Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์รายกลุ่ม The Beautiful Mind "John Forbes Nash" -…
วิเคราะห์รายกลุ่ม
The Beautiful Mind
"John Forbes Nash"
ประวัติ/ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยเพศชายชื่อนายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr. John Forbes Nash, Jr.)
อายุ 24 ปี เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
อาการสำคัญ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการหวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทาร้าย วิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจาก ที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานจึงนำส่งโรงพยาบาลจิตเวช
ประวัติการเจ็บป่วย
2 ปีก่อนมาโรงพยาบาล
ผู้ป่วยกลัวจะถูกทำร้ายมาก แต่พยายามเก็บเป็นความลับไม่ให้ใครรู้เนื่องจากเขาทำงานเป็นสายลับ
ผู้ป่วยเล่าว่ามีคนสะกดรอยตามเขาอยู่ตลอดและพยายามจะทำร้ายเขา
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ผู้ป่วยเห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทำงาน เขารู้สึกกลัวมากจึงวิ่งหนีและถูกจับตัวนำส่งโรงพยาบาล
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยเด็ก
ผู้ป่วยเป็นเด็กเรียนเก่ง
ชอบทำอะไรด้วยตนเอง ชอบอยู่คนเดียว
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท มักมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อน
ไม่ชอบทำกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์
วัยรุ่น
มีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลกๆเพิ่มขึ้น
เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิท
ผู้ป่วยสนใจทางด้านคณิตศาสตร์
วัยผู้ใหญ่
มุ่งมั่นในการค้นพบความคิดทฤษฏีใหม่ๆ เป็นคนแรก
มีความคิดหมกมุ่น
เริ่มมีพฤติกรรมแปลกๆ คิดว่ามีคนจะมาทำร้าย
เห็นภาพเพื่อนคอยตามอยู่ตลอดเวลา
ประวัติครอบครัว
ภรรยาของผู้ป่วยชื่อนางอลิเซีย (Mrs. Alicia)
มีบุตร 1 คน
ผู้ป่วยเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว มีน้องสาว 1 คน
บิดาเป็นวิศวกร มารดาเป็นครูสอนภาษา
การวินิจฉัยตาม DSM-5
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน โดยอย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่1อาการ
(1) อาการหลงผิด
เขาคิดว่าถูกเจ้าหน้าที่ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาเรียกตัวไปช่วยถอดรหัสทางการทหาร
เขาคิดว่ามีคนสะกดรอยตามเขาอยู่ตลอดและพยายามจะทำร้ายเขา
ผู้ป่วยยังคงมีความเชื่อว่าตนเองเป็นสายลับของกระทรวงกลาโหม ถูกเรียกตัวให้ไปทำหน้าที่ อย่างลับๆหลังเรียนจบปริญญาเอก และกำลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
เขาคิดว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย
(2) อาการประสาทหลอน
เห็นกลุ่มคนสะกดรอยตามเขาไปถึงที่ทำงาน เขารู้สึกกลัวมากจึงวิ่งหนี
นายชาร์ลส์มาปรากฏตัว อยู่กับเขาในหลายสถานการณ์ บางครั้งยังมีหลานสาวตามมาด้วย โดยนายชาร์ลส์เป็นเพียงคนเดียวที่ผู้ป่วยสามารถพูดคุย เรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง
(3) การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน (การพูดในลักษณะที่หัวข้อ วลีหรือประโยคที่กล่าวออกมา ไม่สัมพันธ์กัน)
ผู้ป่วยถามตอบรู้เรื่อง โดยจะพูดตะกุกตะกักในบางครั้ง แต่เมื่อพูดถึงเรื่องการเป็นสายลับ การถูก สะกดรอยตามจะพูดรัวและเร็ว
(4) พฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยไม่ทำกัน พฤติกรรมการเคลื่อนไหวมากเกินไป น้อยเกินไป หรือแปลกประหลาด (catatonic behavior)
มีบุคลิกที่ดูแตกต่างจากผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยยังคงเป็นคนเก็บตัวและไม่มี เพื่อนสนิท
ผู้ป่วยเดินหลังค่อม มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
(5) อาการด้านลบ เช่น สีหน้าทื่อ เฉยเมย แยกตัวจากคนอื่น
ผู้ป่วยมักมีสีหน้าเรียบเฉย
ผู้ป่วยชอบอยู่คนเดียว
