Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาออกฤทธิ์ต่อระบบเลือด (Medications Affecting the Hematologic System) -…
ยาออกฤทธิ์ต่อระบบเลือด
(Medications Affecting the Hematologic System)
ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
(Medications Affecting Coagulation)
ยาห้ามเลือดและทำให้เลือดแข็งตัว
Vitamin K1 (Phytomenadione)
กลไกการออกฤทธิ์
เป็น cofactor ที่จำเป็นในการสร้าง coagulation factor
ได้แก่ factor II, VII, IX และ X ที่ตับ
ข้อบ่งใช้
ได้รับยาห้ามการแข็งตัวของเลือดประเภท warfarin เกินขนาด, ภาวะขาด vitamin K ซึ่งมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด, ภาวะ prothrombin ต่ำ (hypoprothrombinemia) เนื่องจากภาวะเป็นพิษจาก salicylate
ผลข้างเคียง
Anaphylactoid reaction หลังจากฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ การฉีดเข้าเส้นเลือด จึงควรจำกัดอยู่เฉพาะในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น และผู้ป่วยต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด
Tranexamic acid (Transamin®)
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายตัวของไฟบริน (antifibrinolytic) โดยยาจะเข้าจับที่ fibrin biding site บน plasminogen แบบผันกลับได้ ทำให้โครงสร้างของไฟบรินคงตัว
ข้อบ่งใช้
ป้องกันภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติขณะผ่าตัดป้องกัน
และทุเลาการเสียเลือดในผู้ป่วย hemophilia
ผลข้างเคียง
มีลิ่มเลือดอุดตัน โดยสามารถเกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ (arterial and venous thrombosis) คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน การให้ยาทาง iv เร็วเกินไปจะทำให้เกิด hypotension ในรายที่ได้รับยาเป็นเวลานานจะทำให้การมองเห็นผิดปกติ
ยาหรือสารที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด หรือ ละลายลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น
เป้าหมายในการใช้ยา
ลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากผลของลิ่มเลือดที่ไปอุดตัน
ป้องกันความเสียหายของอวัยวะต่าง ๆ
ทำให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ
Direct inhibitors of factor Xa
ยาที่ใช้
Rivaroxaban (Xarelto)
Antiplatelets
ยาที่ใช้
clopidogrel (Plavix)
Aspirin
Direct thrombin inhibitors
ยาที่ใช้
bivalirudin (Angiomax)
lepirudin (Refludan)
dabigatran (Pradaxa)
Argatroban (Acova)
Thrombolytic agents
ยาที่ใช้
alteplase (Activase, Cathflo Activase)
tPA (tissue Plasminogen Activator)
Anticoagulants
oral
ยาที่ใช้
warfarin (Coumadin)
parenteral
ยาที่ใช้
heparin
dalteparin (Fragmin)
enoxaparin (Lovenox)
fondaparinux (Arixtra)
tinzaparin (Innohep)
Blood and Blood Products
เลือดรวม (Whole blood)
คือเลือดที่เจาะเก็บจากผู้บริจาคโดยตรง บรรจุในถุงปลอดเชื้อ โดย 1 unit มีประมาณ 350-450 cc มีค่า hematocrit อย่างน้อย 33% มีส่วนประกอบของเลือดทุกชนิด สามารถให้เพื่อเพิ่มได้ทั้ง blood volume และ RBC โดยต้องให้เลือดหมู่เดียวกับผู้ป่วย แต่ไม่นิยมเพราะอาจทำให้ platelet และ coagulation factors สูญเสียหน้าที่ จึงนำไปแยกเก็บเพื่อเป็นส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดให้เหมาะสมกับ การใช้งานในผู้ป่วยแต่ละคนต่อไป
เม็ดเลือดแดงเข้มข้น Packed red cell (PRC)
คือเลือดที่ปั่นแยกเอา plasma ออก โดย 1 unit มีประมาณ 250 cc มีค่า hematocrit เท่ากับหรือน้อยกว่า 80% มีความหนืดสูงกว่าเลือดรวม
ลดความหนืดได้โดยการเจือจางด้วย 5%DN/2, 5%DNSS หรือ NSS 100 cc/เลือด 1 unit
ไม่ควรผสม PRC กับสารน้ำที่มี Ca2+ เพราะทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ สามารถให้ในภาวะซีดจากสาเหตุต่างๆ
เกล็ดเลือดเข้มข้น Platelet concentrate
มีจำนวนเกล็ดเลือดมากเม็ดเลือดขาวน้อยมีพลาสม่าบ้างไม่มาก1 unit มีประมาณ 50 cc มีอายุประมาณ 5 วัน เก็บที่อุณหภูมิ 20-24°c และต้องเขย่าตลอดเวลาเพื่อป้องกันการจับกลุ่มกัน โดย platelet 1 unit สามารถเพิ่ม platelet ในร่างกายได้ 7,000-10,000/mm3
ควรให้กลุ่มเดียวกับเลือดของผู้ป่วยมิฉะนั้นจะทำให้ platelet มีอายุสั้นและนับจำนวนได้น้อย นอกจากนี้ยังอาจพบปฏิกิริยาเม็ดเลือดแดงแตกได้ในยูนิตหลัง ใช้ในภาวะ platelet ต่ำ หรือในภาวะเลือดออกมาจาก platelet dysfunction ขนาดที่ให้คือ 1 unit/10 kg ของน้ำหนักผู้ป่วย
พลาสม่ารวมชนิดแช่แข็ง Fresh frozen plasma (FFP)
