Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abuse and neglect การทารุณกรรมและการละเลยทอดทิ้ง, นางสาวภาวิตา ทิพย์ญาณ …
Abuse and neglect
การทารุณกรรมและการละเลยทอดทิ้ง
การทารุณกรรมเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลานานในการประเมิน ปัญหาการทารุณกรรมและการละเลยเพิ่มขึ้นทุกวัน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นปัญหาของครอบครัว
ระบาดวิทยา
พบเด็กถูกทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง 200000 - 300000 รายต่อปี
สาเหตุ
1.พ่อแม่ของเด็กที่ถูกทารุณกรรมและทอดทิ้งมักเคยถูกทารุณกรรมทั้งทางร่างกายและทางเพศ มาก่อน
2.มีปัจจัยส่งเสริม เช่น ความเครียด ความยากจน การติดสารเสพติด การขาดความช่วยเหลือ ความผิดปกติทางจิต
3.ปัจจัยที่มาจากตัวเด็กเอง เช่น เด็กที่มีปัญหาทางด้านร่างกายและสติปัญญาเนื่องจากการคลอดก่อนกำหนด เด็กที่ซนมากกว่าปกติ เด็กเลี้ยงยาก มีลักษณะคล้ายคนที่พ่อแม่ไม่ชอบ
4.ปัญหาภายในครอบครัว เช่น บิดามารดาอายุน้อย เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
Physical abuse การทารุณกรรมทางร่างกาย
ประวัติที่บ่งชี้ถึงการทารุณกรรม
เช่น
1.สาเหตุของการบาดเจ็บไม่สมเหตุสมผล
2.อุบัติเหตุไม่สอดคล้องกับพัฒนาการ
3.พ่อแม่เพิกเฉย ไม่รีบร้อนในการมาพบแพทย์
4.การบาดเจ็บเกิดขึ้นหลายแห่ง
5.มักเกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ
6.พี่น้องมีประวัติบาดเจ็บเหมือนกัน
7.เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น กลัวพ่อแม่ ตกใจง่าย กลัวการสัมผัสร่างกาย ก้าวร้าว เพิกเฉย ไม่สร้างสัมพันธ์กับใคร พัฒนาการล่าช้า เลี้ยงไม่โต และเด็กบอกผู้อื่นว่าถูกทำร้าย
ประวัติที่ช่วยสนับสนุนการทารุณกรรม
เช่น ไม่สามารถระบุ เวลา สถานที่ และรายละเอียดของอุบัติเหตุได้อย่างชัดเจน พ่อแม่ให้ประวัติไม่ตรงกัน พ่อแม่เคยถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ซักเพิ่มเติม ในเรื่อง อาชีพ การศึกษา รายได้ การใช้สารเสพติด
การเจ็บป่วยทางกายและจิตใจ
การตรวจร่างกาย
เช่น ประเมินภาวะโภชนาการ ตรวจร่างกายอย่างละเอีย มองหาบาดแผลที่เกิดจากการทารุณกรรม เช่น รอยไหม้ รอยถูกไฟจี้ รอยช้ำต่างๆ กระดูหัก และลงบันทึกลักษณะของบาดแผล
การบริหารจัดการเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย
ได้แก่ 1.ประเมินความต้องการและให้ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย 2.ประเมินผู้เลี้ยงดูและความต้องการของผู้เลี้ยงดู 3.ประเมินสภาพแวดล้อม 4.ป้องกันเด็กจากการถูกทารุณกรรมซ้ำ 5.ส่งเสริมให้เด็กอยู่กับครอบครัวหากยังคงอยู่ได้ 6.สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว
การทารุณกรรมทางเพศ
(Sexual Abuse)
ส่วนมากเด็กจะถูกทารุณกรรมทางเพศโดยผู้ใกล้ชิดและเหตุการณ์มักไม่ถูกเปิดเผย เนื่องจากเด็กอาจถูกขู่ฆ่าหรือทำร้ายร่างกายหากเปิดเผย
ข้อบ่งชี้ทางร่างกาย
เช่น การตั้งครรภ์หรือติดเชื้อจากการร่วมเพศ อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนักมีบาดแผล เลือดออกทางช่องคลอด เจ็บคันบริเวณช่องคลอด
ข้อบ่งชี้ทางพฤติกรรม
เด็กบอกว่าถูกทำร้ายทางเพศ มีความรู้เรื่องเพศมากกว่าวัย หวาดกลัวผู้ชาย ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิ ไม่มีการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น
การตรวจประเมิน
การบาดเจ็บของอวัยวะเพศ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การรวบรวมหลักฐานทางนิติเวช ได้แก่ การตรวจหาน้ำอสุจิในช่องทางคลอด สิ่งส่งตรวจต่างๆ เหล่านี้ควรทำ
ภายใน 72 ชม.หลังเกิดเหตุการณ์
ก่อนการตรวจอวัยวะเพศเด็กควรมีการเตรียมเด็กก่อน ในเด็กเล็กควรมีผู้ที่เด็กไว้ใจอยู่ด้วย ในเด็กโตต้องถามเด็กก่อน อธิบายถึงสิ่งที่ต้องทำ
ผลกระทบจากการถูกทารุณกรรมทางเพศ
ระยะสั้น อาจเป็นปัญหาสุขภาพ แต่ในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิต เช่น ซึมเศร้า แยกตัว คิดฆ่าตัวตาย หรือติดสารเสพติด
การรักษาและการช่วยเหลือ
รักษาบาดแผลทางด้านร่างกาย และป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ ทางด้านจิตใจ ป้องกันการถูกทารุณซ้ำ รักษาอาการทางจิตใจ ทำให้เด็กรู้สึกไว้วางใจในบุคคลอื่นเพิ่มการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น สร้างสังคม ช่วยเหลือจนเกิดความภูมิใจในตัวเอง
การทารุณกรรมทางอารมณ์
(Emotional abuse)
รูปแบบของการทารุณกรรมทางอารมณ์
ทําให้หวาดกลัว (Terrorizing) เช่น ใช้คําพูดหรือทำให้สถานการณ์ บรรยากาศน่ากลัว
เมินเฉย (Ignoring) ไม่ตอบสนองต่อความต้องการใดๆของเด็ก
แยกเด็ก (Isolation) ทำให้เด็กไม่มีเพื่อนในสังคม
เอาเปรียบเด็ก (Corrupting) ใช้ให้เด็กกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม
การปฏิเสธ (Rejection) ผู้เลี้ยงดูปฏิเสธความต้องการของเด็ก ไม่เห็นคุณค่าในตัวเด็ก
การละเลยทอดทิ้งเด็ก
(Neglect)
ชนิดของการละเลยทอดทิ้งเด็ก
การละเลยทอดทิ้งทางกายภาพ
(physical neglect
การละเลยในการให้การดูแลและอบรมสั่งสอน (supervision)
การละเลยทอดทิ้งทางอารมณ์
(emotional abuse)
การละเลยทางการศึกษา (educational neglect)
เด็กเลี้ยงไม่โต (failure to thrive)
ผลกระทบจากการละเลยเด็ก
คือ เด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างที่ถูกที่ควร ไม่ได้รับอาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือที่พักพิงอาศัย เด็กไร้คุณภาพชีวิต ทำให้อาจเข้าสังคมในแบบที่ผิด ไม่มีคนคอยชี้แนะ ไม่ได้รับการศึกษา
นางสาวภาวิตา ทิพย์ญาณ
รหัสนักศึกษา 62122301062