Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย Chest Heart and Lung, oWhDvLtIubK-qQLyvSYTmw,…
การตรวจร่างกาย
Chest Heart and Lung
ตำแหน่งสำคัญบริเวณทรวงอก
Sternal angle
เป็นส่วนต่อระหว่าง Manubrium sterni กับ sternum เป็นประโยชน์ต่อการนับกระดูกซี่โครง
Spinous process of T1
เมื่อก้มคอจะคลำปุ่มนูน spine ได้ปุ่มบน คือ spinous process ของ C7 และปุ่มล่าง คือ spinous process ของ T1
ใช้นับกระดุกสันหลัง
Inferior angle of scapula
เป็นตำแหน่งที่ตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 7 ด้านหลังเมื่อนั่งหลังตรง
เส้นสมมติ
(Imagination line)
Midsternal line
Midclavicular line
Anterior axillary line
วิธีการตรวจทรวงอก และปอด
การสังเกต
สังเกตลักษณะผิวหนัง มีผื่น แผล spider nevi หรือ spider angioma หรือไม่
สังเกตขนาด และรูปร่างทรวงอก ปกติเส้นผ่านศูนย์กลางจากด้านหน้าไปด้านหลังจะแคบกว่าด้านข้าง 5 : 7
ทรวงอกที่
ผิดปกติ
ที่พบบ่อย
อกถังเบียร์ (Barrel chest) ทรวงอกมีขนาดใหญ่กว่าปกติ คล้ายถังเบียร์ 1 : 1 มักพบในผู้ที่เป็นโรคปอด หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
อกไก่ (Pigeon chest) มีกระดูกกลางหน้าอกโป่งยื่นออกมา คล้ายอกไก่ มักพบในผู้ที่เป็นโรคกระดูกอ่อน
อกบุ๋ม (Funnel chest) มีหน้าอกบุ๋มเข้าไป พบมากในโรคกระดูกอ่อนในเด็ก
สังเกตลักษณะเต้านม หัวนม
สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก อัตราการหายใจ
การคลำ
คลำตำแหน่งของหลอดลม
ให้ผู้ป่วยนั่ง หรือนอนก้มคอ และใช้ปลายนิ้วชี้ และนิ้วกลางกดไปที่ suprasternal notch โดยให้นิ้วอยู่เเต่ละข้างของหลอดลม และเปรียบแทบช่องว่าระหว่างหลอดลมกับ sternocleidomastoid เท่ากันหรือไม่
ให้ผู้ป่วยนั่งตรง ใช้นิ้วคลำหากึ่งกลางของ suprasternal notch และเคลื่อนนิ้วหา trachea สังเกตว่าสัมผัสได้ที่จุดกึ่งกลางหรือไม่
คลำการขยายตัวของปอด
ตรวจด้านหน้า
วิธีคล้ายตรวจด้านหลัง วางมือที่แนวกระดูกซี่โครงที่ 6 และสังเกตการเคลื่อนที่ออกจากจุดกึ่งกลางของนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
ตรวจด้านหลัง
วางนิ้วหัวแม่มือให้ขนานกับกระดูกซี่โครงคู่ที่ 10 ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ สังเกตความต่างของการเคลื่อนที่ของนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
คลำเสียงสะท้อน
ใช้สันมือวางบนผนังอกด้านหลังในตำแหน่งที่เท่ากันจากบนลงล่าง
ให้ผู้ป่วยนับ 1 2 3 สัมผัสเสียงสะท้อนที่เกิดทั้งสองข้างว่าเท่ากันหรือไม่
คลำตำแหน่งที่กดเจ็บ
Costochondral junction
และตำแหน่งอื่นๆ
การเคาะ
การเคาะปอดทางด้านหลังอยู่ในท่านั่ง
เริ่มเคาะจาก intercostal space ด้านบนไล่ลงมาด้านล่างสลับซ้ายขวา ต้องมีเสียงกังวาลเท่ากัน
การฟังเสียง
เสียงหายใจ (Breath sound) เกิดจากการเคลื่อนไหวของอากาศในหลอดลม ในขณะหายใจเข้า-ออกของคนปกติ
เสียงหลอดลมใหญ่
(Bronchial or tracheal breath sound)
เสียงหลอดลม และถุงลม
(Broncho - Vesicular breath sound)
เสียงถุงลม
(Vesicular breath sound)
เสียงผิดปกติ
Crepitation เป็นเสียงที่เกิดขึ้นที่หลอดลมแขนงเล็กๆ
และถุงลม ที่มีเสมหะขณะหายใจออกถุงลมจะแฟบ
Rhonchi และ Wheeze เกิดจากทางเดินหายใจตีบแคบ
วิธีการตรวจหัวใจ
การสังเกต
สังเกตผนังทรวงอกว่าโป่งนูน(Bulging)
หรือไม่ ถ้าโป่งนูนด้านซ้ายของ sternum แสดงว่ามี Right ventricular hypertrophy (RVH): คือ ภาวะหัวใจ ห้องล่างขวาโต
ดู Apical impulse หรือ Apical beat
ตำเเหน่งที่หัวใจเต้นเเรงที่สุด เรียกว่า PMI
การคลำ
คลำตำแหน่ง PMI
ปกติจะอยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ตรงกับ MCL เป็นตำแหน่งของ Apex
คลำเพื่อตรวจหัวใจโต
(Ventricular heave)
คลำ Thrill
คือ ปรากฎการณ์ของ Murmurs ที่ดังมากจนเกิดการสั่นสะเทือนของ Chest wall เหมือนคลื่นมากระทบที่ฝ่ามือตอนตรวจ ต้องคลำทั้ง Precordial area
การฟัง
ควรฟังบริเวณ Precordial area ทั้งหมดฟังที่ตำแหน่งลิ้นหัวใจทั้ง 4 แห่ง
การใช้ Stethoscope
ด้าน Bell - ฟังเสียงต่ำเวลาตรวจไม่ควรกดเเน่น
ด้าน Diaphragm - ฟังเสียงสูงเวลาตรวจกดให้แน่น
ลักษณะเสียง = เบา แรง พอดี
ความสม่ำเสมอของจังหวะการเต้น
ความถี่ของเสียง = ช้าหรือเร็ว อัตราการเต้นนับเต็ม 1 นาที
เสียงหัวใจปกติ Normal heart sound
S1
เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ mitral and tricuspid valve
ช่วงหัวใจบีบตัว ฟังชัดที่สุดตรง apex
S2
เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ pulmonic and aortic valve
ช่วงหัวใจคลายตัว ฟังชัดที่สุดตรง pulmonic and aortic valve