Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิ…
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
การบำบัดรักษาทางกาย (Somatic therapy)
จิตเภสัชบำบัดและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs or Major transquilizer drugs)
1) Phenothiazine derivatives
2) Thioxanthene derivatives
3) Butyrophenone derivatives
4) Dihydroindolone derivatives
5) Dibenzoxapine derivatives
ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant drugs)
ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant drugs)
1) Conventional antidepressant
ข้อบ่งใช้
(1) โรคซึมเศร้า
(2) อาการซึมเศร้าที่เกิดจากยา โรคทางกายและโรคของสมอง
(3) อาการซึมเศร้าที่พบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น จิตเภท โรคกังวล
(4) โรคประสาทกลัวที่มีอาการ Panic บ่อย ๆ นอนไม่หลับ
(5) อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) ในเด็ก
อาการข้างเคียง
(1) ง่วงนอน คอแห้ง ท้องผูก ถ่ายปัสสาวะออกช้า อาการจะลดลงในเวลา 2-3 สัปดาห์ควรช่วยเหลือตามอาการ
(2) ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มือสั่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย นั่งไม่ติดให้ระมัดระวังอุบัติเหตุ หกล้ม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ สอนให้ผู้ป่วยเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ
(3) ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด อาการสำคัญ คือ มีความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ จึงควรตรวจวัดระดับของความดันโลหิตอย่าสม่ำเสมอ
2) Secondary generation antidepressants
ข้อบ่งใช้
(1) โรคซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุ
(2) โรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคสมอง โรคไต โรคตับ
(3) โรคย้ำคิดย้ำทำ
(4) โรคทางจิตเวชเนื่องจากภยันตราย
(5) การรับประทานอาหารจุผิดปกติ (Bulimia nervosa)
(6) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
(7) ภาวะอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder)
(8) โรคซึมเศร้าในผู้ป่วยตั้งครรภ์ (ภายหลังตั้งครรภ์ 3 เดือนไปแล้ว
ยาควบคุมอารมณ์
(Mood-stabilizing drug)
ลิเทียมคาร์บอเนต (Lithium Carbonate)
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีปัญหาทางหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองถูกทำลายและผู้ที่ขาดน้ำอย่างรุนแรงผู้ที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก และมารดาที่ให้นมบุตร
ข้อบ่งใช้
รักษา Mania
ป้องกันการเป็นซ้ำของโรค Bipolar disorder ทั้งระยะแมเนียและระยะซึมเศร้า
ยาคลายกังวล (Anxiolytic, Antianxiety drug or minor transquilizer drugs)
ข้อบ่งใช้
1) โรคทางจิตเวชที่มีอาการกังวล เช่น ตื่นเต้นง่าย พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย หอบ(Hyperventilation)
2) ใช้เป็นยานอนหลับ
3) ใช้รักษา Delirium tremens
4) โรคลมชัก เพื่อแก้อาการชัก และช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
5) โรคของ Neuromuscular ที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น cerebral palsy บาดทะยัก
6) อาการก้าวร้าว รุนแรง
อาการข้างเคียง
ง่วงนอน ความคิดช้า อาจมีสับสน ตื่นเต้น วุ่นวาย ศีรษะหมุน ผื่นตามผิวหนัง และคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการเสพติดได้ถ้าใช้นาน ๆ ไม่ควรใช้คู่กับบาบิทูเรตและแอลกอฮอล์
การรักษาด้วยไฟฟ้า
การรักษาทางจิตเวชโดยใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนจำกัดผ่านเข้าสมองในระยะเวลาจำกัด ทำให้เกิดอาการชักเกร็งทั้งตัว (Grandmal Seizaue) ทำให้ความผิดปกติทางจิตบางชนิดลดลง
ข้อบ่งใช้ในการรักษา
1) ผู้ป่วยที่อาการเศร้าทุกชนิด และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
2) ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่คลั่งหรือซึมเฉย (Catatonic Schizophrenia)
3) โรคจิตในวัยเสื่อมในระยะเศร้า
4) โรคความผิดปกติของอารมณ์ทั้งในระยะคลั่งและระยะเศร้า
5) อาการทางจิตเวชอื่นๆ ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
การผูกยึดและการจำกัดพฤติกรรม
การผูกมัด (Physical restrain)
ใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 3-5 คนวิธีการนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องรู้ขั้นตอนในการดำเนินงาน ทำอย่างรวดเร็ว มั่นใจ ไม่กลัว ก่อนทำพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ 1 คน ต้องพยายามพูดให้ผู้ป่วยสนใจ เพลิดเพลิน เมื่อผู้ป่วยเผลอ เจ้าหน้าที่ 2 คน จะจับแขนผู้ป่วยไว้คนละข้าง แล้วนำผู้ป่วยไปไว้ในห้องพักที่เตรียมไว้ กรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมต้องให้เจ้าหน้าที่อีก 2 คนยกตัวผู้ป่วยขึ้นให้เท้าลอยจากพื้นแล้วผูกยึดตัวผู้ป่วย
การใช้ยาและการจำกัดขอบเขต
ขั้นตอนในการทำ
1) วางแผนให้รอบคอบว่าจะหยุดพฤติกรรมผู้ป่วยแบบใด ใครมีหน้าที่ช่วยเหลือในครั้งนี้บ้าง ต้องใช้ความพร้อมเพรียงและความรวดเร็ว
2) บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะช่วยเหลือเขาโดยการจำกัดสถานที่
3) จับผู้ป่วยด้วยความนิ่มนวล พร้อมเพรียง และรวดเร็ว
4) อยู่เป็นเพื่อนระยะหนึ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ใช่การทำโทษแต่เป็นการช่วยเหลืออย่างหนึ่ง ให้สัญญาว่าจะมาเยี่ยมอีก
5) เยี่ยมผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อประเมินดูว่าเขาสามารถควบคุมตนเองได้แล้วหรือยัง
6) กรณีผู้ป่วยหลังให้ยาต้องทดสอบอาการรู้สึกตัวก่อนจึงจะแก้มัดได้
การพยาบาล
1) ทีมผู้รักษาจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยมีความสม่ำเสมอทั้งคำพูด และท่าทาง
2) ให้ความนับถือผู้ป่วยในฐานะบุคคล ๆ หนึ่ง ควรบอกผู้ป่วยทุกครั้งที่จะจำกัดพฤติกรรมระยะเวลา และพฤติกรรมที่จะจำกัด
3) การจำกัดพฤติกรรมควรใช้คำพูดก่อน ถ้าไม่ได้ผลจึงจะใช้วิธีผูกมัด และจำกัดบริเวณ
4) ขณะที่ควบคุมผู้ป่วย พยาบาลต้องไม่พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกว่าผู้ป่วยพูดไม่รู้เรื่อง แต่ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าการที่เราทำเช่นนี้ไม่ใช่การลงโทษแต่เป็นการช่วยผู้ป่วยในการควบคุมพฤติกรรมไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น
5) ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ไม่ทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกลงโทษและต้องตรวจดูการไหลเวียนเป็นระยะ ๆ อาจเปลี่ยนท่าให้ผู้ป่วยทุกครึ่งชั่วโมง
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (Milieu therapy)
ความหมาย
การจัดสภาพบรรยากาศเพื่อการบำบัดอย่างมีจุดมุ่งหมายเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชอย่างมีแบบแผน มีหลักการ มีวัตถุประสงค์ และวิธีการเฉพาะซึ่งต่างจากผู้ป่วยทั่วไป
ลักษณะของ Milieu therapy
1) มีโปรแกรมสำหรับการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
2) มีรูปแบบการปกครองตนเอง เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบ และรู้จักพึ่งพาตนเองลดการถดถอย และให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกระทำต่าง ๆ
3) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบมากขึ้น
4) มีความหลากหลายของกิจกรรมบำบัด
5) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับครอบครัว
6) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกไปสู่ชุมชน
7) ทีมสุขภาพจิตต้องร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
8) ทีมสุขภาพจิตต้องมีความเป็นมนุษย์ในตนเอง คือ มีความรัก มีทัศนคติที่ดี มีการให้เกียรติกัน
วัตถุประสงค์
1) ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดทัศนคติที่ดีต่อทีมสุขภาพจิต
2) เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นการฝึกทักษะการอยู่ในสังคม
3) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของจิตใจ
4) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เป็นจริง
5) เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
บทบาทของพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการตอบสนองทางอารมณ์ เช่น ในยามโกรธจะบอกความรู้สึกโกรธแทนการแสดงออกให้เห็นทางพฤติกรรมว่ากำลังโกรธหรือแสดงพฤติกรรมรุนแรงเช่นที่คนทั่วไปและผู้ป่วยกระทำ
2) เป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมปกติ การตอบสนองต่อผู้ป่วยควรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสังคมทั่วไป ไม่ใช่ตอบสนองเพราะผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยเช่น สามารถปฏิเสธคำร้องขอของผู้ป่วยที่เป็นคำร้องขอที่มากเกินไป
3) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมทางสังคม เช่น พฤติกรรมการตอบรับในกรณีที่พยาบาลควรตอบรับ และพฤติกรรมการตอบปฏิเสธในกรณีที่ควรปฏิเสธ การแสดงความชื่นชมในกรณีที่มีผู้ทำสิ่งที่ควรชื่นชม การขอโทษ ขอบคุณ เป็นต้น
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
เป็นวิธีการรักษาทางจิตเวชวิธีหนึ่งที่นำหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
บทบาทของพยาบาล
1) เป็นผู้บำบัดหรือผู้ช่วยเหลือผู้บำบัด
2) ช่วยสถานที่และจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาแต่ละวิธี
3) ร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา
4) ให้กำลังใจผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจรักษาอย่างต่อเนื่อง
เทคนิคที่ใช้บ่อยในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
การใช้แรงเสริมพฤติกรรม (Reinforcement)
การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertive Training)
การขจัดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (Systemic Desensitization)
การเรียนรู้จากตัวแบบ (Social Modeling Technique)
การใช้ตัวกระตุ้นที่ไม่พึงพอใจ (Aversive Therapy)
การสร้างพฤติกรรมใหม่ (Behavior rehearsal)
การขจัดพฤติกรรม (Extinction)
กิจกรรมบำบัด (Activity therapy)
จุดมุ่งหมายในการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) เพื่อป้องกันการถดถอย (Regression) ของผู้ป่วย
2) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
3) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem)
4) เพื่อให้ผู้ป่วยมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอื่น ๆ รู้จักที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
5) เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของกลุ่มและบุคคลอื่น
6) เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสระบายความรู้สึก
7) เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในความเป็นจริงไม่อยู่กับการรับรู้ที่ผิด ๆ
8) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้จักตนเองรู้ถึงความสามารถของตนเอง
9) ให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียดให้กับผู้ป่วย
10) เพื่อช่วยในการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยจากการกระทำและพฤติกรรมของผู้ป่วยขณะอยู่ในกลุ่ม
บทบาทของพยาบาลในการจัดกิจกรรมบำบัด
1) มีความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรมนั้นๆ
2) เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมบำบัดตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกิจกรรม
3) ในระหว่างที่กำลังทำกลุ่มผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม และผู้สังเกตการณ์จะต้องคอยดูแลกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
4) ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
5) สร้างบรรยากาศในกลุ่มให้มีลักษณะของความเป็นมิตร ยอมรับและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
6) มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน
การบำบัดเชิงการรู้คิด
ขั้นตอนการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
1) สร้างสัมพันธภาพแห่งความไว้วางใจกับผู้รับการปรึกษา
2) ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมมองของแนวคิดทางปัญญาตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
3) แนะนำให้ผู้รับการปรึกษารู้จักการให้การปรึกษา โดยการปรับความคิดและพฤติกรรมรวมทั้งกระบวนการให้การปรึกษา
4) ให้ผู้รับการปรึกษามีความหวังในการที่จะปรับ ลดอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์ของตนเอง
5) ปรับความคาดหวังของผู้รับการปรึกษาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่จะได้จากการปรับความคิดและพฤติกรรม
6) ตั้งประเด็นสำหรับการให้การปรึกษาในวันนี้ ร่วมกัน
7) ระบุอารมณ์และให้คะแนนระดับความแรงของ อารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ณ ขณะปัจจุบัน
8) สำรวจเบื้องต้นถึงเรื่องราวของปัญหาของผู้รับการปรึกษา
9) ระบุปัญหาและตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
10) สอนผู้รับการปรึกษาถึงความเชื่อมโยงของ ความคิด อารมณ์พฤติกรรมและสรีระ
11) มอบหมายการบ้านให้ผู้รับการปรึกษาสังเกตความเชื่อมโยงของความคิดอารมณ์พฤติกรรมและสรีระ ของตนเองมาอย่างน้อย 1 เรื่อง
12) สรุปการสนทนาและให้ข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับการปรึกษา
นางสาวศศิกานต์ ชูแก้ว
รหัสนักศึกษา 62122301080
การบำบัดรักษาทางจิตใจหรือจิตบำบัด (Psychotherapy)
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
จิตบำบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy)
จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
การสะกดจิต (Hypnosis)
จิตบำบัดกลุ่ม
(Group Psychotherapy)
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม
พยาบาลทั่วไป ได้แก่ พยาบาลที่จบหลักสูตรการพยาบาลที่มีวุฒิปริญญาตรี จะทำหน้าที่บริหารงานในหน่วยรักษาให้การพยาบาลตามแผนการรักษา
พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจิตเวช หรือ Clinical nurse specialist สามารถทำจิตบำบัดได้ทั้งกับผู้ป่วยรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และเป็นที่ปรึกษาสำหรับพยาบาลทั่วไป และช่วยแพทย์ในการบำบัด
ครอบครัวบำบัด (Family Therapy)
เป็นวิธีการรักษาสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางจิตใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การกระทำหน้าที่ในครอบครัวทั่ว ๆ ไปดีขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงในสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดปัญหาหรือความไม่ลงรอยกันที่เกิดขึ้น
บทบาทของพยาบาล
1) ติดต่อญาติ นัดวัน เวลา สถานที่
2) จัดสถานที่ในการทำกลุ่ม ที่เงียบสงบ เป็นส่วนตัว
3) เยี่ยมครอบครัวเพื่อสังเกตดูสภาพแวดล้อม บรรยากาศของครอบครัว
4) อาจเป็น Leader หรือ Co-Leader
5) บันทึกพฤติกรรมของสมาชิกที่แสดงออกในขณะอยู่ในกลุ่ม