Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผ้าไหมแพรวา ภูมิปัญญาพื้นถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ - Coggle Diagram
ผ้าไหมแพรวา
ภูมิปัญญาพื้นถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่ง/สถานที่ที่มีอยู่ภูมิปัญญา
จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งหลักๆคืออำเภอคำม่วง อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จและอำเภอสามชัย
สำหรับบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์นั้น เป็นพื้นที่ที่มีการทอผ้าไหมแพรวาที่งดงาม และมีชื่อเสียงระดับประเทศ
รายละเอียดของภูมิปัญญา
ผ้าไหมเเพรได้รับความนิยมสูงในหมู่ผู้นิยมผ้าไทย ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีการทอผ้าไหมแพรวาที่งดงาม และมีชื่อเสียงระดับประเทศ
ผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าที่มีความงดงามและความประณีตในการทอ มีลักษณะเด่นเเละความเป็นเอกลักษณ์ด้านลวดลายสีสันของผ้าที่มีกรรมวิธีการสร้างลวดลายด้วยการทอขิดและการทอด้วยการจกเส้นไหมหลากหลายสีเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดสีสันและลวดลายรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าก็มีความเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกับพื้นของผืนผ้า มีระเบียบ ทั้งยังมีความเงางาม
ในผ้าไหมแพรวาผืนหนึ่งจะมีอยู่ประมาณ 10 หรือ 12 ลาย ใช้เส้นไหมในการทอตั้งแต่ 2-9 สี สอดสลับในแต่ละลายแต่ละแถว ลักษณะของ ลายผ้าของผ้าไหมแพรวาที่ทอในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆได้แก่ ผ้าแพรวาลายล่วง ผ้าแพรวาลายจก และผ้าแพรวาลายเกาะ
ผ้าไหมแพรวาลายจก
ผ้าไหมแพรวาลายล่วง มีการเพิ่มความพิเศษโดยการจกเพิ่มดอกเข้าไปในลายล่วงบนผืนผ้า เพื่อแต้มสีสันให้สวยงามยิ่งขึ้น แต่สีจะไม่หลากหลายสดใสเหมือนผ้าไหมแพรวาลายเกาะ
ผ้าไหมแพรวาลายเกาะ
ผ้าไหมแพรวาที่มีลวดลายและสีสันหลายสีเกาะเกี่ยวพันกันไป ลวดลายที่ใช้ทอผ้าไหมแพรวาลายเกาะ ส่วนใหญ่เป็นลายดอกใหญ่ ซึ่งเป็นลายหลักของการทอผ้าไหมแพรวา หรืออาจจะทอไม่ให้ซํ้าลายกันเลยในแต่ละแนวก็ได้
ผ้าไหมแพรวาลายล่วง
ผ้าไหมแพรวาที่มีลวดลายเรียบง่าย มี 2 สี สีหนึ่งเป็นสีพื้น อีกสีหนึ่งเป็นลวดลาย
การทอผ้าไหมเเพรวาจัดเป็นภูมิปัญญาชั้นสูง ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งไหม”
ผ้าไหมเเพรวาจะเลือกใช้เส้นไหมน้อยหรือไหมยอดที่มีความเลื่อมมัน ผ้าไหมแพรวาจึงถือว่าเป็นของลํ้าค่า
การทอผ้าไหมแพรวาแบบผู้ไทแท้นั้น จะไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วย แต่จะใช้นิ้วก้อยจกเกาะเกี่ยว และสอดเส้นไหมสีซึ่งเป็นเส้นพุ่งพิเศษแล้วผูกเก็บปมเส้นด้ายด้านบน เพื่อให้เกิดลวดลาย โดยใช้การเกาะลายด้วยนิ้วก้อยตลอด จากริมผ้าข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งตลอดทั้งแถว
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญา
ปัจจัยของการรับเอาภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมจากภายนอก
เนื่องจากการทอผ้าไหมแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท โดยเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยหรือภูไท ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้ เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยยังรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหม ที่มีภูมิปัญญาในการทอด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจกที่มีลวดลายโดดเด่น ต่อมาจึงเป็นภูมิปัญญาการทอผ้าไหมเเพรวาที่ได้รับการถ่ายทอดต่อมาจากบรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เเละกลายเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ต่อมา
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
สมัยก่อนผ้าไหมเเพรวานิยมทอเพื่อนำไปใช้เป็นผ้าสไบ โดยห่มเฉียงบ่า หรือห่มเคียนอก และใช้ปูสำหรับกราบพระ นิยมใช้คู่กับผ้าแพรมน ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีชายครุยทั้งสองด้านใช้สำหรับคลุมศีรษะหรือเป็นผ้าเช็ดหน้า ปัจจุบันมีการทอเป็นผ้าผืนหน้ากว้างสำหรับ ตัดเป็นเสื้อผ้าสวมใส่
ผ้าไหมแพรวาของชุมชนบ้านโพนนับเป็นผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มและโดดเด่น ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ จังหวัดกาฬสินธุ์และมีชื่อเสียงระดับประเทศ
การทอผ้าไหมเเพรวาทำให้เป็นสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ผ้าไหมแพรวาเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ไท
สาเหตุแห่งการดำรงอยู่ของภูมิปัญญา
ได้รับการสนับสนุนเเละส่งเสริม
ผ้าไหมแพรวาได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง เมื่อปี 2520
พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวภูไทบ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง หรือเรียกว่าผ้าเบี่ยงทรงสนพระทัยมาก จึงโปรดให้มีการสนับสนุน และได้มีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นผ้าผืน สำหรับตัดเสื้อผ้าได้ อีกทั้งพัฒนาลวดลายให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาด การพัฒนาการทอผ้าแพรวา เกิดขึ้นเพราะพระบารมีของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงทอดพระเนตรเห็นความงาม และคุณค่าแห่งศิลปะชิ้นนี้
มีการปรับประยุกต์เเละพัฒนาให้เหมาะสม
มีการรวมกลุ่มเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาต่อไป
ปัจจุบันมีกลุ่มที่ผลิตผ้าไหมแพรว่าชื่อว่า “กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน” ตั้งอยู่ที่ บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญานี้ให้ดำรงอยู่ต่อไป ต่อมากลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ได้จัดตั้งเป็น “สหกรณ์ทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน” ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวาของสมาชิกในอำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอสามชัย เพื่อจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่ศิลปาชีพบ้านโพน
มีการทอผ้าไหมแพรวาแบบประยุกต์
ปัจจุบันการทอผ้าไหมแพรวาได้มีการประยุกต์สิ่งต่างๆให้เหมาะกับสภาพการของเศรษฐกิจและความต้องการของตลาด เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ทำได้ง่าย สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยมการลดราคาขายของผ้าไหมเเพรวาลง มีการจัดกลุ่มสี/เปลี่ยนสีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีการใช้วัตถุดิบให้ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น ทั้งยังมีการนำเอาผ้าไหมเเพรวามาประยุกต์เป็นของใช้ในบ้าน เครื่องประดับ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถนำผ้าไหมแพรวาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น
ผู้ทอซึ่งเป็น ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ มีการต่อยอดผ้าไหมเเพรวาในเชิงพาณิชย์ไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
แนวทางการรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญา
ต้องมีการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากผ้าทอนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอกลักษณ์ประจำชาติหรือท้องถิ่นที่รัฐควรให้ความสนใจ
มีการจัดประชุมสัมมนา โดยเชิญผู้รู้หรือวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องผ้าไหมเเพรวามาให้ความรู้ต่าง ๆ
มีการจัดการประกวดผ้าไหมเเพรวา เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่เกียรติคุณของผ้าไหมเเพรวา
มีการให้ทุนอุดหนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผ้าไหมเเพรวา เพื่อก่อให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาเรื่องผ้าไหมเเพรวา
มีการรณรงค์การใช้ผ้าทอในหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงเรียนเละสถานที่ ราชการบางแห่งอาจจะตกลงกันแต่งกายด้วยผ้าทอ 1 วัน ในแต่ละสัปดาห์ หรือในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไป
ต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับผ้าไหมเเพรวาในด้านต่างๆ เช่น ความงดงาม ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงต้องสร้างความสนใจเเละสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาผ้าไหมเเพรวาที่เป็นสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ควรภาคภูมิใจ
โรงเรียนต้องสร้างความเข้าใจและภาคภูมิใจในศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่น รวมถุงผ้าไหมเเพรวา โดยอาจจะสอนสอดแทรกเข้าไปในวิชาที่เกี่ยวกับสังคมศึกษา ศิลปศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมหรือพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่
สื่อมวลชนควรให้ความรู้ แสดงให้เห็นถึงความงดงามและประโยชน์ของผ้าไหมเเพรวา และควรมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่ให้ประชาชน
สมาชิกในครอบครัวควรสนับสนุนให้มองเห็นความงดงามของคุณค่าผ้าไหมเเพรวา โดยอาจมีการให้ความรู้ หรือนำผ้าไหมเเพรวามาใช้ในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษต่างๆ
มีการสวมใส่ผ้าไหมเเพรวาในโอกาสต่างๆ พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผ้าไหมเเพรวา ซึ่งเมื่อมีคนสวมใส่ก็จะทำให้ผ้าไหมเเพรวาดำรงต่อไป นอกจากนั้นเมื่อมีคนพบเห็นตนใส่เขาก็อาจเกิดความสนใจ นำไปสู่การศึกษาเเละสวมใส่ผ้าไหมเเพรวา ซึ่งจะทำให้ผ้าไหมเเพรวาถูกสืบต่อไป
ต้องมีการปรับประยุกต์เเละผ้าไหมเเพรวาให้สอดคล้องกับยุคสมัย สังคม เเละความต้องการของผู้บริโภคเสมอ