Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย HEENT - Coggle Diagram
การตรวจร่างกาย HEENT
การตรวจปากและช่องปาก
-
-
เยื่อบุปาก : ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องดูและอาจใช้ไม้กดลิ้นช่วย สังเกตว่ามีบาดแผลตุ่มหนอง สีซีดหรือไม่ ปกติเยื่อบุปากมีสีชมพู ไม่มีแผลหรือตุ่ม
เหงือกและฟัน : ดูสี อาการบวม บาดแผล การหดร่นของเหงือก เลือดออกหรือไม่ สังเกตดูฟันว่ามีกี่ซี่ มีฟันผุ ฟันโยก ฟันปลอม มีหินปูนเกาะหรือไม่
-
ลิ้น : ดูขนาด อาการบวม เนื้องอก ดูลักษณะว่ามีลิ้นเลี่ยนไม่มีปุ่มรับรส ซึ่งพบในผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก ลิ้นเป็นแผนที่จะพบในเด็กที่เป็นภูมิแพ้ สังเกตว่าเป็นฝ้าขาวหรือไม่
ทอลซิล และผนังคอ : ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องดูและใช้ไม้กดลิ้นช่วยโดยไม้กดลิ้นตรงกลางใกล้โคนลิ้นหรือประมาณ1/3 จากโคนลิ้นไม่ต้องแลบลิ้น ให้สังเกตดูว่าทอลซิลโตหรือไม่ ขณะเดียวกันให้ผู้ใช้บริการร้อง อา ทำให้เพดานอ่อนและลิ้นไก่ยกขึ้นทำให้เห็นผนังคอชัดเจน การดูผนังคอ สังเกตดูว่าบวมแดง มีตุ่มหนองหรือไม่ การสังเกตต่อมทอลซิลปกติจะอยู่ระหว่างanterior และposterior pillarขนาดจะไม่โตเกินpillarถ้ามีขนาดโตเกินให้รายงานเป็นเกรด คือใช้ลิ้นไก่เป็นเกณฑ์ หากโตจนถึงลิ้นไก่ให้รายงานเป็นเกรด4 ถ้าโตถึงระดับครึ่งหนึ่งของระยะทางถึงลิ้นไก่ให้รายงานเป็นเกรด2 หากถึงระดับ3/4ของระยะทางถึงลิ้นไก่ให้รายงานเป็นเกรด3 และหากโตแค่ระดับ1/4ของระยะทางลิ้นไก่ให้รายงานเป็นเกรด1
การคลำต่อมน้ำลาย
คลำดูขนาดของต่อมน้ำลายทั้งสามคู่ คือ parotid glandที่หน้าหู submaxillary gland อยู่ใต้ขากรรไกรล่างเยื้องไปข้างหลังใกล้ramusของกระดูก mandible ส่วนsublingual gland อยู่ใต้ลิ้นซึ่งคลำหาไม่ได้ หากมีการอักเสบอาจเห็นใต้โคนลิ้นบวม
การตรวจต่อมน้ำเหลือง
-
-
-
เมื่อมีโรคหรือมีการอักเสบที่อวัยวะใด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่อยู่ใกล้สุดจะมีการบวมโตขึ้นกว่าปกติจนคลำได้ ถ้าคลำพบขนาดมากหรือน้อยกว่า1cm. แสดงว่าต่อมน้ำเหลืองโต เรียก Lymphadenopathy
-
การตรวจศีรษะ
-
การดู
-
-
-
ปกติศีรษะจะต้องสมมาตร ส่วนขนาดจะผันแปรตามวัย เส้นผมต้องไม่แห้งกรอบหรือขาดง่าย หากพบอาจบอกถึงภาวะทุพโภชนาการ การติดเชื้อราบนหนังศีรษะจะพบการหลุดร่วงเป็นหย่อมๆของเส้นผม หนังศีรษะมีขุยหรือรังแค
การคลำ
ผู้ตรวจยืนด้านหน้าของผู้ใช้บริการ ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางคลำวนเบาๆให้ทั่วศีรษะ โดยเริ่มจากด้านหน้าไล่ไปจนทั่วท้ายทอย ในเด็กควรคลำดูรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะว่าแยกห่างจากกันหรือเกยซ้อนกันหรือกระหม่อมยุบลงไปหรือไม่ ปกติจะคลำไม่พบก้อน ไม่พบต่อมน้ำเหลือง
การตรวจใบหน้า
-
การดู
สังเกตความสมมาตรของใบหน้า ความสมดุลของอวัยวะบนใบหน้า ได้แก่ ตา จมูก ปาก ลักษณะของผิวหน้า อาการบวม รอยโรค ตุ่ม ผื่น การแสดงออกของใบหน้า สังเกตร่องแก้ม
