Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย HEENT คือ การตรวจ ศรีษะ ตา หู…
การตรวจร่างกาย HEENT คือ การตรวจ ศรีษะ ตา หู จมูก คอ
การตรวจศรีษะ
ใช้เทคนิคการดูและการคลำ
การดู
ศีรษะ : ดูรูปร่างขนาดและลักษณะความสมมาตรของศรีษะ
ปกติศรีษะจะต้องสมมาตรส่วนขนาดจะ ผันแปลตามวัยเส้นผมต้องไม่แห้งกรอบหรือขาดง่ายหากพบอาจบอกถึงภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อราบนหนังศีรษะ จะพบการหลุดร่วงเป็นหย่อมๆของเส้นผม หนังศีรษะมีขุย หรือรังแค
หนังศีรษะ : ดูการอักเสบ เป็นแผล รังแค ก้อน หรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ
ผม : ดูการกระจายของเส้นผมดูลักษณะว่า แตกแห้ง กรอบ ขาดร่วงหรือ เป็นมัน มีเหา หรือไม่
การคลำ
ผู้ตรวจยืนด้านหน้าของผู้ใช้บริการใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำวนเบาๆให้ทั่วศีรษะ โดยเริ่มจากด้านหน้า ไล่ไปจนถึงท้ายทอย อาจคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณท้ายทอยด้วย ในเด็กควรคลำดูรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะว่าแยกห่างจากกันหรือเกยซ้อนกันหรือไม่ กระหม่อมยุบลงไปหรือไม่ ปกติจะคลำไม่พบก้อนไม่พบต่อมน้ำเหลือง
การตรวจใบหน้า
ใช้เทคนิคการดูและการคลำ
การดู
สังเกตความสมมาตรของใบหน้าความสมดุลของอวัยวะบนใบหน้าได้แก่ ตาจมูก ปาก ลักษณะของผิวหน้า อาการบวมรอย โรคตุ่ม ผื่น การแสดงออกของใบหน้า สังเกตร่องแก้ม
ปกติใบหน้าทั้งสองด้านจะสมมาตรกัน ไม่บิดเบี้ยว สีหน้าจะตามเชื้อชาติ ใบหน้าไม่บวม ร่องแก้มจะเป็นร่องลึกเท่ากันทั้งสองข้างหากไม่เท่ากันแสดงถึงการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าในด้านตรงข้ามกับด้านที่ถูกดึงรั้งขึ้นทดสอบด้วยกันให้ผู้ใช้บริการยิ้มหรือยิงฟัน
ภาวะผิดปกติเช่นใบหน้ามีรูปร่างกลมที่เรียกว่า moon face จะมีลักษณะแก้มป่องผิวหน้าแดงพบในผู้ป่วยที่ใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือพบผื่นแดงบริเวณข้างปีกจมูกทั้งสองที่เรียกว่า malar rash หรือเรียกตามรูปร่างที่คล้ายปีกผีเสื้อว่า butterfly rash พบในผู้ป่วยโรค Systemic lupus Erythematosus
การคลำ
คลำหาตำแหน่งหรือก้อนบนหน้าและคลำเพื่อตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวอาหาร
ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่สามมัดประกอบด้วย 1) กล้ามเนื้อ temporalis 2) กล้ามเนื้อ massector
3) กล้ามเนื้อ pterygoid
การตรวจตา
ใช้เทคนิคการดูและการคลำ
คิ้ว : ดูการกระจายตัวของขนคิ้ว ผิวหนังบริเวณคิ้วว่าอักเสบเป็นคุยหรือไม่
ลูกตา : ดูตำแหน่งของลูกตาและเปลือกตา ดูความชุ่มชื้นดูความนูน การคลำลูกตาเพื่อประเมินความนุ่มโดยให้คนไข้หลับตาผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางคลำเหนือเปลือกตาทั้งสองข้างสังเกตความนุ่มแข็ง ปกติจะนุ่ม ถ้าสัมผัสแล้วแข็งบ่งบอกถึงภาวะความดันในลูกตาสูง
หนังตา : ดูว่าหนังตาบวมช้ำเป็นก้อนหรือตุ่มหนองหรือไม่สังเกตการดึงรั้งของหนังตาเปลือกตาตกหรือไม่ ถ้าพบอาจมีสาเหตุมาจาก กล้ามเนื้อลูกตา oculomotor nerve หรือ facial nerve เสีย
ขนตา : สังเกตว่ามีการม้วนเข้าข้างในหรือไม่
ถุงน้ำตาและท่อน้ำตา : ดูว่ามีน้ำตาไหลตลอดเวลามีสิ่งคัดหลั่งไหลทางท่อน้ำตาหรือไม่ สังเกตการบวมของถุงน้ำตาบริเวณหางตาคลำโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดเบาๆที่หัวตาและข้างดั้งจมูกแล้วสังเกตว่ามีสิ่งคัดหลังไหลทางท่อน้ำตาหรือไม่
ตาขาว และเยื่อบุตา : ตรวจด้านบน โดยผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือวางบนเปลือกตาบนแล้วดึงขึ้น ให้คนไข้เหลือบมองปลายเท้า ตรวจด้านล่าง ผู้ตรวจวางนิ้วหัวแม่มือบนเปลือกตาล่าง แล้วดึงลงให้คนไข้เหลือบมองขึ้นข้างบน แล้วกลอกตามองซ้ายขวา สังเกตตาขาว เยื่อบุตา
กระจกตา : โดยให้คนไข้มองตรง ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องด้านข้าง แล้วมองกระจกตาทางด้านหน้า สังเกตความใส และรอยขีดข่วนบนกระจกตา
การตรวจหู
ใช้เทคนิคการดู และคลํา
การดู
ดูระดับของใบหู : ปกติขอบใบหูด้านบนจะอยู่แนวเดียวกับระดับตา และเอียงประมาณ 10 องศาในแนวตั้ง ถ้าสูงหรือต่ํากว่าระดับตามักพบในคนที่สติปัญญาอ่อน ดูรูปร่างของใบหู และบริเวณใกล้เคียงว่ามีก้อน ถุงน้ํา หรือตุ่มหนองหรือไม่
การดูช่องหู : ใช้อุปกรณ์ช่วยคือ ไฟฉาย หรือ otoscope ซึ่งในการใช้ otoscope ให้เลือก speculum จากอันใหญ่ก่อน โดยให้คนไข้เอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม ผู้ตรวจดึง
ใบหู เพื่อปรับรูหูให้อยู่ในแนวตรงทําให้เห็นรูหูชัดเจน
ในผู้ใหญ่ให้จับใบหูดึงเฉียงขึ้นด้านบน
ในเด็กให้จับใบหูดึงเฉียงลงล่าง เปิดไฟฉาย หรือใช้ otoscope ส่องดูในช่องหู สังเกตว่ามีขี้หู มีการอักเสบ หรือมีสิ่งคัดหลั่งออกมาหรือไม่
การดูแก้วหู : เมื่อส่องไฟจะพบว่าแก้วหูจะมีลักษณะเหมือนกระจกฝ้า สีเทา สะท้อนแสงวาว ถ้าพบว่าแก้วหูบุ๋ม หรือโป่งออก และช่องหูชั้นนอกมีสีแดง มักเกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลาง หรือถ้าเห็นรูโหว่แสดงว่าแก้วหูทะลุ
การคลำ
ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วคลําใบหู เพื่อประเมินว่ามีก้อน กดเจ็บหรือไม่ รายที่สงสัยว่ามีการอักเสบของหูส่วนนอก เมื่อผู้ตรวจจับใบหู หรือติ่งหูให้ขยับ ผู้ใช้บริการจะปวดมาก หรือ ถ้ากดบริเวณกกหูแล้วปวดแสดงว่ามีการอักเสบของกระดูกมาสตอยด์ หรือต่อมน้ําเหลืองหลังหู
การตรวจจมูก และโพรงไซนัส
ใช้เทคนิคการดู และคลําหรือเคาะ
การดู
ดูรูปร่างลักษณะภายนอกว่าบิดเบี้ยว หรือไม่ ดู ปีกจมูกว่าอักเสบบวมแดงหรือไม่ ดูภายในรูจมูก โดยให้คนไข้เงยหน้าขึ้น ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือข้างที่ไม่ถนัดแตะที่ ยอดจมูก
แล้วดันขึ้น หรือใช้เครื่องถ่างจมูก ถ่างให้เห็นภายในช่องจมูกได้ชัดเจนขึ้นช้มือข้างที่
ถนัดถือไฟฉาย หรือ otoscope ส่องเข้าไปในรูจมูก สังเกตดูเยื่อบุจมูกว่าบวมแดง มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติหรือไม่ เช่น น้ํามูก หนอง เลือดกําเดา สังเกตผนังกั้นจมูกว่าบิดเบี้ยว
มีเนื้องอกหรือไม่ ปกติเยื่อบุจมูกเป็นสีชมพู อาจมีสิ่งคัดหลั่งที่มีลักษณะใส
การคลํา หรือเคาะ
โพรงไซนัสที่สามารถตรวจจากภายนอกได้ คือ frontal sinus อยู่บริเวณหัวคิ้วทั้งสองข้างและ maxillary sinus อยู่บริเวณปีกจมูก ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือกดหรือใช้นิ้วเคาะบริเวณโพรงไซนัส ดังกล่าว เพื่อประเมินอาการเจ็บปวด
ปกติเมื่อกดหรือเคาะจะไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าพบแสดง
ถึงการอักเสบของโพรงไซนัสนั้นๆ
การตรวจปากและช่องปาก
ใช้เทคนิคการดู
ให้คนไข้เงยหน้าอ้าปากเข้าหาแสงไฟโดยใช้ไม้กดลิ้นและไฟฉายส่อง
ริมฝีปาก : สังเกตดูสี ความชุ่มชื้น บาดแผล ตุ่ม บวมหรือไม่ ปกติริมฝีปากเป็นสีชมพู มีความชุ่มชื้น
เยื่อบุปาก : ให้คนไข้เงยหน้าและอ้าปาก ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องดู และอาจใช้ไม้กดลิ้นช่วย สังเกตดูว่ามีบาดแผลตุ่มหนอง สีซีด หรือไม่ ปกติเยื่อบุปากมีสีชมพู ไม่มีแผล หรือตุ่ม
เหงือกและฟัน : ดูสี อาการบวม บาดแผล การหดร่นของเหงือกเลือดออกว่ามีหรือไม่ สังเกตดูฟัน ว่ามีกี่ซี่ มีฟันผุ ฟันโยก ฟันปลอม มีหินปูนเกาะหรือไม่
เพดานปาก : ดูสี รูโหว่ของเพดานมีกระดูกงอกหรือไม่
ลิ้น : ดูขนาด อาการบวม เนื้องอก ดูลักษณะว่ามีลิ้นเลี่ยนไม่มีปุ่มรับรส ซึ่งพบในผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก ลิ้นเป็นแผนที่จะพบในเด็กที่เป็นภูมิแพ้ สังเกตว่าเป็นฝ้าขาวหรือไม่
ทอลซิล และผนังคอ : ให้คนไข้เงยหน้า และอ้าปากผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องดู และใช้ไม้กดลิ้นช่วยโดยกดไม้กดลิ้นตรงกลางใกล้โคนลิ้นหรือประมาณ 1/3 จากโคนลิ้นม่ต้องให้แลบลิ้น ให้สังเกตดูว่าทอลซิลโตหรือไม่
การตรวจคอ
ใช้เทคนิคการดู และคลํา
การดู
ดูลักษณะผิวหนังของคอว่ามีผื่น บาดแผล บวมหรือมีก้อนเนื้อ หรือไม่ สังเกตหลอดเลือดบริเวณคอว่าโป่งนูน หรือไม่ สังเกตการทํางานของกล้ามเนื้อ sternocleidomasto สังเกตการทํางานของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid
โดยให้คนไข้ก้มหน้าเอาคางชิดอก และเอียงศีรษะ หันหน้า ซ้ายขวา สังเกตว่ามีอาการคอแข็งเกร็งหรือเจ็บปวดขณะทําหรือไม่ ดูก้อนนูนบริเวณลําคอเช่น บริเวณต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ําเหลืองที่คอ ต่อมน้ําลายว่าบวมโตหรือไม่
การคลํา
คลําตั้งแต่กระดูกคอ จนถึงใต้คาง และ
หลอดลมว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น มีก้อนหรือกดเจ็บหรือไม่