B. ระดับความสามารถในด้านสำคัญๆ เช่น ด้านการทำงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือการดูแลตนเอง ลดลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งด้าน
ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว
คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขอย่างมากจนเกือบทำร้ายภรรยาและลูก
ด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ชอบทำอะไรด้วยตนเอง แต่เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหา ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ผู้ป่วยชอบอยู่คนเดียว
ด้านการทำงาน
มีอาการหวาดระแวงจนไม่สามารถทำงานได้ และมีการพูดตะกุกตะกัก
C. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมีactive phase (ตามข้อ A) อย่างน้อยนาน 1 เดือน
ผู้ป่วยมีอาการเห็นภาพหลอนตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทลัยจนถึงตอนทำงาน
D. ต้องแยก โรคจิตอารมณ์ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วออก
E. ต้องแยกอาการโรคจิตที่เกิดจากโรคทางกายและสารเสพติดออก
F. ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภท ก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ร่วมด้วย
การตรวจสุขภาพจิต
General Appearance
ชายชาวตะวันตก วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
รูปร่างสันทัด ผมสีน้ำตาลเข้ม ไม่มัน ไม่มีรังแค ผิวขาว ปากแห้งเล็กน้อย เล็บมือและเท้าตัดสั้นสะอาด
นั่งกุมมือและบีบมือตัวเอง นั่งก้มหน้า
สีหน้า วิตกกังวล
แววตาหวาดระแวง
Psychomotor Activity
เดินหลังค่อม มองซ้ายขวาเกือบตลอดเวลา
Perception
บางครั้งพูดคนเดียวเหมือนกำลังสนทนากับใคร
รับสัมผัสได้ตามปกติ
Conscious
รู้สึกตัวดี ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ
เหม่อลอยบ้างเล็กน้อย
Memory
มีความจำเฉพาะหน้า (Immediate and Recall memory) ปกติ
ความจำระยะสั้น (Recent memory) ปกติ
ความจำระยะยาว (Remote memory) ปกติ
จำกลุ่มตัวเลขยากๆยาวๆได้เป็นอย่างดี
Orientation
รับรู้วัน เวลา และสถานที่ได้
บอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย
ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเท่าที่ควร
Intelligence
มีความรู้ ความเข้าใจและมีสติปัญญาในระดับอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์
Attention & Concentration
มีความตั้งใจและสมาธิดี ถึงขั้นหมกมุ่นกับบางเรื่องที่มีความสนใจเป็นพิเศษ
Judgment
ตัดสินใจได้ค่อนข้างเหมาะสมแต่คิดช้า
มีท่าทีหวาดระแวงเกือบตลอดเวลา
Thought
เชื่อว่าตนเองเป็นสายลับของกระทรวงกลาโหม
กำลังถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
Speech
ตอบรู้เรื่อง โดยจะพูดตะกุกตะกักในบางครั้ง
พูดถึงเรื่องการเป็นสายลับ การถูก สะกดรอยตามจะพูดรัว เร็ว
Mood
เป็นคนใจเย็น ไม่ชอบยุ่งกับใคร
การมีคนมาสะกดรอยตามทำให้เขากลัวและ กังวลอย่างมาก
Affect
แสดงสีหน้า แววตา และท่าทีหวาดกลัวเมื่อพบจิตแพทย์
มีสีหน้าเรียบเฉย
Insight
ยอมรับว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น
ไม่คิดว่าตนเองเจ็บป่วยทางจิต
พฤติกรรมแปลกๆเพราะต้องรักษาความลับทางการทหารเพื่อความมั่นคงของชาติ
Self-concept
ภูมิใจในความสามารถของตนเอง
ภูมิใจที่มีภรรยาที่สวย เก่ง และเป็นคนดี
เชื่อว่าเพราะเขา มีความสามารถในการถอดรหัสตัวเลขจึงต้องมาทำงานเป็นสายลับ
การรักษา
1.การรักษาด้วยยารับประทาน
chlorpromazine ,haloperidol,perphenazine, clozapine ,risperidone
จอห์นได้รับยา clozapine ผลข้างเคียงทำให้น้ำลายไหล ตัวสั้น ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
ความจำลดลง
2.การรักษาด้วยยาฉีด
fluphenazine decanoate ,haloperidol decanoate ,flupenthixol depot ,zuclopenthixol acetate ,haloperidol
Thorazine 30 mg IM q 6 hrs
Chlorpromazine (CPZ): เป็นยาในกลุ่มฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine) ที่นำมาใช้รักษา ความผิดปกติของจิตใจ อารมณ์
ผลข้างเคียง :