ปกติใบหน้าทั้งสองด้านจะสมมาตรกัน ไม่บิดเบี้ยว สีผิวหน้าจะตามเชื้อชาติ ใบหน้าไม่บวม ร่องแก้มจะเป็นร่องลึกเท่ากันทั้งสองข้าง หากไม่เท่ากันแสดงถึงการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าในด้านตรงข้ามกับด้านที่ถูกดึงรั้งขึ้น ทดสอบโดยการให้ผู้ใช้บริการยิ้มหรือยิงฟัน
ภาวะผิดปกติ เช่น ใบหน้ามีรูปร่างกลมที่ เรียกว่า Moon Face จะมีลักษณะแก้มป่อง ผิวหน้าแดง พบในผู้ป่วยที่ใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือพบผื่นแดงบริเวณข้างปีกจมูกทั้งสองข้าง เรียกว่า malar rash หรือเรียกตามรูปร่างที่คล้ายปีกผีเสื้อว่า butterfly rash พบในผู้ป่วยโรค Systemic Lupus Erythematosus
การคลำ
คลำหาตำแหน่งหรือก้อนบนหน้าและคลำเพื่อตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวอาหารซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่3มัด และมีวิธีการตรวจ ดังนี้
1.กล้ามเนื้อ temporalis เป็นกล้ามเนื้อรูปพัด อยู่บริเวณแอ่งกระดูกขมับทั้งสองข้าง ทำหนาที่ยกขากรรไกรล่างขึ้น ซึ่งตรวจโดยให้ผู้ใช้บริการกัดฟันแน่น ผู้ตรวจเอามือคลำที่ขมับทั้งสองข้าง ปกติจะพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเท่ากันทั้งสองข้าง
2.กล้ามเนื้อ massector เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรง อยู่ทางด้านข้างของกระดูกขากรรไกรล่างโดยทอดตัวจากบริเวณกระดูกโหนกแก้ม ไปยังมุมของขากรรไกรล่างทำหน้าที่ยกขากรรไกรล่างขึ้น ตรวจโดยให้ผู้ใช้บริการกัดฟันแน่น ผู้ตรวจเอามือคลำที่แก้มบริเวณฟันกรามทั้งสองข้าง ปกติจะพบการเกร็งตัวเป็นสันนูน เท่ากันทั้งสองข้าง
- กล้ามเนื้อ pterygoid เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวในแนวนอน บริเวณส่วนกลางของขากรรไกรล่าง ทำหน้าที่อ้าปากและยื่นขากรรไกรล่าง การตรวจโดยให้ผู้ใช้บริการอ้าปากเต็มที่ ผู้ตรวจใช้มือดันคางขึ้นอีกมือกดศีรษะลงเพื่อให้หุบปาก ปกติจะต้านแรงได้และไม่มีอาการเฉของมุมปาก ถ้าพบแสดงถึงการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
การตรวจตา
ส่วนประกอบภายนอกดวงตา ประกอบด้วย คิ้ว(eyebrow) , ขนตา(eye lashes) , เปลือกตาหรือหนังตา(eyelids or palpebra) ซึ่งประกอบด้วยหนังตาบน(upperlid)และหนังตาล่าง(lowerlid)โดยด้านบนจะเคลื่อนไหวได้มากกว่าด้านล่าง ผิวหนังบริเวณเปลือกตาจะบอบบาง ภายใต้ไม่มีไขมัน เมื่อมีน้ำหรือเลือดมาคั่งจะทำให้บวมมาก บริเวณหางตาของเปลือกตาบนจะมีต่อมน้ำตา(lacrimal gland)มีหน้าที่ผลิตน้ำตามาหล่อลื่นเยื่อบุตาและกระจกตาให้ชุ่มชื้น น้ำตาที่ถูกขับออกมาจะไหลมาทางหัวตา น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตาและเข้าไปในจมูก ทำให้คัดจมูกได้
ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่า ลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตาหรือฉากตา
2.ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (lris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียก รูม่านตา(Pupil)ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้า สามารถปรับให้หดและขยายได้ เพื่อให้เหมาะกับความเข้มของแสง ถ้าสว่างมากม่านตาจะยืดออก รูท่านตาก็จะเล็กลง ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลงหรือถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะหดตัวทำให้รูม่านตาเปิดกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
3.แก้วตา (Lens)อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆเหมือนแก้วคล้ายเลนส์นูนธรรมดา มีเอ็นยึดเเก้วตายึดระหว่างแก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อนี้ยึดโดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหนาที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกลทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนทุกระยะ
1.ตาขาว (Sclera) ส่วนสีขาวของนัยน์ตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตามีกล้ามเนื้อยึดอยู่6มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายและขวาหรือขึ้น ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใส เรียก กระจกตา(Cornea)ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวนการมองเห็นและทำให้เคืองตามาก ถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
4.จอตาหรือฉากตา (Ratina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วย ใยประสาทซึ่งไวต่อแสง เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพตามที่เห็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตาซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายว่าเห็นภาพอะไรอยู่
-
การตรวจหู
ตรวจเฉพาะหูชั้นนอกและแก้วหู ส่วนหูชั้นกลางและหูชั้นในไม่สามารถตรวจโดยตรงได้ แต่ตรวจเฉพาะการได้ยินและการทรงตัว
-
การดู
การดูแก้วหู เมื่อใช้ไฟส่องจะพบว่าแก้วหูจะมีลักษณะเหมือนกระจกฝ้า สีเทา สะท้อนแสงวาว ถ้าพบว่าแก้วหูบุ๋มหรือโป่งออกและช่องหูชั้นนอกมีสีแดง เกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางหรือถ้าเห็นรูโหว่แสดงว่าแก้วหูทะลุ
การดูช่องหู ใช้ไฟฉายหรือqtoscope ซึ่งการใช้ otoscopeให้เลือกspeculumจากอันใหญ่ก่อนโดยให้ผู้ใช้บริการเอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม ผู้ตรวจดึงใบหูเพื่อปรับรูหูให้อยู่ในแนวตรงทำให้เห็นรูหูชัดเจน สังเกตว่ามีขี้หู มีการอักเสบหรือมีสิ่งคัดหลั่งออกมาหรือไม่
ดูระดับของใบหู ปกติขอบใบหูด้านบนจะอยู่แนวเดียวกับระดับสายตาและเอียงประมาณ10องศาในแนวตั้ง ถ้าตั้งสูงหรือต่ำกว่าระดับตามักพบในคนที่สติปัญญาอ่อน ดูรูปร่างของใบหูและบริเวณใกล้เครียงว่ามีก้อน ถุงน้ำหรือตุ่มหนองหรือไม่
การคลำ
ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วคลำใบหูเพื่อประเมินว่ามีก้อน กดเจ็บหรือไม่ ถ้ากดแล้วปวดบริเวณกกหูแสดงว่ามีการอักเสบของกระดูกมาสตอยด์หรือต่อมน้ำเหลืองหลังหู
การตรวจจมูกและโพรงไซนัส
-
การดู
ดูรูปร่างลักษณะภายนอกว่าบิดเบี้ยวหรือไม่ ดูปีกจมูกว่าอักเสบบวมแดงหรือไม่ ดูภายในรูจมูกโดยให้ผู้ใช้บริการเงยหน้าขึ้น ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือข้างที่ไม่ถนัดแตะที่ยอดจมูกและดันขึ้นหรือใช้เครื่องถ่างจมูก ถ่างให้เห็นภายในช่องจมูกได้ชัดเจน ใช้มือข้างที่ถนัดถือไฟฉายหรือotoscopeส่องเข้าไปในจมูก สังเกตดูเยื่อบุจมูกว่าบวมแดง มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติหรือไม่ เช่น น้ำมูก หนอง เลือดกำเดา สังเกตผนังกั้นจมูกว่าบิดเบี้ยว มีเนื้องอกหรือไม่ ปกติเยื่อบุจมูกเป็นสีชมพู อาจมีสิ่งคัดหลั่งที่มีลักษณะใสไม่มาก ผนังกั้นจมูกตรง
การคลำหรือเคาะ
โพรงไซนัสที่สามารถตรวจจากภายนอกได้ คือ frontal sinus อยู่บริเวณหัวคิ้วทั้งสองข้างและmaxillary sinus อยู่บริเวณปีกจมูก ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือกดหรือใช้นิ้วเคาะบริเวณโพรงไซนัส เพื่อประเมินอาการเจ็บปวด ปกติกดหรือเคาะจะไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าพบแสดงถึงการอักเสบของโพรงไซนัสนั้นๆ
การตรวจคอ
การดู
ดูลักษณะผิวหนังของคอว่ามีผื่น บาดแผล บวมหรือมีก้อนเนื้อหรือไม่ สังเกตหลอดเลือดบริเวณคอว่าโป่งนูนหรือไม่ สังเกตการทำงานของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid โดยให้ผู้ใช้บริการก้มหน้าเอาคางชิดอกและเอียงศีรษะ หันหน้าซ้ายขวา สังเกตว่ามีอาการคอแข็งเกร็งหรือเจ็บปวดขณะทำหรือไม่ ดูก่อนนูนบริเวณคิ เช่นบริเวณต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ต่อมน้ำลามบวมโตหรือไม่
การดูกล้ามเนื้อSternocleidomastoid : ให้ผู้ใช้บริการก้มหน้า คางชิดอก เอียงศีรษะไปด้านซ้ายและขวา หมุนศีรษะไปด้านซ้ายและขวา
-
-
การคลำ
-
การคลำหลอดลม : ว่าอยู่แนวกลางหรือไม่ โดยผู้ตรวจอยู่ด้านหน้าของผู้รับบริการ ใช้นิ้วขี้วางที่ตำแหน่ง supra sternal notch แล้วลากเป็นแนวตรงหรืออาจตรวจโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง โดยกลางนิ้วให้หลอดลมอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสองแล้วลากนิ้วจากตำปหน่ง supra sternal notch ขึ้นไป สังเกตว่าลากได้ตามแนวตรงหรือเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ ปกติจะลากได้ตามแนวตรง
การคลำต่อมไทรอยด์ สามารถคลำได้ทางด้านหน้าและด้านหลังก็ได้ ใช้หลักการเดียวกันคือสอดมือเข้าใต้ Sternocleidomastoidและคลำขณะที่ผู้ป่วยกลืนน้ำลาย การฟัง : ใช้ Stethoscope ฟังว่ามีเสียงฟู่(Bruit)หรือไม่เกิดจากมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น
การคลำกล้ามเนื้อSternocleidomastoid : ให้ผู้ใช้บริการหันศีรษะไปด้านตรงข้าม ผู้ตรวจวางมอบริเวณคางและแก้ม จากนั้นบอกให้ผู้ป่วยหันศีรษะกลับผู้ตรวจใช้มือดัน
-