Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจาก การสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้อง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การใช้สื่อโสตฯ หรือสื่อ อิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข
ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้ส่งสาร
แบ่งเป็น
วัจนภาษา
เป็นภาษาถ้อยคำ อาจเป็นคำพูดหรือตัวอักษรก็ได้ การใช้วัจนภาษาจะต้องชัดเจนและถูกต้องทั้งการเขียน การออกเสียงคำ และการเรียงเรื่องประโยค นอกจากนี้ยังต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของการสื่อสาร ลักษณะงาน สื่อ และผู้รับสารด้วย
อวัจนภาษา
ภาษาที่ไใม่ใช้ถ้อยคำ แต่แฝงอยู่ในถ้อยคำ ได้แก่ สีหน้า สายตา ท่าทาง น้ำเสียง วัตถุ ช่องว่าง เวลา การสัมผัส กลิ่น รส ภาพและลักษณะของอักษร เป็นต้น เราอาจใช้อวัจนภาษาเพื่อเสริม เน้นหรือแทนคำพูดก็ได้ ผู้ใช้ภาษาต้องเลือกใช้อวัจนภาษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระดับภาษาในการสื่อสาร
ระดับพิธีการ
ใช้สื่อสารในที่ประชุม ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวอวยพร การกล่าวคาปราศรัย การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม ฯลฯ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสาคัญหรือมีตาแหน่งสูง ผู้รับสารส่วนมากเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นชนกลุ่มใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารกล่าวฝ่ายเดียว ถ้ามีการกล่าวตอบก็กระทาอย่างเป็นทางการ สารทุกตอนมีลักษณะเป็นพิธีรีตอง ใช้ถ้อยคาที่ไพเราะกลั่นกรองมาล่วงหน้าแล้ว
ระดับทางการ
ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในการประชุมซึ่งต่อช่วงจากตอนที่เป็นพิธีการ หรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในหนังสือที่ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักจะเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่และภารกิจโดยตรงในแต่ละด้าน ในวงการหรือวงอาชีพเดียวกัน
ระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับนี้คล้ายกับทางการ แต่ลดความเป็นการเป็นงานเป็นการลงบ้าง มักใช้ในการประชุมกลุ่มที่เล็กกว่าการประชุมที่ต้องใช้ภาษาระดับทางการ เช่น ในการประชุมกลุ่มย่อย การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ มักใช้ภาษาที่ทาให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าภาษาในระดับที่ ๒ และใช้ศัพท์เฉพาะเท่าที่จาเป็น
ระดับไม่เป็นทางการ
ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน ๔ – ๕ คน ในสถานที่และโอกาสที่ไม่ใช่เป็นการส่วนตัว เช่น ในการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหาของสารอาจเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่จากัดเฉพาะวิชาการ ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคาที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่ม
ภาษาระดับกันเอง
ใช้ในวงจากัดที่เป็นการส่วนตัว เช่น ภายในครอบครัว เพื่อนสนิท ที่บ้านหรือห้องที่เป็นสัดส่วนโดยเอกเทศ เนื้อหาของสารเช่นเดียวกับระดับที่ ๔ ภาษาที่ใช้มักเป็นภาษาพูดเท่านั้น ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากใช้ในนวนิยาย บทละคร หรือเรื่องสั้น อาจใช้คาสแลงหรือคาภาษาถิ่นปะปนบ้างก็ได้
องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่งสาร
บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด
สาร
เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ
ผู้รับสาร
บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร
อุปสรรคของการสื่อสาร
ผู้ส่งสารขาดพืนความรู้ประสบการณ์ขาดความสนใจและมีความรู้
ในเรื่องที่จะสอสาร
สารมีความซับซัอนเกินไป
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมีลกษณะเข้าใจยาก
กาลเทศะและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม