Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจ…
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
4. พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
4.1 องค์ประกอบในการใช้พฤติกรรมบำบัด
1) การรักษามีรูปแบบและโครงสร้างที่แน่นอน คือ แต่ละครั้งของการรักษามีเป้าหมายที่ชัดเจน
ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นตัวกำหนดบทบาทของผู้ป่วยและผู้รักษา
2) การรักษาจะเน้นที่ปัญหาปัจจุบันนั่นคือ
ปัญหาจะถูกพิจารณาในรูปแบบของพฤติกรรมซึ่งสามารถสังเกตได้
3) วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น และยังคงดำเนินต่อมา
4.2 เทคนิคที่ใช้บ่อยในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
1) การใช้แรงเสริมพฤติกรรม (Reinforcement)
2) การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertive Training)
3) การขจัดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (Systemic Desensitization)
4) การเรียนรู้จากตัวแบบ (Social Modeling Technique)
5) การใช้ตัวกระตุ้นที่ไม่พึงพอใจ (Aversive Therapy)
6) การสร้างพฤติกรรมใหม่ (Behavior rehearsal)
7) การขจัดพฤติกรรม (Extinction)
4.3 บทบาทของพยาบาล
1) เป็นผู้บำบัดหรือผู้ช่วยเหลือผู้บำบัด
2) ช่วยสถานที่และจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาแต่ละวิธี
3) ร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา
4) ให้กำลังใจผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา
เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจรักษาอย่างต่อเนื่อง
5) ร่วมกับผู้ป่วยประเมินผลการรักษา
5. การบำบัดรักษาทางจิตใจหรือจิตบำบัด (Psychotherapy)
5.1 จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
5.1.1 จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เป็นการรักษาทางจิตที่เน้นบทบาทของแรงในจิตไร้สำนึกในโรคประสาท
5.1.2 จิตบำบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy) มุ่งบำบัดอาการของผู้ป่วยให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริงต่อความขัดแย้งของจิตใจ ในระดับจิตไร้สำนึก
5.1.3 จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
เป็นจิตบำบัดที่มุ่งส่งเสริมปรับปรุงกลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
1) Reassurance คือ การให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นไม่รุนแรงหรือเป็นอันตรายอย่างที่ผู้ป่วยคิด
2) Encouragement คือ การสนับสนุน ส่งเสริม ให้กำลังใจในการกระทำพฤติกรรมที่เหมาะสม ในการเอาชนะอาการที่เกิดขึ้น
3) Guidance คือ การแนะแนวทางที่เหมาะสมที่เป็นไปได้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการกระทำและการตัดสินใจ
4) Externalization of internet คือ การหันเหความสนใจไปสู่ภายนอก
เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล
5) Environmental manipulation คือ การจัดการกับสิ่งแวดล้อม เช่น
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ รับไว้ในโรงพยาบาล
6) Suggestion คือ การจูงใจให้ผู้ป่วยเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นกำลังทะเลาะ
หรือรักษาให้หายได้
7) Persuasion คือ การโน้มน้าวชักนำให้ผู้ป่วยหัดพิจารณาการกระทำ
และความคิดด้วยเหตุผล บนความเป็นจริง
8) Ventilation or Catharsis คือ การระบายอารมณ์ ความรู้สึก
ความคิดช่วยให้มองเห็นปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย
9) Desensitization คือ การลดความอ่อนไหวของผู้ป่วย ซึ่งทำอย่างเป็น ขั้นตอน
5.1.4 การสะกดจิต (Hypnosis) คือ การทำให้เกิดความผิดปกติในการรู้สึกตัว คล้ายกับการนอนหลับ แต่ไม่ใช่การนอนหลับขณะถูกสะกดจิต
5.2 จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม 1) พยาบาลทั่วไป 2) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจิตเวช
5.3 ครอบครัวบำบัด (Family Therapy)
5.3.1 ลักษณะครอบครัวที่ต้องการการบำบัด 1) สมาชิกครอบครัวที่มีอำนาจใช้อำนาจไม่ถูกต้อง 2) มีปัญหาด้านการสื่อสารในครอบครัว 3) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกไม่ปกติ 4) สมาชิกในครอบครัวสับสนในบทบาท 5) มีกระบวนการแพะรับบาป (Scapegoating)
5.3.2 ประเภทของครอบครัวบำบัด 1) ครอบครัวบำบัดแบบอิงจิตวิเคราะห์ 2) ครอบครัวบำบัดโดยให้ความสำคัญกับเรื่องขอบเขตโครงสร้างส่วนบุคคลของครอบครัว 3) ครอบครัวบำบัดโดยให้ความสำคัญกับเรื่องการสื่อสารในครอบครัว
6. การบำบัดเชิงการรู้คิด
6.1 แนวคิดพื้นฐานของการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-behavioral therapy:CBT)
การบำบัดด้วย CBT เชื่อว่าความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือ dysfunctional thinking ทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ของมนุษย์ โดยในโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่จะพบลักษณะของความคิดที่ บิดเบือนไปบางประการ
6.2 ขั้นตอนการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
2) ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมมองของ
แนวคิดทางปัญญาตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะ กับความเข้าใจของผู้รับการปรึกษารายนั้นๆ
3) แนะนำให้ผู้รับการปรึกษารู้จักการให้การ
ปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมรวมทั้ง กระบวนการให้การปรึกษา
4) ให้ผู้รับการปรึกษามีความหวังในการที่จะปรับ ลดอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์ของตนเอง
5) ปรับความคาดหวังของผู้รับการปรึกษาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่จะได้จากการปรับความคิดและพฤติกรรม
6) ตั้งประเด็นสำหรับการให้การปรึกษาในวันนี้ ร่วมกัน
1) สร้างสัมพันธภาพแห่งความไว้วางใจกับผู้รับ การปรึกษา
7) ระบุอารมณ์และให้คะแนนระดับความแรงของ อารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ณ ขณะปัจจุบัน
8) สำรวจเบื้องต้นถึงเรื่องราวของปัญหาของผู้รับการปรึกษา
9) ระบุปัญหาและตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
10) สอนผู้รับการปรึกษาถึงความเชื่อมโยงของ ความคิด อารมณ์พฤติกรรมและสรีระ
11) มอบหมายการบ้านให้ผู้รับการปรึกษาสังเกต
ความเชื่อมโยงของความคิดอารมณ์พฤติกรรมและสรีระ ของตนเองมาอย่างน้อย 1 เรื่อง
12) สรุปการสนทนาและให้ข้อมูลย้อนกลับจาก ผู้รับการปรึกษา