Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย HEENT, น.ส.เวียงวิภา กองคำ ห้อง 2ฺB เลขที่ 65 รหัสนักศึกษา…
การตรวจร่างกาย HEENT
การตรวจลักษณะทั่วไป
การดู
- เพศ วัย รูปร่าง
- ระดับความรู้สึกตัว สภาวะจิตใจ
- สีหน้าและอารมณ์
- ท่าทางการเดินการเคลื่อนไหว
- การแต่งกาย ความสะอาด
- ลักษณะการพูด
การตรวจผิวหนัง
- Skin color : ขาว น้ำตาล เหลือง ซีด ดีซ่าน ตัวเขียว
- Skin texture : เรียบ หยาบ แห้ง แตก
- Skin turgor : ความตึงตัวของผิวหนัง
- Moisture : มากเกินไป เหงื่อออก
- Skin lesion : macule, patch, papule, plaque, nodule, tumor,
wheal, vesicle, bleb, pustule, rash, scar, keloid
- Bleeding lesion : Petechiae, purpura, ecchymosis, spider nevi
- Edema : บวมเป็นรูพรุน/ไม่บวมน้ำ
- ลักษณะของการบวม รอยบุ๋มลงไป แบ่งเป็น 4 ระดับ
- 1 + บวมเล็กน้อย กดบุ๋มลงไป 2 mm
- 2 + กดบุ๋มลงไป 4 mm
- 3 + กดบุ๋มลงไป 6 mm
- 4 + กดบุ๋มลงไป 8 mm คงอยู่นาน 2 – 5 นาที
การตรวจตา
การดู
- ตำแหน่งลักษณะภายนอก
- กระจกตา
- ตาขาว
- เยื่อบุตา
- คิ้ว (eye brow): การกระจายของคิ้ว การหลุดร่วง หยาบ แห้ง
- เปลือกตา (eye lid): หนังตาตกหรือไม่ (Ptosis) เปลือกตามีก้อน
- ขนตา (eye lash ): กระจายของขนตา มีขนตาม้วนเข้าข้างในหรือไม่
- ต่อมน้ำตา(Lacrimal gland) : การอักเสบของท่อน้ำตา ดูจะมีอาการบวมหัวตาและดั้งจมูก ถ้ากดอาจได้หนอง
- เยื่อบุตา ( conjunctiva) : ตรวจส่วนที่คลุมเปลือกตาด้านในอาจมีก้อน สีผิดปกติและส่วนที่คลุมตาขาวว่าซีด หรือแดง
- กระจกตา ( cornea): ปกติเรียบ ใส มีขอบสีขาวรอบๆพบในผู้สูงอายุ
- ตาขาว (sclera): เหลืองหรือไม่
ช่องหน้าม่านตา (anterior chamber): สังเกตดูความลึกมีเลือด
มีหนอง หรือน้ำ
- ตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตา ดูการเคลื่อนไหวของลูกตา 6 ทิศทางขวา ขวาบนขวาล่าง ซ้าย ซ้ายบน และซ้ายล่าง
- ตรวจ visual eye field การตรวจเพื่อดูว่าผู้เข้ารับการตรวจมีปัญหาลานสายตาหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ตรวจ ถ้าไม่เห็น แสดงว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่ 2
- ตรวจ accommodation ผู้ถูกตรวจจ้องมองที่ปลายนิ้ว หรือปลายดินสอ ห่างประมาณ 2 ฟุตจากนั้นผู้ตรวจเคลื่อนปลายนิ้วหรือปลายดินสอเข้าดั้งจมูก ถ้าไม่เห็น แสดงว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่ 3,4,6
- ตา : ดูว่ามีตาโปน (Exophthalmos) โดยดู Lid lag
การตรวจปาก
- ดูริมฝีปาก ว่าซีด แดง เขียวหรือไม่
- เหงือก เยื่อบุกระพุ้งแก้มมีแผลหรือไม่
- ผนังคอแดงหรือมีหนองหรือไม่
- ต่อมทอนซิลโต แดงหรือไม่
-
การตรวจจมูก
- ดูลักษณะภายนอกว่ามีการขยายของปีกจมูก
- ดูสันจมูก
- ดูลักษณะภายในใช้ไฟฉายส่องดู vestibule, nasal septum, turbinate ว่า บวม แดง ซีด มีริดสีดวงจมูก มีน้ำมูก
การตรวจศีรษะ
การดู
- ผม
- หนังศีรษะ
- ขนาดของศีรษะ
การคลำ
- ดูรูปร่าง ลักษณะผม ถ้าคลำพบก้อนต้องทดสอบว่ากดเจ็บหรือไม่ ขนาด รูปร่าง ความนุ่มแข็ง และฟังว่ามีเสียง Bruit หรือไม่
การตรวจหู
- ตรวจเฉพาะหูชั้นนอก และแก้วหู
- ตรวจเฉพาะการได้ยินและการทรงตัว
- ใบหู : ดูและคลำตำแหน่ง รูปร่าง เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ฝี
- รูหู : ดู ปกติรูหูยาวประมาณ 1 นิ้ว
- ผู้ใหญ่ จับใบหูดึงขึ้นข้างบนเฉียงด้านหลัง
- เด็กให้จับใบหูดึงลงข้างล่างเฉียงด้านหลัง
