังนั้นสิ่งใดที่มารดายังไม่เข้าใจ หรือทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทบทวนและเปิดโอกาสให้มารดได้ฝึกทำในวันต่อไป
-
จัดเวลาและสถานที่ให้เหมาะสมและเป็นส่วนตัว เพื่อให้บิดา มารดาและบุตรคนก่อนได้อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเพื่อสร่างความคุ้นเคย ก่อนที่จะนำทารกกลับบ้านและอธิบายให้สามีเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและความต้องการทางด้านจิตใจของมารดาได้อย่างเหมาะสม
ระยะเวลาการเกิด
จะเริ่มมีอาการในสัปดาห์แรกหลังคลอด และอาการจะพบได้ในระยะ 1 - 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ส่วนมากจะเกิดในช่วง 3 - 4 วันหลัง คลอด แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์
อ้างอิง
แก้วตะวัน ศิริลักขณานันท์. (2561). บทบาทพยาบาลกับการดูแลแบบองค์รวมในหญิงหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1).
คชารัตน์ ปรีชล . (2559. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 24 – 35.
ภูษิตา ครุฑติลกานันท์. (2563). เอกสารประกอบการสอนมารตาและผดุงครรภ์ 1. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.
-
-
-