Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย Chest (heart and lung) - Coggle Diagram
การตรวจร่างกาย Chest (heart and lung)
การตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต (Cardiovascular)
การตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตมีความสัมพันธ์กับการตรวจร่างกายส่วนอื่นดังนี้
2.การตรวจชีพจรในตำแหน่งต่าง ๆ การเต้นของเส้นเลือดดำว่ามีการโป่งพองหรือไม่
3.การวัดความดันโลหิต
1.การตรวจทั่วไป ได้แก่ การหายใจ สีผิว และอาการบวมต่าง ๆ
4.การตรวจหัวใจ
ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ
P.V.A.(Pulmonic valvular area) Lt. ICS 2nd ชิดกับ sternum
T.V.A.(Tricuspid valvular area) Lt. ICS 5th ชิดกับ sternum
A.V.A.(Aortic valvular area)Rt.ICS 2nd ชิดกับSternum
M.V.A.(Mitral valvular area หรือ apex) Lt. ICS 5th ติดกับ MCL
วิธีการตรวจ
การตรวจโดยการดู
1.ดูลักษณะผนังทรวงอกว่าเหมือนกันทั้ง 2 ข้างหรือมีการโปร่งนูน (Bulging) ของผนังทรวงอกหรือไม่ ถ้ามี bulging ด้านซ้ายของกระดูก sternum แสดงว่ามี Right ventricular hypertrophy
2.ดู Apical หรือ Apical beat คือตำแหน่งที่มีการเต้นของหัวใจแรงที่สุด เรียกว่า Point of maximum impulse : PMI บางรายอาจมองไม่เห็นต้องใช้วิธีคลำ
3.Abnormal pulsation อื่น ๆ ในบริเวณ Precordial area และบริเวณคอทั้ง 2 ข้าง เช่น Impulse จาก Aneurysm
การตรวจโดยการคลำ
2.การคลำเพื่อตรวจอาการเพื่อแสดงของหัวใจโต เรียกว่าVentricular heave
เปลี่ยนไปทางซ้ายเนื่องจาก : Rt. Pneumothorax ,Lt Atelectasis , Cardiac dilatation
แรงขึ้น เพราะ Left ventricular hypertrophy,contractility
เปลี่ยนไปทางขวาเนื่องจาก : Lt. pneumothorax , Rt. Atelectasis
1.คลำตำแหน่งของ PMI. : ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง4นิ้ว ตำแหน่งที่คลำพบว่าหัวใจเต้นแรงที่สุด จะมีแรงกระแทกถูกนิ้วมือเพียงจุดเดียว หรือเป็นบริเวณเล็ก ๆ คนปกติจะอยู่ที่ช่องซี่โครงที่5 ตรงกับMCLเป็นตำแหน่งของ Apex
3.การคลำ Thrill คือปรากฏการณ์ของMurmus ที่ดังมากจนเกิดการสั่นสะเทือนของ Chest wall จะรู้สึกเหมือนมีคลื่นมากระทบ(Vibration sensation)ถูกที่ฝ่ามือ
การตรวจโดยการฟัง
ใช้ Stethoscope
ด้านBell-ฟังเสียงต่ำ (low pitch) โดยไม่ควรกดแน่น
ด้านDiaphragm-ฟังเสียงสูง (high pitch) โดยกดแน่น
ขณะฟังเสียงต้องสังเกต
1.ลักษณะของเสียง
เบา แรง พอดี
2.ความสม่ำเสมอ
จังหวะการเต้นของหัวใจ
3.ความถี่ของเสียง
ช้าหรือเร็ว อัตราการเต้น นับเต็มนาที
การฟังเสียง
การฟังเสียงหัวใจปกติ Normal heart sound
S1 เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ mitral & tricuspid valve เกิดในช่วงหัวใจบีบตัว ฟังชัดสุดบริเวณ Apex
S2 เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ pulmonic & aortic valve เกิดใน ช่วงหัวใจคลายตัว ฟังชัดบริเวณPulmonic & aortic valve
การฟังเสียงฟู่ (Cardiac murmur)
เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนขณะมีการไหลของเลือดผ่านรูปิดของหัวใจ หรือเส้นเลือดที่มีความผิดปกติ
Systolic murmur เกิดระหว่างเสียงS1และเสียงS2 โดยการเกิดพร้อมกับการเต้นของชีพจรที่คอ
Diastolic murmur เกิดระหว่างเสียงS2 และเสียงS1 โดยการเกิดหลังจากการเต้นของชีพจรที่คอ
ความดังของ murmur และตำแหน่งที่ได้ยินเสียงชัดเจนที่สุด
Grade 3 เสียงดังปานกลาง แต่ยังคลำ thrill ไม่ได้
Grade 4 เสียงดังมากขึ้น และเริ่มคลำ thrill ได้
Grade 5 เสียงดังมาก แตะหูฟังไม่สนิทก็ได้ยิน และคลำ thrill และ heaving ได้
Grade 2 เสียงเบา แต่ฟังได้ยินทันที่ที่แตะหูฟังบนผนังทรวงอก
Grade 6 เสียงดังมากที่สุด อาจฟังได้ โดยไม่ต้องใช้ Stethoscope
Grade1 เสียงเบามาก ฟังยาก ต้องตั้งใจฟัง อาจพลาดได้
การตรวจทรวงอกและปอด (Thorax / Chest and Lung)
ความหมายของการตรวจอกและปอด
เป็นการตรวจเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของอวัยวะและส่วนประกอบของทรวงอก
ส่วนประกอบของทรวงอก (สรีรทรวงอก)ได้แก่
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
หลอดลม
ปอด
หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ผิวหนัง เต้านม กล้ามเนื้อ กระดูกหน้าอกและกระดูกซี่โครง
ตำแหน่งที่สำคัญบริเวณทรวงอก คือบริเวณที่เป้นส่วนต่อระหว่าง manubrium กับ body of sternum เป็นตำแหน่งที่ตรงกับซี่โครงคู่ที่ 2 ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ในการนับกระดูกซี่โครงและช่องว่างกระดูกซี่โครง
สรีรหลัง
spinous process T1
เป็นจุดที่สังเกตได้ง่ายเมื่อผู้ป่วยก้มคอลงไปจะเป็นตุ่มนูนขึ้นมา ใช้ในการนับกระดูกซี่โครงและกระดุกสันหลัง
inferior angle of scapula
เป็นตำแหน่งที่ตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 7 ด้านหลัง เมื่อผู้ป่วยนั่งตัวตรง ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
วิธีการตรวจดูทรวงอก
การดู
1.ผิวทรวงอกมีลักษณะเป็นผื่น แผล หรือมีสิ่งที่เรียกว่า spider nevi หรือไม่ spรder nevi คือเส้นเลือดที่เป็นจุดแดงและมีเส้นสีแดงออกมาจากจุดแดงตรงกลางคล้ายแมงมุม
ดูขนาดของทรวงอก ว่าเป็นรูปแบบถังเบียร์หรือไม่ (Barrel shape) มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อาจมีรูปแบบเป็นอกไก่หรืออกบุ๋ม
ลักษณะหัวนมและเต้านม ผิดปกติหรือไม่
การเคลื่อนไหวของทรวงอดในจังหวะที่หายใจได้ใช้กล้ามเนื้อของทรวงอกหรือมี sternal retraction หรือไม่
การคลำ
การคลำดูหลอดลม
ให้ผู้ป่วยนั่งหรือก้มคอมาข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid หย่อนลง และใช้ปลายนิ้วนี้กับนิ้วกลางกดลงไปบนกดลงไปตรง suprasternal notch โดยให้นิ้วอยู่แต่ละข้างขชองหลอดลม เปรียบเทียบว่าช่องว่างเท่ากันหรือไม่
ให้ผู้ป่วยนั่งหน้าตรง ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำหาจุดกึ่งกลางของ suprasternal notch และเคลื่อนนิ้วเข้าหาหลอดลมว่าสัมผัสได้จุดกึ่งกลางหรือไม่
การตรวจดูการขยายตัวของปอด
วางฝ่ามือทั้งสองข้างลงไปที่ทรวงอกด้านหลัง ให้นิ้วหัวแม่มือวางขนานกับกระดูกซี่โครงคู่ที่ 10 ฝ่ามือโอบด้านข้างของทรวงอก ปลายนิ้วหัวแม่มือ 2 ข้าง อยู่ใกล้กันบริเวณแนวสันกระดูกสันหลังโดยมีระยะห่างเท่ากันแล้วให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลูก ๆ เพื่อดูว่านิ้วโป้งห่างออกจากกระดูสันหลังเท่ากันหรือไม่ สามารถทำด้านหน้าได้เหมือนกันโดยวางมือบนชายโ๕รงแล้วเอานิ้วโป้งไว้ที่ xiphoid process
การคลำเสียงสะท้อน
การฟังเสียงสะท้อนจะช่วยบอกได้ว่าผู้ป่วยมีปอดอุดกั้นหรือแฟบเนื่องจากมี น้ำ หนองหรือลมในโพงเยื่อหุ้มปอดด้านที่สะเทือนน้อยกว่าอีกข้าง วิธีการตรวจคือนำฝ่ามือไปทาบไว้ที่ผนังอกด้านหลัง แล้วให้ผู้ป่วยนับ 1 2 3 จะสัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของหลอดเสียง
การคลำตำแหน่งที่กดเจ็บ
การกดจะช่วยบอกได้ว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านไหน อาจจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ หรือจะเป็นการอักเสบของจุดอื่น ๆ
การเคาะ
ตำแหน่งการเคาะ
การเคาะเพื่อฟังเสียง เราจะเริ่มเคาะบริเวณของไหปลาร้าและไล่ลงมาเรื่อย ๆ ในส่วนของ intercostal ทั้ง 5 ช่อง ถ้าเป็นบริเวณหลังให้เคาะตั้งแต่ระหว่าง scapular ทั้งสองข้างลงมา
วิธีการเคาะ
ถ้าถนัดขวาให้ใช้มือซ้ายทาบลงไปบริเวณแผ่นหลังที่จะตรวจและใช้นิ้วกลางของมือขวาเคาะลงไปที่บริเวณของนิ้วกลางมือซ้าย ทั้งนี้ระหว่างที่เคาะจะต้องยกนิ้วอื่นขึ้น การเคาะจะบอกถึงความผิดปกติที่ลึกไม่เกิน 5-7 เซนติเมตร เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงปกติ resonance
การแผลผลการเคาะ
Dullness พบใน Pneumonia (ปอดอักเสบ) เสียงจะทึบเหมือนการเคาะตับ
Tympany พบใน pneumothorax เสียงจะโปร่งเหมือนคาะท้องที่มีแก๊สอยู่ เพราะเนื้อที่ในเยื่อหุ้มปอดเต็มไปด้วยอากาศ
Flatness เป็นเสียงน้ำท่วมปอด เสียงคล้ายเกิดจากเคาะบริเวณหน้าขา
Resonance เป็นเสียงปกติที่เกิดจากการเคาะปอด เสียงจะก้อง
็Hyper resonance เสียงก้องมาก พบในภาวะ Emphysema (ถุงลมปอดโป่งพอง)
การฟัง
หลักการตรวจ
ให้ผู้ป่วยอ้าปากเล็กน้อยหายใจเข้าออกลึก ๆ แล้วฟังที่ผนังทรวงอกด้วยด้าน Diaphragm ควรฟังอย่างน้อย 1 รอบการหายใจ
ประเภทเสียงที่ฟัง
ฟังเสียงหายใจปกติ
Bronchovesicular breath sound บริเวณรอบ ๆ manubrium intercostal ด้านหน้า และ interscapula ด้านหลัง หายใจเข้าออกเท่ากัน
Vesicular breath sound บริเวณชายปอดทั้งสองข้าง หายใจเข้ายาวออกสั้น
Tracheal - Bronchial breath sound บริเวณคอตำแหน่ง trachea and bronchus หายใจเข้าสั้น หายใจออกยาว
ฟังเสียงที่พูด
ให้ผู้ป่วยนับ 1 2 3 สังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของเสียง บางครั้งอาจมีสิ่งมาอุดกั้นระหว่างเนื้อปอดกับผนังทรวงอก โดยเสียงพูดจะเบาลง
ฟังเสียงที่ผิดปกติ
เสียง crepitation คล้ายเสียงผมสีกัน
Rhonchi and wheezing เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการสั่นของหลอดลม
Rhonchi เป็นเสียงลักษณะใหญ่ทุ้ม แสดงถึงหลอดลมขนาดใหญ่ในทรวงอกที่ตีบแคบ
Wheezing เป็นเสียงที่เกิดจากหลอดลมตีบแคบตัวลง ได้ยินได้โดยไม่ต้องใช้ stethoscope