ตาพร่า ความดันลูกตาเพิ่ม ปากคอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า ง่วง นอนหลับ รับประทานมากขึ้นทำให้อ้วน
การพยาบาล
1แนะนำผู้ป่วยให้เปลี่ยนอิรอิยาบถช้าๆ เพราะอาจหน้ามืด ล้มเกิดอุบัติเหตุได้
2.ประเมินสัญญาณชีพ
3.ประเมินการขับปัสสาวะเนื่องจากยาทำให้เกิดปัสสาวะคั่ง
4.ติดตามผลการตรวจWBC count เนื่องจากยาทำให้เม็ดเลือดผิดปกติ
5.ระวังอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก
6 แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่องป้องกันอาการท้องผูก
7.แนะนำให้ผู้ป่วยระวังการถูกแสงแดด ให้สังเกตผิวแดงและคล้ำจากการโดนแสงแดด อาการคันมีตุ่มพอง เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดการแพ้แสง
8 ไม่ใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ
กลไกการออกฤทธิ์
: ยับยั้ง Dopamine D2 receptor
ขนาดการใช้
ผู้ใหญ่: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 25-50 มิลลิกรัม ฉีดซ้ำทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง หรืออาจเปลี่ยนเป็นยารับประทานทดแทนได้
เด็กอายุ 1-12 ปี: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 500 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง
(สูงสุดไม่ควรเกิน 75 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุมากกว่า 5 ปี และไม่ควรเกิน 40 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี)
ผู้สูงอายุ: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อด้วยขนาดเริ่มต้น ⅓ -½ ของปริมาณการใช้สำหรับผู้ใหญ่
Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn
กลุ่มยา :
เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine)
*ข้อบ่งใช้
:** ระงับอาการวิตกกังวล (Anxiolytic) ช่วยให้นอนหลับได้ดี (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (Muscle relaxant) ระงับอาการชัก (Anticonvulsant)
กลไกการออกฤทธิ์:
กระตุ้น GABA receptor
ขนาดการใช้:
รักษาอาการนอนไม่หลับ/คลายกล้ามเนื้อ/คลายกังวล ในเด็ก 0.12 - 0.18 mg/kg/day แบ่งให้ทุก 6 - 8 ชั่วโมง
(การใช้ยาในเด็ก
ต้องมีแพทย์เป็นผู้สั่งการใช้เท่านั้น ไม่ควรใช้ยาเอง)
ในผู้ใหญ่
2 -10 mg/day แบ่งให้ 2 - 4 ครั้ง/วัน
อาการไม่พึงประสงค์:
ลดอัตราการหายใจ ความดันโลหิตต่ำ สับสน มึนงง ปวดศีรษะ
การพยาบาล
ให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่องอาการข้างเคียงของยา เช่น ยาจะกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการง่วงซึม ทำให้ความสามารถในการคิด จำและการตัดสินใจลดลง สมาธิลดลง การควบคุมแขนขาไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีแรง
ระแลระมัดระวังอันตรายต่างๆ หากผู้ป่วยต้องได้รับยากลับไปทานที่บ้าน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับรถ การใช้ของมีคมเพราะยามีผลทำให้ง่วงนอน
ดูแลไม่ใช้ยาร่วมกับยากดประสาท ยานอนหลับ สุรา
แนะนำผู้ป่วยที่ติดยาเนื่องจากต้องใช้ยาเป็นเวลานานและปริมาณสูง ไม่ให้หยุดยาเอง เพื่อป้องกันอาการขาดยา ควรให้แพทย์เป็นผู้ลดยาให้
ผลข้างเคียง Antipsychotic drug
Extrapyramidal side effects (EPS)
Acute dystonia
อาการลิ้น แข็ง พูด
หรือกลืนลำบาก ตาเหลือก (oculogyric crisis) คอบิด (torticollis) หรือหลังแอ่น (opisthotonos)
Akathisia
รู้สึกกระวนกระวายใจ กระสับกระส่าย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้อาจต้องขยับแขนขา เดินไปมา หรือเคลื่อนไหวตลอดเวลา มักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของของการได้รับยา
Parkinsonism
มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วไป ทำให้มีการเคลื่อนไหวช้า เดินตัวแข็ง ช้า มีอาการมือ-ขาสั่น พูดไม่คล่องเพราะมีลิ้นแข็ง ขากรรไกรเกร็ง มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อหน้าเกร็ง เฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์
Tardive dyskinesia
มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่มากกว่าปกติและเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่ตั้งใจ
