Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี - Coggle Diagram
บทที่ 11 กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี
ประวัติกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี(กรมเจ้าท่าเดิม)
กรุงสุโขทัย
กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมัยนั้นมิได้เรียกว่ากรมเจ้าท่า อย่างเช่นปัจจุบัน เรียก เจ้าภาษีบ้าง นายด่านบ้างและนายขนอมตลาดบ้าง ซึ่งทั้งหมดทำหน้าที่บังคับการเจาะสมอเรือค้าขายเก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร โดยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของกรมพระคลังส่วนคำว่า กรมท่า แต่เดิมคงหมายถึง เจ้าท่าตามระบบเก่า
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับชาติสเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศส เข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับการค้าขายกับต่างชาติอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าประสาททอง เป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง นอกจากผูกขาดซื้อขายสินค้าแล้ว พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การประวัติศาสตร์ คำว่า เจ้าท่า มีมาตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชกาลพระองค์ การค้าขายทางเรือกับต่างชาติปรากฏว่า รุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใดๆ ในยุคนั้น คำว่า เจ้าท่า สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซียซึ่งเรียกว่าเจ้าท่าว่า Shah Bardar
สมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งเจ้าท่าเพื่อดูแลตรวจตราบรรดาเรือแพ และเก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายหรือเรือที่เข้าออกประเทศไทย
กรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ ได้ว่าการกรมท่า และได้ทรงจัดตั้งคลังของประเทศให้มีรายได้มากยิ่งขึ้นกว่ากาลก่อน
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยเรือใหม่ 10 มาตรา เรืองฤทธิ์ 7 มาตรา แพ โพงพาง และของดอยน้ำ 3 มาตราทางบก 4 มาตรารวม 24 มาตรา มาตรากด มาตรากฎหมายดังกล่าวนิยมเรียก มาตรากฎหมายดังกล่าวนิยมเรียกว่ากฎ สมัยกัปตัน บูช เจ้าท่าตำแหน่งเจ้าท่าขึ้นอยู่ในกรมพระคลัง ต่อมาย้ายสังกัดอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า กรมท่า พ.ศ 2432 ย้ายไปอยู่ทรวงโยธาธิการ คลังพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ชราภาพ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ กัปตัน เอ.อาร์. วิล เป็นเจ้าท่าสืบแทน ต่อมา เมื่อกัปตันวิล ถึงแก่กรรม ในพศ. 2438 ได้ยุบตำแหน่งเจ้าถ้าลงเป็นตำแหน่งเวรท่ามีนาย โยเกนซัง ชาวเดนมาร์ก เป็นเวรท่า ทำหน้าที่ตรวจตราลำแม่น้ำ
สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการของกรมที่ตึกเจ้าสัวเส็งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างตลาดน้อย ตรงข้ามปากคลองสาน พ.ศ 2439 ส่งยกฐานะเวรท่าเป็น กรมเจ้าท่าและทรงแต่งตั้ง ม.ร.ว.พิณ สนิทวงศ์ เป็นเจ้ากรมเจ้าท่าพ.ศ 2444 ย้ายสังกัดกรมเจ้าท่าไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล พ.ศ 2448 กรมเจ้าท่าได้ยกฐานะเป็นกรมชั้นอธิบดี และ ส่งให้ตราพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ร.ว. 124 (พ.ศ 2448) และในปีนี้เอง ส่งเริ่มปรับปรุงกิจกรรมกรมเจ้าท่าขึ้นใหม่ โดยยกเอางานบางส่วนจากกรมคลองเดิมมารวมกับกรมเจ้าท่า
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตรา พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพ.ศ 2456 ซึ่งกำเนิดมาแต่ต้นฉบับภาษาอังกฤษ แล้วมาแปลเป็นภาษาไทยในปีนี้เอง ทางราชการได้ยกกระทรวงนครบาลซึ่งกรมเจ้าท่าสังกัดอยู่ไปรวมกับกระทรวงมหาดไทยจนกระทั่งปีพ.ศ 2484 กรมเจ้าท่าจึงได้ย้ายสังกัดเป็นครั้งสุดท้าย มาขึ้นกับกระทรวงคมนาคมอย่างเช่นปัจจุบัน
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้ทำสัญญาจ้างกัปตันจอห์น บูช ชาวอังกฤษ มาเป็นผู้ริเริ่มงานฝ่ายเจ้าท่า มีการลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 8ฯ 9 ค่ำ จุลศักราช 1221 ปีมะแม เอกศก ตรงกับวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคมพ.ศ 2402 กรมเจ้าท่าจึงถือเอาวันที่ 5 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ในปีพศ 2545 ได้มีการปฏิรูปราชการเพื่อให้การทำงานมีความเหมาะสมกับสภาพของงาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ 2545 พระราช ทบวง กรมพ.ศ 2545 พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ 2545 กระทรวง กระทรวงแบ่งส่วนราชการกรม กระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี ได้รวมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า เปลี่ยนชื่อจากกรมเจ้าท่า เป็นกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่น ทางการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทย และกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึงและปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง
นโยบายของกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานทั้งเพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารให้มีการกระจายบริการพื้นฐานให้ทั่วถึงและเพียงพอ นำไปสู่การกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค และสร้างโอกาสให้กับประชาชนทุกระดับในสังคม อันเป็นการยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนตลอดจนเป็นการส่งเสริมสนับสนุน การท่องเที่ยวทางน้ำ
ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชย์นาวีทั้งระบบ โดยระบบการขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่สามารถขนส่งได้คราวละมากๆ ซึ่ง เป็นการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำและประหยัดพลังงาน โดยสอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 แผนพัฒนาโลจิสติกส์ ของกระทรวงคมนาคม และแผนพัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในการสนับสนุน การใช้รูปแบบและวิธีการ บริหารจัดการขนส่งเพื่อประหยัดพลังงานรวมทั้งการปรับเปลี่ยน การใช้พลังงานในภาคขนส่งไปสู่รูปแบบที่มีต้นทุนต่ำสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
บูรณะและพัฒนาร่องน้ำ โดยการขุดลอกร่องน้ำ การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น เขื่อนป้องกันการกัดเซาะและเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง รวมทั้งจัดหาสิ่งอำนวยความปลอดภัย ในการใช้ร่องน้ำ เพื่อให้สามารถใช้เป็น เส้นทางสัญจรได้โดยสะดวกและปลอดภัย รวมทั้งเป็นการช่วยรักษาสภาพทางชลศาสตร์และช่วยให้การระบายน้ำเป็นไปได้ด้วยดี อันเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้อีกทางหนึ่ง
พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่ต้องใช้ระบบการขนส่งเชื่อมต่อโดยการพัฒนาจุดเชื่อมต่อระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะทางน้ำและทางบก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนการขนส่งให้ต่ำลง และสามารถแข่งขันการค้าและบริหารกับต่างประเทศ
จัดหาเรือและระบบเครื่องมืออุปกรณ์ให้ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนให้มีการตรวจตรา กำกับดูแล การสัญจรทางน้ำให้เกิดความปลอดภัยรวมทั้งรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำด้วย
เร่งรัดปรับปรุง ศึกษา และพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อนำมาช่วยในการพัฒนาระบบงานการขนส่งทางน้ำให้ได้มาตรฐาน ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการก้าวไปสู่การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จเพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ปรับปรุง กฎระเบียบ ข้อบังคับและจัดระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ทางน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารท่าเรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยพิจารณาอัตราค่าธรรมเนียม อัตราค่าเช่า ในอัตราที่เหมาะสม ส่งผลให้อัตราค่าบริหารการจัดการการขนส่งทางน้ำลดลง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการขนส่ง ทางน้ำ อีกทั้งเป็นการชักจูงให้เอกชนที่จะมาลงทุนในการบริหารท่าเรือและผู้ประกอบการ หันมาใช้การขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นการขนส่งที่สามารถขนส่งได้คราวละมากๆ ทำให้ต้นทุนสินค้าลดต่ำลงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ตลอดจนเป็นการประหยัดพลังงาน และ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศได้
พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ให้ทันสมัย สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนให้มีการฝึกอบรม และการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งการอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม
รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ โดยเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมาย
วิสัยทัศน์
พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางน้ำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ตลอดจนสนับสนุนให้มีการกระจายการขนส่งทางน้ำอย่างเหมาะสม และมีความเชื่อมโยงอันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการค้าและบริการส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
พันธกิจ
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยเรือโดนกัน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ
ดำเนินการจัดระเบียบการขนส่งทางน้ําและกิจการพาณิชยนาวี
ร่วมมือและประสานงานกับองค์การ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในด้านการขนส่งทางน้ำการพาณิชยนาวีและในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ประเด็นยุทธศาสตร์
การพัฒนาให้มีบริการ โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำในยุทธศาสตร์ในฐานะปัจจัยผลักดันในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงความต้องการขนส่งจากประเทศเพื่อนบ้านและระบบโลจิสติกส์
ความจำเป็นในการรักษามาตรฐานและพัฒนาคุณภาพบริการขนส่งทางน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจรและยกระดับคุณภาพชีวิต
การตระหนักถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยในระบบการขนส่งทางน้ำ
รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการมุ่งพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดจากเงินลงทุนและทรัพย์สินสาธารณะ
เป้าประสงค์
จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำและเชื่อมโยงส่งเสริมการขนส่งระบบโลจิสติกส์อย่างบูรณาการ
ประชาชนได้รับระบบการจราจรขนส่งทางน้ำที่มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย
เพิ่มความปลอดภัยในระบบการขนส่งทางน้ำ
เสริมสร้างสมรรถนะในการบริหารจัดการด้านระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์
พัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ให้เพียงพอและต่อเนื่องตลอดจนเชื่อมโยงกับการขนส่งระบบอื่น
พัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและต่อเนื่องตลอดจนเชื่อมโยงกับการขนส่งระบบอื่น
กำกับ ดูแล โครงสร้างพื้นฐานและบริการคมนาคมขนส่งทางน้ำ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนด้านการพาณิชยนาวี
สร้างศักยภาพการบริหารจัดการด้านการขนส่งทางน้ำและบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หน่วยงานในสังกัด กรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชยนาวี
สำนักงานเลขานุการกรม
ดำเนินเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปและปฏิบัติงานบรรณของกรม
ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม
จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม
ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารผลการปฏิบัติงานและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของกรม
ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองคลัง
ดำเนินเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคาร สถานที่ และยานพาหนะของกรม
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
กองตรวจเรือ
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสภาพเรือ เครื่องจักรเครื่อง อุปกรณ์ และเครื่องใช้ประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยและกฎหมายว่าด้วยเรือไทยเพื่อประกอบการออกและต่อใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
กองทะเบียนเรือ
ดำเนินเกี่ยวกับการจดทะเบียน การทำนิติกรรมเกี่ยวกับเรือ และการควบคุมหมายเลขทะเบียนเรือตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย
ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือติงานสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองนิติการ
ดำเนินการเกี่ยวกับทางด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยกฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความผิดทางแพ่ง อายา งานคดีปกครองงานคดีอื่นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรม
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดให้กฎหมายที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาส่งเสริม การกำกับการคุ้มครองและการประสานงานการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวีรวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายตลอดจนให้ข้อเสนอแนะและจะทำอนุสัญญา สนธิสัญญา
กองวิชาการและวางแผน
จัดทำเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานเกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวีของประเทศจัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและเพจแม่แบบของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน
จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือ ทางวิชาการจากต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
จะทำสถิติเกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวีทั้งในและระหว่างประเทศและพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำ และการพาณิชยนาวีของประเทศตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลกรม
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
ดำเนินการเกี่ยวกับการควบ ตรวจตราและปราบปรามเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
ดำเนินการเกี่ยวข้องกับงานด้านสภาวะแวดล้อมทางน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรม
ดำเนินการเกี่ยวกับการสอบความรู้ผู้ทําการในเรือ การจดทะเบียนควบคุมคนประจำเรือ และการออกหนังสือคนประจำเรือ รวมทั้งการจ้างและการเลิกจ้างคนประจำเรือ
ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่มิให้ล่วงล้ำน้ำหรือขีดขวางทางเดินเรือ
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ
ดำเนินการเกี่ยวกับการขุดลอกและรักษาร่องน้ำทางเดินเรือและงานเครื่องหมายการเดินเรือ
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานสำรวจและวิศวกรรม
ดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจและสร้างแผนที่เส้นทางเดินเรือ
จัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพร่องน้ำ
ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิศวกรรมการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ และร่องน้ำทางเดินเรือ
ปฏิบัติงานร่วมกัน หรือการสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานการขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 1 เชียงใหม่
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกันและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 2 อยุธยา
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกันและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานการขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 3 สมุทรสงคราม
ดำเนินการตามกฎหมายพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระราชบัญญัติเรือไทย พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน อนุสัญญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานการขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 4 สงขลา
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระราชบัญญัติเรือไทย พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน อนุสัญญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานการขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 5 ตรัง
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระราชบัญญัติเรือไทย พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน อนุสัญญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานการขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 6 ชลบุรี
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระราชบัญญัติเรือไทย พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน อนุสัญญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานการขนส่งทางน้ำภูมิภาคที่ 7 หนองคาย
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำ พระราชบัญญัติเรือไทย พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน อนุสัญญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย