Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย Neurological - Coggle Diagram
การตรวจร่างกาย Neurological
การตรวจประสาทสมอง12 คู่ (Cranial nerve)
ประสาทสมองคู่ที่ 2 (Optic nerve) มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น รับแสง สี และภาพ การตรวจประสาทคู่นี้สิ่งที่ต้องทำการตรวจ คือ การตรวจวัดสายตา (Visual Acuity)
การตรวจลานสายตา (Visual Field)
การตรวจการตรวจจอตา(Funduscopic examination)
ประสาทสมองคู่ที่ 3 (Oculomotor nerve CNIII)
คู่ที่ 4 (Trochlearnerve CNIV), คู่ที่ 6 (Abducens nerve CNVI)
ประสาททั้ง 3 คู่นี้ จะทำงานประสานพร้อม ๆ กัน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาการตรวจ Accomodation )
รูม่านตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
ประสาทสมองคู่ที่ 1 (Olfactory Nerve) มีหน้าที่ในการดม
กลิ่น (Smell) ให้ผู้ป่วยหลับตาให้ดมกลิ่นแล้วบอก
ประสาทสมองคู่ที่ 5 (Trigeminal nerve CNV) เป็นการตรวจความรู้สึกเจ็บ (Pain) และความรู้สึกสัมผัส (Touch Sensation) และกล้ามเนื้อการเคี้ยว Painเป็นการตรวจความเจ็บโดยใช้เข็มหมุดปลายแหลมแตะตั้งแต่หน้าผาก แก้ม คาง รวมทั้งหนังศีรษะและมุมคางTouch Sensationโดยใช้สำลีแตะบริเวณผิวหน้าตามตำแหน่งเดียวกันและเปรียบเทียบกัน การเคี้ยวอาหารเป็นการตรวจกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยวอาหารโดยให้ผู้ป่วยขบกรามเข้าออก ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำที่กระพุ้งแก้มทั้งสองข้างคนปกติคลำพบการเกร็งบริเวณดังกล่าวเท่ากันทั้งสองข้าง
ประสาทสมองคู่ที่ 8 (Auditory nerve หรือ Acousticnerve) CNVII การตรวจหน้าที่ของการได้ยิน และฟัง โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Tuning Fork ช่วยตรวจ มี 2 วิธี คือ Air Condition และ Bone Conduction Weber's Test โดยใช้ Tuning Fork เคาะให้สั่นแล้วเอาปลายมาแตะกลางศีรษะ คนปกติจะได้ยินเสียงสั่นสะเทือนเท่ากัน
ประสาทสมองคู่ที่ 9 และ 10 (Glossopharyngeal and Vagus Nerve ) CNIX, CNX มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของลิ้นไก่ เพดานปาก หลอดคอ กล่องเสียง การหลั่ง น้ำลาย และการรับรสที่โคนลิ้น การตรวจเส้นประสาทคู่ที่ 9 และ 10 มีวิธีการตรวจพร้อมกัน ดังนี้ สังเกตว่ามีเสียงแหบหรือเสียงขึ้นจมูก หรือไม่ ให้ผู้ป่วยร้อง อา พยาบาลสังเกตการยกตัวของลิ้นไก่ ปกติลิ้นไก่จะยกขึ้นในแนวตรง
ประสาทสมองคู่ที่ 12 (Hypoglossal nerve CNVI) ให้ผู้รับบริการอ้าปากแลบลิ้นเข้าออกเร็วๆ พร้อมตวัดลิ้นไปมา สังเกตขนาดและลักษณะของลิ้น ถ้าลิ้นเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่ามีความผิดปกติและบอกให้ผู้รับบริการเอาลิ้นดุนแก้มพยาบาลออกแรงดันบริเวณแก้มช้ายขวาสังเกตความแข็งแรงของลิ้นในรายที่เป็นอัมพาตลิ้นข้างนั้นจะลีบย่น สันของลิ้นจะเฉเฉียงข้างที่เป็น
ประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial Nerve CNVII) หน้าที่ควบคุมการยักคิ้ว หลับตาลืมตา การยิ้ม และรับรสการตรวจกล้ามเนื้อ
Frontalis โดยให้ผู้ป่วยยักคิ้ว หรือขมวดคิ้ว ดูหน้าผากย่น
