Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
12, อาการ - Coggle Diagram
ชนิดของไส้เลื่อน
-
-
-
-
-
-
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีไส้เลื่อน
- วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อน การรักษา และการปฏิบัติตัว
- ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว เกี่ยวกับการสังเกตลักษณะของไส้เลื่อนที่ไม่สามารถดันกลับ เช่น เริ่มมีอาการบวมปวดเพิ่มขึ้นและ อาการที่บีบรัด เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งตัว หรือท้องผูก มึน คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบมารับการรักษาทันที แพทย์จะทำการผ่าตัดผู้ป่วย เมื่อพร้อม
- ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยืนนานๆ การยกของหนัก หรือการออกแรงดึง
- ถ้าผู้ป่วยสวมทรัส (Truss) ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผิวหนังใต้ทรัส และเข็มขัดผิวหนัง
บริเวณนี้ควรจะสะอาด แห้ง และควรทาด้วยแป้งเพื่อปองกันการระคายเคือง
- ถ้าผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัด ควรให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว เกี่ยวกับวิธีการ
และผลที่ได้รับจากการผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่มีการบีบรัดของไส้เลื่อน (Strangulated hernia) ผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงการเตรียมผ่าตัด และกิจกรรมหลังผ่าตัด ซึ่งกระทำเช่นเดียวกับผู้ป่วยผ่าตัด หน้าท้อง คือ ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลหลายวัน ใส่สายยางจากจมูกถึงกระเพาะอาหารเพื่อดูดสิ่งขับหลั่งออก ต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ งดอาหารและให้น้ำและเกลือแร่ทดแทนจนลำไส้ทำงานเป็นปกติ
- แนะนำการงดเว้นการยกของหนัก หรือมีกิจกรรมที่ใช้แรง 4-6 สัปดาห์ หลังผ่าตัด
- เจ็บปวดเนื่องจากมีการบวมของแผลหลังผ่าตัด
- การผ่าตัดตกแต่งธรรมดา (Simple herniorrhapy) ผู้ป่วยมีอาการปวดอาจจะให้ยาแก้ปวดรับประทานทุก 3-4 ชั่วโมง
- ควรแนะนำผู้ป่วยในขณะจาม หรือไอ ให้ใช้หมอน ผ้าห่ม หรือมือประคองบริเวณแผล
- ถ้าผู้ป่วยที่ผ่าตัดลูกอัณฑะ จะมีการบวมและเจ็บหลังผ่าตัด
ให้ยกลูกอัณฑะให้สูงขึ้น รองด้วยม้วนผ้ากลม (Rolled pad) และวางด้วย กระเป๋าน้ำแข็ง
- ถ้ามี Jock strap หรือ Jockey shorts อาจจะสวมประคองไว้
- ควรแนะนำให้ลดกิจกรรม 5-6 วัน โดยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก และการกลั้นอุจจาระ
- ให้ผู้ป่วยสังเกตการบวมแดงของบริเวณผ่าตัด หรืออาการปวดมากขึ้น
หรือมีหนองนํ้าเหลืองซึมจากแผลให้รีบมาพบแพทย์
- มีแนวโน้มเกิดปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัด เนื่องจากมีการอักเสบของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัด และฤทธิ์ของยาระงับปวดขณะผ่าตัด
- สังเกตอาการปัสสาวะคั่ง เช่นไม่ถ่ายปัสสาวะ หน้าท้องโป่งตึงเคาะได้เสียงทึบ เสิร์ฟหม้อนอนให้ปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถ
ปัสสาวะได้เอง รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาสวนปล่อย หรือสวนคาสาย สวนปัสสาวะจนกระทั่งผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าอย่างเพียงพอ
ประมาณวันละ 2,500-3,000 มล. ถ้าไม่มีข้อห้าม
การรักษา
-
การผ่าตัด
-
เฮอรนิโอราร์พี (Herniorrhaphy)โดยตัดเอาถุงไส้เลื่อนออก แล้วเย็บซ่อมแซมผนังด้านหลังซึ่งมีอยู่หลายเทคนิค อาจจะเย็บปิดด้วยกล้ามเนื้อ หรือใช้สารสังเคราะห์ เช่น แมเลกซ์ เมสท์ (Malex mesh)
-
-
อาการ
ไส้เลื่อนอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด หรือมาเกิดขึ้นภายหลังจากการไอ จากการยืนนาน การออกแรงจะมีก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไส้เลื่อนไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้องได้เมื่อให้ ผู้ป่วยนอนศีรษะตํ่า ถุงไส้เลื่อนจะบวมปวดกดเจ็บบริเวณก้อนและมีอาการของลำไส้อุดตัน เช่น ปวดท้อง ท้องอืด ไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม คลื่นไส้ อาเจียน และถ้ามีการบีบรัดและขาดเลือดไปเลี้ยงจะมีอาการเจ็บปวดที่ไส้เลื่อนมาก ผู้ป่วยที่มีไส้เลื่อนที่ขาหนีบจะปัสสาวะบ่อย
การที่ตรวจพบได้ คือ มีก้อนบริเวณขาหนีบ, ลูกอัณฑะ หรือบริเวณแคมเล็กใหญ่ในเพศหญิง
-
-
-
-
-
-