สามารถใช้ในภาวะ bleeding ที่มี PT, PTT prolong ได้รับ anticoagulant (heparin, warfarin) เมื่อให้ PRC จำนวนมากแล้วตรวจพบ PT, PTT prolong หรือในผู้ป่วยโรคตับที่มีปัญหาในการแข็งตัวของเลือด ขนาดที่ใช้ 10-20 cc/kg จะเพิ่ม coagulation factors ร้อยละ 20-40 ควรให้ FFP กลุ่มเดียวกับเลือดผู้ป่วย
1 unit มีประมาณ 200-300 cc มีโปรตีน เช่น albumin immunoglobulin และปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดแทบทุกชนิดใน plasma โดยเฉพาะ factor V และ VIII ซึ่งจะหมดอายุเมื่อเก็บ FFP ไว้นานเกิน 1 ปี โดยจะเก็บเป็น plasma แข็งที่อุณหภูมิ -20°c หรือต่ำกว่า
ก่อนให้ต้องละลาย FFP โดยอุ่นที่อุณหภูมิห้องมิฉะนั้น factor V และ VIII จะลดต่ำ แล้วให้แก่ผู้ป่วยภายในเวลา 1 ชม. เพื่อป้องกันการสูญเสียหน้าที่ของ coagulation factor
พลาสม่าแยกส่วน Cryoprecipitate
เป็นพลาสม่าที่ได้จากการนำ FFP มาละลายแล้วปั่นแยกส่วนได้พลาสม่าส่วนตะกอนซึ่งมี factor ในการแข็งตัวของเลือด
เป็นตะกอนโปรตีนที่ทำการแยกมาจาก FFP โดย 1 unit มีประมาณ 10-20 cc ประกอบด้วย factor VIII, von Willebrand factor, fibrinogen และ fibronectin
ใช้เพื่อรักษา hemophilia A, von Willebrand’s disease, factor XIII deficiency หรือภาวะ Disseminated intravascular coagulation (DIC) สามารถให้ได้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มเลือด และเก็บไว้ได้นาน 1 ปี ที่อุณหภูมิ -20°c
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
ปฏิกิริยาที่ไม่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน
เมื่อให้เลือดปริมาณมากและเร็ว ทำให้เกิด pulmonary edema ได้ง่าย (ไอ เหนื่อยหอบ
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว จึงควรให้เป็น PRC
Infection เช่น AIDS, viral hepatitis, malaria, syphilis
Hemoglobinuria จากเม็ดเลือดแดงเกิด hemolysis ตั้งแต่ในถุง ก่อนการให้เลือด
โดยอาจ เกิดจากการอุ่นเลือดจนอุณหภูมิสูงเกินไป ใช้เข็มเจาะขนาดเล็ก
ปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
ปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับ WBC, platelet, plasma protein มีอาการไข้ บวมทั่วไปจนถึง anaphylaxis ได้
เม็ดเลือดแดงแตกจากหมู่เลือดที่เข้ากันไม่ได้ (ABO incompatibility) โดยจะมีอาการ ไข้ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก ปวดหลัง คลื่นไส้ ความดันเลือดต่ำ hemoglobinuria
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือดมากๆ
มีตะคริวตามกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติมีการสะสมของสารกันการแข็งตัวของเลือดทำให้ระดับแคลเซียมลดลง
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใบหน้า มือและขา มีอาการคล้ายเป็นอัมพาต หัวใจอาจหยุดเต้นถ้ามีระดับ K+ สูง เลือดมีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น (เก็บเลือดนานความเป็นกรดเพิ่ม และ K+ เพิ่ม)
Growth Factors
เป็นกลุ่มของสารโปรตีนโพลีเปปไทด์ (polypeptide) ที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นหรือเหนี่ยวนำให้เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์ โดยกลุ่มของสารกระตุ้นการเจริญอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ เรียกว่า hemopoietic growth factors
ยาที่ใช้
erythropoietin หรือ
epoetin (EPO)
จัดเป็นยาในกลุ่ม erythropoiesis stimulating agents (ESAs) ยา epoetin ในบัญชียาหลักแห่งชาติมี2 ชนิด ได้แก่ epoetin alfa และ epoetin beta ได้ยาที่มีลักษณะทางภูมิคุ้มกันและทางชีววิทยาที่ไม่แตกต่างจากฮอร์โมน erythropoietin จากไต
ทำหน้าที่กระตุ้นการแบ่งตัวและการพัฒนาของเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกไปเป็นเม็ดเลือดแดง และทำหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์เฮโมโกลบิน และส่งเรติคูโลไซต์จากไขกระดูกออกไปสู่กระแสเลือด
ข้อบ่งใช้
สำหรับ ภาวะเลือดจางจากโรคไตเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่นที่รักษาได้
Epoetin (EPO) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การอุดกั้นหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงเป็นเหตุให้เกิดโรคของหัวใจและหลอดเลือดที่ร้ายแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะ Pure red cell aplasia (PRCA)
ผลค้างเคียงที่พบบ่อย (>10%)
ความดันเลือดสูง (พบได้ 5% ถึง 24%)
ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ภาวะบวมน้ำ มีไข้ (พบได้ 29% ถึง 51%)
เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ คัน เจ็บตาม ผิวหนัง ผื่นขึ้น คลื่นไส้ (พบได้ 11% ถึง 58%)
อาเจียน (พบได้ 8% ถึง 29%) ท้องผูก (พบได้ 42% ถึง 53%)
ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ ชา ไอ แน่นจมูก หอบเหนื่อย