buccolinguomasticatory triad คือ อาการดูดหรือขมุบขมิบปาก
lateral jaw movement
ลิ้นม้วนไปมาในปากหรือใช้ลิ้นดุนแก้ม
Neuroleptic malignant syndrome(NMS)
เป็นอาการที่ไม่พบบ่อย โดยมีอาการสำคัญคือ การเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วไปอย่างรุนแรง มีไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตไม่คงที่ ปัสสาวะน้อย การทำงานของร่างกายในระบบต่างๆ ล้มเหลวและเสียชีวิต
ยากลุ่ม Anticholinergic drug
ข้อบ่ง ใช้
Neuroleptic-induced acute dystonia
Neuroleptic-induced parkinsonism
ผลข้างเคียง
ที่พบได้บ่อย
ปากคอแห้ง
ตาพร่า
ท้องผูก
ปัสสาวะลำบาก
ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจพบได้ในกรณที่เกิดภาวะเป็นพิษ
delirium
coma
hallucinations
severe hypotension
supraventricular tachycardia
4.การรักษาด้านจิตสังคม
จิตบําบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
สร้างความไว้วางใจให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย
ช่วยส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือตนเองได้
พฤติกรรมบําบัด (Behavior therapy)
เพิ่มความสามารถทางสังคมและมองเห็นคุณค่าในตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองตามปกติจนสามารถดำเนินชีวิตได้
กลุ่มบําบัด (Group therapy)
เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมกันระหว่างผู้ป่วย โดยส่งเสริมเพื่อทำให้รู้สึกว่ามีเพื่อน หรือมีคนเข้าใจ
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบําบัด
(Milieu therapy)
การจัดสิ่งแวดล้อมที่บริเวณที่พักหรือสถานที่ของผู้ป่วยให้เหมาะสม
ครอบครัวบําบัด (Family therapy)
การให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครอบครัว จะลดความตึงเครียด
ภายในครอบครัวทำให้การกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยลดลง
3.การรักษาด้วยไฟฟ้า Electroconvulsive therapy(ECT)
เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้เกิดการชักเหมือนกับในโรคลมชัก ไม่มีอันตรายต่อสมองอย่างแน่นอน ใช้เวลาทั้งหมดประมาณไม่ถึง 5 นาที การรักษาจะทำวันเว้นวัน ทำทั้งหมดประมาณ 10-12 ครั้ง
ECT 1 course (5 times per week/ 10 weeks)
การพยาบาลก่อนทำECT
ด้านร่างกาย
4.ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะให้เรียบร้อย
5.ถอดฟันปลอมและเครื่องประดับออกให้เรียบร้อยพร้อมสวมเสื้อผ้าที่หลวมๆ
3.วัดสัญญาณชีพพร้อมลงบันทึก
6.ในผู้ป่วยหญิงห้ามแต่งหน้า ทาปาก ทาเจ็บเพื่อจะได้สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน
2.บอกให้ผู้ป่วยงคน้ำงดอาหารมื้อเช้าในวันที่ทำ ECT หรืออย่างน้อย 4 - 6 ชั่วโมง ก่อนทำ
7.ให้ pre-medication (ถ้ามี) เช่น atropine sulfate เพื่อลดการหลั่งน้ำลายขณะทำ
1.ตรวจดู Chart ผู้ป่วยเกี่ยวกับรายละเอียดการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและใบเซ็นยินยอมการรักษา
8.งดยาที่มีผลทำให้ความดัน โลหิตต่ำและยารักษาอาการซึมเศร้าก่อน เพราะอาจจะเสริมฤทธิ์กันทำให้เกิดอันตรายแก่หัวใจได้
ด้านจิตใจ
2.บอกถึงขั้นตอนในการทำอย่างคร่าวๆ โดยบอกว่าขณะทำผู้ป่วยจะ ไม่รู้สึกเจ็บปวด จะหลับไปชั่วครู่แล้วตื่นขึ้นมา ระหว่างทำจะมีแพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา
3.ใช้คำว่า "รักษาโดยใช้ไฟฟ้า" ไม่ใช้คำว่า "ช็อตไฟฟ้า" เพราะฟังดูน่ากลัว
1.อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องทำ ECT โดยบอกว่าเป็นการรักษาอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้อาการไม่สบายใจต่างๆ การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองดีขึ้น
4.บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการงุนงง ปวดศีรษะและจำไม่ได้จะเป็นอยู่ชั่วคราว แล้วความจำจะค่อยๆ กลับมาเองจนเป็นปกติ
การพยาบาลหลังทำECT
