Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกายAbdomen - Coggle Diagram
การตรวจร่างกายAbdomen
-
การตรวจระบบช่องท้อง ประกอบด้วยการดู การฟัง การเคาะ และคลำ ควรตรวจหน้าท้องทั้งสี่ส่วน บั้นเอวและขาหนีบ
การดู
ดูลักษณะทั่วไปของหน้าท้อง หากมีท้องอืดอาจบ่งบอกภาวะascites, lieu’s, bowel obstruction ,ลำไส้บิดขั้ว สังเกตก้อน เช่น ไส้เลื่อน ก้อนเนื้องอก เส้นเลือดโป่งพอง กระเพาะปัสสาวะโป่งตึง
ภาวะปกติ ท้องจะสมมาตรกันอาจพบแผลเป็นและลายที่หน้าท้องและ ในผู้ที่ผ่าตัดและเคยตั้งครรภ์ไม่พบหลอดเลือดดำขยายหรือโป่งพอง ไม่พบรอยจ้ำเลือดดำใดๆ บริเวณสะดือและขาหนีบไม่โป่งนูน
ภาวะผิดปกติ ท้องโตกว่าปกติ ไม่สมมาตรกันอาจเกิดจากลม น้ำในช่องท้องหรือมีก้อนในช่องท้องมีแผลอักเสบติดเชื้อ มีการขยายของหลอดเลือดดำชัดเจนมีการอักเสบของสะดือหรือบริเวณขาหนีบมีก้อนนูน
การฟัง
การฟังเสียงลำไส้ (bowel sound) หากเสียงลำไส้น้อยลงบ่งบอกภาวะ bowel lieus,mensenteric infarct or ischemia,ใชกลุ่มยาง่วงซึมหรือภาวะperitonitis เสียงลำไส้มักเพิ่มขึ้นใน small bowel
ภาวะปกติ จะได้ยินเสียงการเคลื่อนไหว(peristalsis)เป็นเสียง กร๊อก กร๊อก คล้ายเสียงเทนำ้ออกจากขวด ได้ยินทุก2-10วินาทีหรือได้ยินเสียงท้องร้อง
ภาวะผิดปกติ เสียงbowel soundจะดังและบ่อยมากหากลำไส้มีการอักเสบหรืออุดตัน และเสียงbowel soundจะหายไปเมื่อเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อาจพบbruitของหลอดเลือดแดงในช่องท้อง
การเคาะ
เคาะตรวจขนาดของตับในแนวกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้า (mid clavicular line) อาจตรวจได้ยากกรณีที่ bowel ileus หากตรวจพบ fluid wave บ่งบอกว่ามี ascites ในช่องท้อง การเคาะโปร่งในตำแหน่งเหนือตับบ่งบอกว่าอาจมีลมในช่องท้อง และหากเคาะโปร่งบ่งบอกว่ามีการขยายตัวของขดลำไส้
ภาวะปกติเคาะได้เสียงทึบของตับตามแนวmid Clavicular line ด้านขวาระหว่างintercostal spaceที่6ถึงใต้ชายโครงประมาณ1นิ้ว
ภาวะผิดปกติเคาะได้บริเวณตับผิดปกติพบในภาวะถุงลมปอดโป่งพองมากเคาะได้บริเวณตับโตกว่าปกติพบในผู้ที่มีพยาธิสภาพของตับ
การเคาะท้อง จะเคาะทั่วหน้าท้องเพื่อดูสภาพของช่องท้องและตำแหน่งที่เคาะเจ็บและสังเกตเสียงเคาะว่าโปร่งหรือทึบผิดปกติ
-
-
การคลำ
ควรคลำด้วยความสุภาพ นุ่มนวล แนะนำให้ใช้อุ้งนิ้วมือ 3 นิ้ว ได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง ควรเริ่มคลำจากตำแหน่งที่ผู้ป่วยไม่ปวดหรือปวดน้อย หากผู้ป่วยมีการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องต้านต่อมือของผู้ตรวจ ควรให้ผู้ป่วยชันเข่าทั้งสองข้างเพื่อลดปฏิกิริยาดังกล่าว และเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยด้วยการพูดคุย ให้ตรวจหา signs ของภาวะ peritonitis เช่น guarding, rigidity, rebound tenderness เป็นต้น
การตรวจสารน้ำในช่องท้อง
การตรวจแบบ fluid thrill ตรวจโดยให้ผู้รับบริการนอนหงาย พยาบาลใช้มือซ้ายวางบนหน้าท้องด้านขวาของผู้รับบริการ แล้วใช้มือขวาดีดหรือเคาะเบาๆที่บั้นเอวด้านซ้าย ถ้ามีน้ำในช่องท้อง พยาบาลจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่มือซ้าย อาจให้ผู้รับบริการใช้สันมือกั้นไว้กึ่งกลางหน้าท้อง เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนผ่านผนังหน้าท้อง
การตรวจแบบshifting dullness เริ่มเคาะจากสะดือลงไปที่เอวข้างซ้าย แล้วจึงเคาะจากสะดือไปที่เอวข้างขวาในท่าที่นอนหงาย
-