- เยื่อแก้วหู : ดูเยื่อแก้วหูว่ามีสีอะไร รอยแผล มีการดึงรั้ง รูทะลหรือไม่ ถ้าส่องไฟจะเห็น light reflex
การตรวจเล็บ
- Clubbing finger/ Digital clubbing : นิ้วปุ้ม
- Onycholysis : พบในเล็บเป็นเชื้อราหรือผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
- Spoon nail : โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
การตรวจใบหน้า
การดู
- รูปร่าง
- ความสมมาตร
- ขนคิ้ว
- ขนตา
- สีผิว
- รอยโรค
การคลำ
- หน้า : ลักษณะใบหน้ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น Down’s syndrome, Thalassemic face, Moon face Mask face ,
มีผื่นแดงที่หน้า Butterfly rash
- ตรวจดูความผิดปกติของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เช่น
การอ่อนแรงของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial nerve)
การตรวจโพรงอากาศ
การคลำ
โพรงอากาศการเคาะ
- Frontal sinus
- Maxillary sinus
การตรวจคอ
การดู
การคลำ
- หลอดลมคอ
- ต่อม Thyroid
- ต่อมน้ำเหลือง
- การดูกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid ให้ผู้ป่วยก้มหน้า คางชิดอก เอียงศีรษะไปด้านซ้ายขวา หมุนศีรษะไปด้านซ้ายและขวา
- การคลำกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid ให้ผู้ป่วยหันศีรษะไปด้านตรงข้าม ผู้ตรวจวางมือบริเวณคางและแก้ม จากนั้นบอกให้ผู้ป่วยหันศีรษะกลับผู้ตรวจใช้มือดัน
- การดูกล้ามเนื้อ Trapezius ให้ผู้ป่วยแหงนหน้าให้ศีรษะไปด้านหลังจนสุดยืดคอให้เต็มที่
- การคลำกล้ามเนื้อ Trapezius ให้ผู้ตรวจวางมือบนไหล่ทั้ง 2 ข้างจากนั้น ให้ผู้ป่วยยกไหล่ต้านแรงผู้ตรวจ
- การตรวจหลอดลมใช้การคลำให้ผู้ป่วยก้มคอเล็กน้อยจากนั้นให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือที่ถนัด แยงที่ส่วนของ suprasternal notch รู้สึกนุ่มอยู่บริเวณตรงกลาง
- หลอดลมเอียง เรียกว่า Trachea deviated to left/ right
- การตรวจว่ามีคอแข็งหรือไม่ นอนราบยกศีรษะให้คางชิดอก
ถ้าคอแข็งจะทำไม่ได้
- ถ้าตรวจพบว่ามี Neck stiffness เป็นอาการแสดงที่พบในผู้ป่วยที่มีการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมองและ / หรือ Subarrachnoid space เช่น มีเลือดออก หรือ มีการอักเสบ
การตรวจต่อมไทรอยด์
- การดู สังเกตตำแหน่งของต่อมไทรอยด์ว่ามีขนาดและรูปร่างอย่างไร ให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายเพื่อจะได้ สังเกตเห็นต่อมหรือ Nodule ของต่อมได้ง่ายขึ้น
- การคลำต่อมไทรอยด์ ผู้ตรวจอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ ใช้หลักการเดียวกันคือ สอดมือเข้าใต้ Sternocleidomastoid และคลำขณะที่ผู้ป่วย กลืนน้ำลาย
- การฟัง ใช้ Stethoscope ฟังว่ามีเสียงฟู่ (Bruit) หรือไม่
การตรวจต่อมน้ำเหลือง การดูและคลำ1.ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง เอียงศีรษะเล็กน้อยมาทางด้านที่กำลังถูกตรวจทำให้กล้ามเนื้อไม่เกร็ง
- ผู้ตรวจยืนอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะบริเวณท้ายทอย
- คลำโดยใช้แรงกดเบา ๆ ที่ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลาง คลำวนเป็นวงกลมเล็กๆ เบาๆ
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ใช้การดูและคลำ สังเกตสีผิว ก้อน
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณแขนขาและขาหนีบ อยู่ตามแนว Inguinal ligament และ femoral vessels
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-