2.สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดระวังการหยุดหายใจการตกเตียงจากอาการสับสน (confusion) มีนงงโดยให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนเรียกชื่อผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวเช็ดหน้าด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการสงบควบคุมตัวเองได้ควรเอาผ้าผูกมัดผู้ป่วยออกให้ผู้ป่วยนอนพักแล้วทดสอบความรู้สึกตัวเช่นผู้ป่วยต้องรู้ว่าตนเองชื่ออะไรเดินตรงทางไม่โซเซจึงอนุญาตให้ผู้ป่วยลุกไปทำธุระส่วนตัวและรับประทานอาหารได้ในช่วงนี้อาจใช้เวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมงหรือจนกว่าผู้ป่วยจะควบคุมตัวเองได้จึงจะจัดส่งไปพักผ่อนที่หอผู้ป่วยดังเดิม (ควรมีผู้ดูแลผู้ป่วยจนกว่าจะรู้สึกตัวและทำกิจกรรมเองได้)
3.ผู้ป่วยจะมีอาการนึกคิดอะไรไม่ค่อยออกบางรายอาจมีอาการปวดหัวหรือปวดหลัง พยาบาลไม่ควรถามเรื่องซับซ้อนหรือต้องใช้ความคิดหรือความจำเพราะจะทำให้ผู้ป่วยกังวลมากที่นึกเรื่องราวเกี่ยวกับตนเองไม่ได้ในระยะนี้พยาบาลอาจจะต้องให้ความรู้ใหม่ (Reorientation) เกี่ยวกับวันเวลาสถานที่บุคคลที่อยู่รอบข้างและข้อมูลในด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นว่าจะค่อยๆหายไปความจำจะค่อยๆกลับมาอาการปวดหัวและปวดหลังก็จะค่อยๆหายไปเช่นกันและควรมีการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความกลัวและความวิตกกังวลจากการรักษาด้วย ECT
1.จัดท่านอนหงายราบ เอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก เอาหมอนทรายที่หลังและคอออก ไม้กดลิ้นควรทิ้งไว้จนกว่าจะแน่ใจว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวจึงเอาออก ตรวจวัดสัญญาณชีพพร้อมบันทึกและให้การพยาบาลเหมือนผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ต้องได้รับออกซิเจนตลอดเวลา
4.ลงบันทึกเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยทั้งก่อนทำ ขณะทำ หลังทำและระยะเวลาในการชักพร้อมทั้งอาการผิดปกติอื่นๆ ที่สังเกตเห็นอย่างละเอียด
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าทุกชนิดเพื่ป้องกันการฆ่าตัวตาย รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ยอมกินน้ำ กินอาหาร ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางอารมณ์ ( Mood disorder)
ผู้ป่วยจิตเภทชนิดคลั่งหรือซึมเฉย (Catatonic schizophrenia)
Catatonic stupor ซึมเฉย ไม่เคลื่อนไหว
Catatonic excitement คลั่ง วุ่นวาย
ผู้ป่วย Bipolar disorder ในระยะคลั่งและระยะเศร้า
ผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติทางจิตที่รักษาด้วยยาและวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
ข้อจำกัด
1.Brain tumor, Brain edema, cerebral hemorrhage เพราะการทำ ECT จะทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น
2.ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง
3.ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
4.ผู้ป่วยวัณโรคระยะรุนแรง
5.ผู้ป่วยติดเชื้อที่มีไข้สูง, ร่างกายอ่อนแอหรืออ่อนเพลียมาก
ภาวะแทรกซ้อน
ขณะทำ ECT
ความดันโลหิตสูง/ต่ำ
หัวใจเต้นผิดจังหวะ(arrhythmia)
อาจมีอาการชักนาน
ขากรรไกรแข็ง
สำลักหรือหยุดหายใจนาน
หลังทำ ECT
ระยะสั้น
อาการงุนงง
สับสนชั่วคราว
ปวดศีรษะ(ประมาณ1-2 ชั่วโมง)
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
คลื่นไส้
ระยะยาว
อาจมีความจำบกพร่อง
ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนเองหลงลืม
คิดช้าลง
อาการเหล่านี้จะเริ่มดีขึ้นหลังจากผู้ป่วยหยุดทำ ECT ประมาณ 3-6 สัปดาห์
อ้างอิง
ทานตะวัน อวิรุทธ์วรุกุล. (2562). โรคจิตเภท (Schizophrenia). สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564. จาก
http://www.tsad.or.th/register_desk/event/33
มาโนช หล่อตระกูล. (2556). โรคจิตเภทโดยละเอียด. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2563.
จาก
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/genera/knowledge/general/
สุนทรีภรณ์ ทองไสย. (2558).
การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล
, 42(3),159-167.
นต์ธีร์ อนันตพงศ์. (2558). Schizophrenia โรคจิตเภท. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2564,จาก
http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/elearning/
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเนื่องจากมีความคิดหลงผิด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย เช่น เห็นใครจะมาทำร้ายเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความคิดอย่างไร
2.ยอมรับในการคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่โต้แย้ง ไม่ตำหนิ หรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่เป็นเรื่องจริงและไม่นำคำพูดผู้ป่วยไปล้อเล่น
3.สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ พูดคุยที่นุ่มนวล เป็นมิตรและอบอุ่น อดทนในการรับฟังเพื่อสร้างความไว้วางใจและให้ความร่วมมือ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความคิดของเขาอย่างอิสระและได้รับฟังความคิดของผู้ป่วย
4.ใช้เทคนิค Clarifying การให้ความกระจ่าง คือ ความพยายามทำความเข้าใจในคํากล่าวของ ผู้ป่วย เช่น
“ คนที่คุณพูดถึงหมายถึงใครค่ะ”
5.ดูแลให้ได้รับยาThorazine 30 mg IM q 6 hrs ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียง ได้แก่ ตาพร่า ความดันลูกตาเพิ่ม ปากคอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่า ง่วง นอนหลับ
6.ดูแลให้ได้รับยา Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn.ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงได้แก่ ลดอัตราการหายใจ ความดันโลหิตต่ำ สับสน มึนงง ปวดศีรษะ
7.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย กำจัดวัตถุที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม วัตถุที่ทำด้วยแก้วหรือกระจกออกจากตัวผู้ป่วยและจัดสิ่งแวดล้อมให้กระตุ้นผู้ป่วยน้อยที่สุด เช่น จัดที่พักให้เป็นส่วนตัวมากที่สุด มีแสงสว่างพอเหมาะเงียบสงบ
8.เฝ้าสังเกตอาการได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
3.มีความบกพร่องในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากหวาดระแวง
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีเป็นมิตร โดยใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งเงียบ พยายามสบตาและสัมผัสผู้ป่วยด้วยความระมัดระวังถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่พูด ถามคำถามง่าย ๆ ถ้าผู้ป่วยไม่พูด ให้ใช้เทคนิคการแปลความหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยทราบว่าพยาบาลเห็นใจผู้ป่วย เช่น “มันคงยากมากสาหรับคุณเมื่อ ............. ” เทคนิค ดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและระบายความรู้สึกออกมา
สนใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกกลัวหรือความวิตกกังวลที่เกิดจากความคิดหลงผิดและประสาทหลอน สนทนากับผู้ป่วยในเรื่องที่เป็นจริง เช่น สถานการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ประเมินอาการประสาทหลอนเช่น พูดและหัวเราะคนเดียว เงี่ยหูฟัง หยุดพูดกลางคัน รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าถึงอาการประสาทหลอนโดยไม่โต้แย้งและไม่ขัดจังหวะ แต่ควรใช้เทคนิคการตั้งข้อสงสัยในขณะสนทนา เช่น “มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อนะคะ” เทคนิคการตรวจสอบความเข้าใจและขอความกระจ่าง เพื่อสะท้อนความคิดของผู้ป่วยขณะสนทนา เช่น “คุณหมายถึง ...............ใช่ไหม” หรือ “ฉันไม่เข้าใจว่ามันหมายถึงอะไรช่วยอธิบายให้ฉันฟังหน่อยได้ไหมคะ” เทคนิคดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยทราบว่าคนอื่นมองอย่างไรและการใช้เทคนิคเหล่านี้พยาบาลต้องอยู่บนพื้นฐานการยอมรับผู้ป่วย
ไม่แสดงการยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยได้ยินอยู่ในโลกของความจริง โดยใช้คาพูดให้ผู้ป่วยรับรู้ เช่น “เสียงนั้น” แทนคาว่า “เขา” และ “ที่คุณคิดว่าคุณได้ยิน ...............” หรือ “ภาพที่คุณคิดว่าเห็น.........” ตลอดการสนทนาและบอกให้ผู้ป่วยทราบว่าพยาบาลรับรู้อย่างไร เช่น “คุณได้ยินเสียงคนพูด แต่ฉันไม่ได้ยินเสียงอะไร”
กระตุ้นให้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เมื่อผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจพยาบาลโดยให้เข้ากลุ่มเล็กก่อน เมื่อปรับตัวได้ดีขึ้น จึงให้เข้ากลุ่มใหญ่ โดยมีพยาบาลอยู่เป็นเพื่อนและให้กำลังใจ ขณะเข้ากลุ่มควรได้รับการเกื้อหนุนจากกลุ่มอย่างเหมาะสมเป็นทั้งผู้นำ และผู้ตามเพื่อพัฒนาวุฒิภาวะของอีโก้ ทักษะทางสังคมที่อยู่ในโลกของความเป็นจริง สร้างความไว้วางใจ และสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคงมากขึ้น เพื่อลดโอกาสการฝันกลางวัน (Day dream) และดึงผู้ป่วยออกจากอาการประสาทหลอน และหลงผิด
4.มีความบกพร่องในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความต้องการของตนเนื่องจากมีพฤติกรรม แยกตัวจากผู้อื่น
กิจกรรมการพยาบาล
นำเทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัดมาใช้ เช่น ในกรณีที่พูดหลายเรื่อง พยาบาลควรให้ผู้ป่วยหยุดพูดเป็นครั้งคราวและกระตุ้น ให้ผู้ป่ววยได้อธิบายสิ่งที่เขาได้พูดไป กรณีผู้ป่วยไม่พดู หรือไม่โต้ตอบ พยาบาลควรใช้การตีความหรือการคาดเดาจากภาษาท่าทาง(non-verbal) ของผู้ป่วย และ กระตุ้นผู้ป่วย โดยการวิเคราะห์ความรู้สึกขอผู้ป่วย (verbalizing the implied)
