Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย neurological - Coggle Diagram
การตรวจร่างกาย neurological
ประเมินการพูด (verbal response)
ก่อนจะเริ่มการประเมินผู้ป่วยต้องลืมตาจากการประเมินการลืมตาก่อน เมื่อลืมตาได้จึงจะสามารถเริ่มการประเมิน
ให้ผู้ป่วยระบุชื่อตนเอง ระบุสถานที่ ณ ปัจจุบัน ระบุวัน เวลา ระบุว่าผู้ประเมินเป็นใคร หากผู้ป่วยสามารถระบุได้ครบถ้วน ผู้ป่วยจะได้รับ 5 คะเเนน
หากผู้ป่วยไม่สามารถระบุได้ถูกต้อง ระบุได้ถูกบางส่วนหรือไม่สามารถระบุได้เลย เเต่ยังสามารถพูดได้เป็นประโยคที่เข้าใจ ผู้ป่วยจะได้รับ 4 คะเเนน
หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดได้เป็นประโยค พูดได้เป็นคำสั้นๆที่มีความหมาย ผู้ป่วยจะได้รับ 3 คะเเนน
หากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้เป็นคำ ส่งเสียงได้เพียง อือ อา ผู้ป่วยจะได้รับ 2 คะเเนน
หากไม่มีการตอบสนองต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับ 1 คะเเนน
การประเมินการลืมตา (Eye opening)
ผู้ป่วยสามาถลืมตาได้เองโดยไม่ต้องเรียกซึ่งสามารถประเมินได้จากการประเมินข้างเตียง ผู้ป่วยจะได้รับ 4 คะเเนน
หากเรียกชื่อด้วยน้ำเสียงธรรมดาเเล้วไม่มีการตอบสนองจากผู้ป่วย จะเริ่มใช้การกระตุ้นด้วยการเรียกผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่ดังขึ้น ร่วมกับการเเนะนำตัวผู้ประเมินให้ผู้ป่วยรับรู้ หากผู้ป่วยลืมตาตอบสนองต่อเสียง ผู้ป่วยจะได้รับ 3 คะเเนน
หากไม่มีการตอบสนองจากผู้ป่วยจะเริ่มการกระตุ้นด้วยการ นำปากกาไปกดที่โคลนเล็บผู้ป่วยในเเนวตั้งฉากในขณะที่กดจะเพิ่มเเรงกดขึ้นไปเรื่อยๆ จนครบ 10 วินาที หากผู้ป่วยลืมตาตอบสนอง ผู้ป่วยจะได้รับ 2 คะเเนน
หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนอง ผู้ป่วยจะได้รับ 1 คะเเนน
การประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของรูม่านตา
ใช้ไฟฉายที่มีจุดสว่างตลอดดวง ฉายจากหางตามาหยุดตรงกลางตาสักครู่เเละผ่านเลยไปที่หัวตา ทำการเปรียยบเทียบทั้ง 2 ข้าง
การตอบสนอง (Motor response)
หากผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้ประเมินได้จะเริ่มให้ผู้ป่วยทำตามคำสั่ง เช่น การทำ two step action ดังนี้
1) ประเมินการเคลื่อนไหวของ เเขนเเละขา ให้ผู้ป่วยยกมือขึ้นมากจับกับมือผู้ประเมินเเล้วบอกให้ผู้ป่วยปล่อยมือ ให้ลองขยับเเขนทั้ง 2 ข้าง จากนั้นยกขาหรือขยับขาทั้ง 2 ข้าง
2) การประเมินการเคลื่อนไไหวของใบหน้า ให้ผุ้ป่วยนำลิ้นมาเเตะที่ริมฝีปาก ทำปากจู๋ ยิ้ม ยักคิ้ว หรือกระพริบตา
หากผุ้ป่วยทำได้ อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ ผู้ป่วยจะได้รับ 6 คะเเนน
หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองตั้งเเต่ต้น เช่น ผู้ป่วยไม่สามารถลืมตาหรือสื่อสารได้ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินโดยการกระตุ้น
ตำเเหน่งที่ 1 Trapezius pinch วางมือบนไหลของผู้ป่วยในลักษณะนิ้วชิดยกเว้นนิ้วโป้งเพื่อบีบกดบนเวณไหลของผู้ป่วยโดยให้นิ้งโป้งอยู่ด้านหน้าของผู้ป่วยเเละนิ้วที่เหลือทั้งหมดอยู่ด้านหลังของผู้ป่วยจากนั้นเริ่มออกเเรงกด เพิ่มเเรงกดขึ้นเรื่อยๆจนสามารถกระตุ้นผู้ป่วยได้หรือหากไม่มีการตอบสนองให้เพิ่มเเรงกดไปจนครบ 10 วินาที
ตำเเหน่งที่ 2 Supraorbital notch โดยวางมือลงบนหน้าผากของผู้ป่วยให้นิ้วโป้งกดลงบนหัวคิ้วของผู้ป่วยขณะที่กดจะต้องเพิ่มเเรงกดไปเรื่อยๆจนสามารถกระตุ้นผู้ป่วยได้หรือหากไม่มีการตอบสนองให้เพิ่มเเรงกดจนครบ 10 วินาที
หากผู้ป่วยสามารถเคลื่อนมือมาถูกตำเเหน่งที่เจ็บหรือตำเเหน่งที่มีการกระตุ้น ผู้ป่วยจะได้รับ 5 คะเเนน
หากผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนมือมาตำเเหน่งที่เจ็บได้ มีเพียงการเคลื่อนไหวมือไปมาลักษณะการตอบสนองต่อความเจ็บปวด ผู้ป่วยจะได้รับ 4 คะเเนน
หากการกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเกร็งงอ ผิดปกติ ผู้ป่วยจะได้รับ 3 คะเเนน
หากการกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเกร็งเหยียด ผิดปกติ ผู้ป่วยจะได้รับ 2 คะเเนน
หากไม่มีการตอบสนอง ผู้ป่วยจะได้รับ 1 คะเเนน
วัตถุประสงค์
1 เพื่อใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางระบบประสาท
เพื่อใช้ในการติดตามการเปลี่ยนเเปลงพยาธิสภาพ