การตรวจกล้ามเนื้อ Orbicularis Oculi โดยให้ผู้ป่วยหลับตาตามปกติก่อนในคนปกติจะหลับตาได้สนิท ในรายที่ผิดปกติจะมองเห็นตาขาว จากนั้นผู้ตรวจใช้นิ้วพยายามเปิดตาผู้ป่วย ปกติจะไม่สามารถเปิดตาได้
การตรวจกล้ามเนื้อ Zygomaicus โดยให้ผู้ป่วยยิงฟันให้เต็มที่ ผู้ตรวจดูการยกของมุมปาก
ประสาทสมองคู่ที่ 11 (Accessory Nerve) CNXI) หน้าที่ของประสาทสมองคู่ที่ 11 คือ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ Sternocleidomastiod และส่วนบนของ Traprzius muscle วิธีการตรวจ ให้ผู้ป่วยหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ผู้ป่วยพยายามดันคางกลับทางเดิม ในคนปกติจะต้านแรงผู้ตรวจได้ และจะเห็นกล้ามเนื้อ Sternocleidomastiod เกร็งตัวอย่างชัดเจน วิธีตรวจกล้ามเนื้อ Traprzius ให้ผู้ป่วยนั่งหรือยืนตัวตรงๆ สังเกตระดับไหล่ว่าเท่ากันหรือไม่ กล้ามเนื้อลีบว่ากันหรือไม่ ผู้ตรวจกดไหล่ของผู้ป่วย เพื่อดูกำลังของกล้ามเนื้อ
การตรวจระบบประสาทรับรู้สึก (Sensory System)
Vibration Sensation การรับรู้ความรู้สึกสั่นสะเทือน โดยการใช้ส้อมเสียงความถี่ เคาะให้สั่นแล้ววางบนหลังกระดูก เช่น ตาตุ่ม หัวเข่าข้อศอก ข้อมือ หรือตามกระดูกสันหลัง
Pain Sensation ,Touch Sensation การทดสอบความจำแนกลักษณะของวัตถุโดยการสัมผัส (Sterognosia) บอกให้
ผู้รับบริการหลับตา พยาบาลนำวัตถุที่คุ้นเคย เช่นปากกา ยางลบ กุญแจ วางในมือของผู้รับบริการและให้ผู้รับบริการบอกว่าคือวัตถุอะไรทดสอบทีละข้าง
Traced Figure Identification การรับรู้สิ่งที่เขียนบนผิวหนัง
การตรวจทั่วไปเช่น การเดิน ลักษณะที่แสดงออก
การตรวจระดับความรู้สึกตัว (Conciousness)
หรือระดับการรับรู้สติ การรับรู้วันเวลา สถานที่ บุคคล สติปัญญา ความจำ อารมณ์ ความคิด
การตัดสินใจการพูดและการใช้ภาษา การตรวจสภาวะทางจิตใจ (Mentalstatus) ประกอบด้วย การประเมินสภาพทางกาย และพฤติกรรมความสามารถในการรับรู้ ความมั่นคงทางอารมณ์ การพูดและการใช้ภาษาการประเมินท่าทางและการเคลื่อนไหวการแต่งกายและสุขวิทยาสังเกตและบันทึกการแต่งกาย แสดงออกทางสีหน้า ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา
การตรวจระบบประสาทมอเตอร์ (Motor System)
หรือการเคลื่อนไหว เป็นการตรวจดูว่ากล้ามเนื้อทำงานได้ปกติหรือไม่ มีการอ่อนแรงหรือไม่ ทำได้ง่ายโดยดารให้เดินกระโดดบนขาข้างเดียว ให้ทำ flexion และ extension ตามข้อต่อต่างๆโดยต้านแรงของผู้ตรวจ การวัด power of musscle แบ่งระดับได้เป็น 5 ระดับ (Grade)
Grade 3 สามารถเคลื่อนตามแนว vertical wfh
Grade 4 มีการอ่อนแรงเพียงเล็กน้อย
Grade 2 สามารถเคลื่อนต้านแรงดึงดูดของโลกตามแนว vertical ได้
Grade 5 ปกติ
Grade 1 สามารถเคลื่อนได้เล็กน้อยแต่เฉพาะในแนว horizontal
นอกจากนั้นควรตรวจดูความตึงตัว (tone) ของกล้ามเนื้อด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น อ่อนปวกเปียก (flaccid) แข็งแกร่ง (spastic) คลำดู mussle mass ด้วยว่ามี atrophy หรือไม่
Grade 0 ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้เลย
การตรวจการทำงานประสานกัน (Coordination)
เป็นการตรวจหน้าที่ในการทำงานประสานกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการทดสอบการทำงานประสานกันต่อไปนี้ ให้สังเกตว่าผู้ป่วยสามารถทำได้ราบรื่นและแม่นยำดีหรือไม่ ได้แก่ การทดสอบ finger to finger ให้ผู้ป่วยหลับตาและกางแขนออกเต็มที่ , แล้วเหวี่ยงแขนเข้าในให้เป็นวงจนปลายนิ้วทั้งสองข้างมาแตะกันตรงกลาง
การทดสอบ heel to knee ท่าที่เหมาะสมสำหรับตรวจคือท่าผู้ป่วยนอน ผู้ป่วยยกขาข้างหนึ่งขึ้นแล้ววางสันเท้าลงบนเข่าอีกข้าง หลังจากนั้นไถส้นเท้าไปตามหน้าแข้งและหลังเท้าจนถึงปลายเท้าด้วยความเร็วพอสมควร อาจให้ผู้ป่วยไถส้นเท้ากลับขึ้น
ไปอีกครั้งเพื่อจะได้มีโอกาสสังเกตนานขึ้น ทดสอบทีละข้าง
Romberg test ให้ผู้ป่วยยืนหลับตา เท้าชิดกัน หงายฝ่ามือและเหยียดแขนไปข้างหน้า สังเกตว่าผู้ป่วยสามารถทรงตัวอยู่ได้หรือไม่ หรือล้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ประเมินอาจออกแรงผลักผู้ป่วยเบาๆด้วยปลายนิ้วไปข้างใดข้างหนึ่ง
การตรวจปฏิกิริยาตอบสนอง (Reflexes)
การแบ่งระดับความไวดังนี้ 4+ ไวมาก, 3+ ไว, 2+ ปรกติ, 1+ น้อยกว่าปกติ, 0 ไม่มี ปฏิกิริยาตอบสนอง หรือ รีแฟลกซ์ คือ ปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นอย่างรวดเร็วอย่างอัตโนมัติโดยการเคลื่อนไหวหนีออก ซึ่งเป็นหน้าที่ของประสาทไขสันหลัง เช่น ถ้าเดินเหยียบของแหลมหรือของร้อนๆจะรีบชักเท้าหนีทันที รีแฟลกซ์จึงมีประโยชน์ต่อการขี้ตำแหน่งความผิดปกติของเส้นประสาทไขสันหลังของร่างกาย การตรวจปฏิกิริยาตอบสนอง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การตรวจปฏิกิริยาตอบสนองชนิดลึก (Deep tendon reflex) และการตรวจปฏิกิริยาตอบสนองชนิดตื้น
การซักประวัติ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past illness)
ประวัติครอบครัว (Family history)
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน (Present illness)
ประวัติทางสังคม ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอลล์ การสูบบุรี่
และการติดยาเสพติด
อาการสำคัญ (Chief complaint) เป็นอาการสำคัญที่นำให้ผู้รับบริการ
มาตรวจรักษา ได้แก่ อาการชัก ตาพร่ามัว การสูญเสียความรู้สึก
ปวดศีรษะมาก สูญเสียการทรงตัว ไม่รับรู้ความเจ็บปวด สูญเสียการรับรส ความจำเสื่อม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
Magnetic resonance imaging เป็นวิธีการตรวจโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นรายละเอียดของสมองหรือส่วนที่ต้องการตรวจได้ซัดเจนกว่าการตรวจ Computer tomography (CT)
Cerebral angiogram เป็นวิธีการฉีดสารทึบแสงเข้าทางหลอดเลือด Femoral artery ดูการอุดตันที่หลอดเลือดในสมองต่างๆภาวะเนื้องอกในสมอง
การตรวจทางรังสีComputer tomography (CT) เป็นวิธีการฉายภาพทางรังสีที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตัดต่อและเลือกภาพให้มีความชัดเจนและมองเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น
Electroenphalography เป็นวิธีที่ใช้วัดคลื่นไฟฟ้าบริเวณเปลือกนอกของเนื้อสมอง (Cerebral cortex)
การเจาะหลัง (Lumbar puncture) การเจาะหลังเป็นบทบาทของแพทย์ในการวิเคราะห์ความผิดปกติของระบบประสาท