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เป็นตัวของตัวเอง โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมกับสมาชิกอื่นที่ ผู้ป่วยพอใจและพยาบาลควรให้กำลังใจหรือแรงเสริม เมื่อเห็นผู้ป่วยร่วมในกิจกรรม
เมื่อสัมพันธภาพดำเนินมาสักระยะ พยาบาลควรชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งกิจกรรมระยะแรกควรเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว และมีสมาชิกกลุ่มไม่มากเกินไป กระตุ้นให้ผู้ ป่วยสื่อสารมากขึ้น เช่น จัดกิจกรรมสร้างความคุ้น เคย มีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กัน มีกิจกรรม การแนะนำ ตนเองให้ผู้อื่นรู้จัก พยาบาลควรร่วมกิจกรรมกลุ่มพร้อมกับผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่น สบายใจ เมื่อเห็นคนที่คุ้นเคย
พยาบาลต้องตระหนักว่าพฤติกรรมแยกตัวนั้นเป็นปัญหาด้านนความสามารถทางด้านสังคมที่ เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของผู้ป่วย ดังนั้น พยาบาลต้องอดทนให้เวลาผู้ป่วยในการปรับปรุง
พยาบาลสร้างสัมพันธภาพแบบ one to one เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย และไว้วางใจ จัด เวลาเข้าไปพบและพดูคุยกับผู้ป่วยอยา่งสม่ำเสมอถึงแม้จะไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วยพดู หรือผู้ป่วยไม่โตต้อบ เพราะ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับและยังเป็นที่ต้องการของผู้อื่นพยาบาลควรสื่อสารกับผู้ป่วย อยา่งชัดเจน เช่น สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยประโยคส้ันๆเข้าใจง่ายเรียกชื่อผู้ป่วยใหถูกต้อง
1.พยาบาลควรประเมินลักษณะการสื่อสารของผู้ป่วยว่ามีความบกพร่องอย่างไรเช่น พูดหลายเรื่องผสมกันจนคนฟังไม่เข้าใจ หรือไม่พูด เพราะอาการทางจิตต่างๆ
2.อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่นเนื่องจากมีอาการประสาทหลอน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยว่าเกี่ยวข้องกับระบบรับสัมผัสใด ผู้ป่วยแสดงปฏิกิริยาอย่าง ไรต่อการรับรู้นั้นๆ และอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
2.พบผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการประสาทหลอน ควรบอกสิ่งที่เป็นจริง(Present reality)กับผู้ป่วยในขณะนั้น
3.แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอนของผู้ป่วย ทำได้โดยการรับฟังและไม่โต้แย้ง ถ้าผู้ป่วยถามว่าเห็นหรือได้ยินเช่นเดียวกันหรือไม่ ควรตอบโต้ให้ผู้ป่วยรู้ว่าไม่เห็นหรือได้ยินเหมือนผู้ป่วย
4.หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับต้องตัวผู้ป่วยก่อนผู้ป่วยจะรู้ตัวเพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มจะตีความผิดได้
5.ไม่ส่งเสริมและลดโอกาสในการเกิดอาการประสาทหลอนต่างๆ โดยการสนทนากับผู้ป่วย
ด้วยถ้อยคำ ที่ชัดเจน เรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและกระตุ้น ให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
6.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดถึงอาการประสาทหลอนและหาวิธีที่จะให้ผู้ป่วยเผชิญอาการประสาทหลอนของผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
7.ให้ผู้ป่วยแยกแยะว่าอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นนั้น เขารู้สึกอย่างไรอาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หรือมีเหตุการณ์อะไรนำมาก่อน เพราะผู้ป่วยจะได้รู้จักป้องกัน ตนเองไม่ให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น
5.ครอบครัวไม่สามารถเผชิญกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมการพยาบาล
พยาบาลควรสร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวของผู้ป่วย พร้อมกับประเมินสภาพทั่วไปของ ครอบครัว เช่น บทบาทของสมาชิกแต่ละคน วิธีการสื่อสารต่อกัน ระดับของสัมพันธภาพ ความใส่ใจต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และระดับความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
เตรียมญาติในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โดยการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆที่ญาติเผชิญอยู่ การให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของการป่วยทางจิตเวช และการให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
จัดให้มีหน่วยงานให้คำแนะนำ และช่วยแก้ปัญหาเมื่อครอบครัวเผชิญภาวะวิกฤตต่างๆ เนื่องมาจากการป่วยทางจิตเวช
กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 17
การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณหรือแยกผู้ป่วยจะกระทำเว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 18
การรักษาด้วยไฟฟ้า กระทำต่อสมองหรือระบบประสาทหรือการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นใด ที่อาจเป็นผลทำให้ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวรให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
กรณีผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัดรักษานั้น โดยผู้ป่วยได้รับทราบเหตุผลความจำเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรืออาจเป็นผลทำให้ไม่สามารถแก้ไขให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม และประโยชน์ของการบำบัด
กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประ โยชน์ของผู้ป่วยหากมิได้บำบัดรักษาจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัด
มาตรา 21
การบำบัดรักษาจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการบำบัดรักษารายละเอียดและประโยชน์ของการบำบัดรักษาและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย เว้นแต่เป็นผู้ป่วยตามมาตรา 22 ถ้าต้องรับผู้ป่ายไว้ในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาความยินยอมตามวรรคหนึง ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมีชื่อผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา ให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สิบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี เป็นผู้ให้ความยินยอมตามวรรคสองแทน หนังสือให้ความยินยอมตามวรรคสองและวรรคสามให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการหนดโดยประกาศในรายกิจจานุเบกษา
มาตรา 22
บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้อง ได้รับการบำบัดรักษา
มาตรา 23
ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา ๒๒ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยไม่ชักช้า
มาตรา 24
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือ
ตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา 23 หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะตามมาตรา 22 ให้ดำเนินการนำตัวบุคคลนั้นไปยังสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้าเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามมาตรา 27 ทั้งนี้โดยจะมีผู้รับดูแลบุคคลดังกล่าวไปด้วยหรือไม่ก็ได้
มีแพทย์และพยาบาลอย่างละ 1 คน
เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องตัน
สถานพยาบาลของรัฐหรือหรือสถานบำบัดรักษาต้องประเมินอาการและวินิจฉัยเบื้องตัน
ภายใน 48 ชั่วโมง
มาตรา 26
ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือพบบุคคลซึ่ง มีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งมีภาวะอันตรายและ เป็นอันตรายที่ ใกล้จะถึงถ้าบุคคลนั้นขัดขวางหรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ให้มีอำนาจนำตัวบุคคลนั้นหรือเข้าไปในสถานที่ใดๆ เพื่อนำตัวบุคคลนั้นส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาชื่งอยู่ใก โดยไม่ช้กช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น
มาตรา 29
เมื่อสถานบำบัดรักษารับบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำส่งตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม หรือแพทย์นำส่งตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาตรวจ วินิจฉัยและประเมินอาการบุคคลนั้นโดยละเอียด
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับตัวบุคคลนั้นไว้
อาการทางจิต
delusion
Persecutory Delusional Disorder
โรคหลงผิดว่าถูกปองร้าย เป็นประเภทที่มักพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยอาจมีความเชื่อว่าตนเองกำลังถูกสะกดรอยตาม ถูกหักหลัง ถูกกลั่นแกล้ง หรือทารุณกรรม
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย
2.ยอมรับในการคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่โต้แย้ง ไม่ตำหนิ หรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่เป็นเรื่องจริงและไม่นำคำพูดผู้ป่วยไปล้อเล่น
3.สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ พูดคุยที่นุ่มนวล เป็นมิตรและอบอุ่น อดทนในการรับฟังเพื่อสร้างความไว้วางใจและให้ความร่วมมือ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้พูดถึงความคิดของเขาอย่างอิสระและได้รับฟังความคิดของผู้ป่วย
4.ใช้เทคนิค Clarifying การให้ความกระจ่าง คือ ความพยายามทำความเข้าใจในคํากล่าวของ ผู้ป่วย เช่น“ คนที่คุณพูดถึงหมายถึงใครค่ะ”
5.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ได้แก่ Thorazine 30 mg IM q 6 hrs และ Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn.พร้อมทั้งสังเกตผลและอาการข้างเคียงของยา
6.ดูแลให้ได้รับการรักษา ECT 1 course (5 times per week/ 10 weeks) และเฝ้าระวังอาการข้างเคียง
7.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย กำจัดวัตถุที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม วัตถุที่ทำด้วยแก้วหรือกระจกออกจากตัวผู้ป่วย
8.จัดสิ่งแวดล้อมให้กระตุ้นผู้ป่วยน้อยที่สุด เช่น จัดที่พักให้เป็นส่วนตัวมากที่สุด มีแสงสว่างพอเหมาะเงียบสงบ
9.เฝ้าสังเกตอาการได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
hallucination
Visual hallucination
ผู้ป่วยมองเห็นภาพต่างๆ โดยที่ไม่เป็นจริง เช่น เห็นคนกำลังมาจะทำร้ายตน
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจตามหลักการพยาบาลจิตเวช
รับ
ฟังความคิดของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิผู้ป่วย
ไม่ได้เถียงกับผู้ป่วย หรือให้เหตุผลว่าความเชื่อของผู้ป่วยนั้นผิด
จัดให้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบาบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้ติดต่อกับสิ่งที่เป็นจริง
การสนทนากับผู้ป่วยที่มีความหลงผิด ควรนาเทคนิคการสนทนา การให้คาปรึกษาต่าง ๆ
การของความกระจ่าง (Clarification)
การสะท้อนความรู้สึก (Reflecting)
การมุ่งประเด็น (Focusing)
แก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลของความคิดหลงผิด เช่น ความคับข้องใจ ความวิตกกังวล ความกลัว ความเศร้า