Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจ…
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
3. กิจกรรมบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจิตเวช (Activity Therapy)
กิจกรรมบำบัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) ที่เป็นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีความพิการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจโดยการประยุกต์ดัดแปลงกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมาเป็นสื่อสำหรับการรักษา
3.1 ความหมายของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
กลุ่มกิจกรรมบำบัด (Group Activity Therapy)เป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่งโดยใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (Milieu Therapy)
จัดให้ผู้ได้ทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมให้เข้าสู่สภาพปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.2 ความสำคัญของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
กลุ่มกิจกรรมบำบัดเป็นวิธีการบำบัดรักษาวิธีหนึ่งที่พยาบาลมีบทบาทสำคัญในปัจจุบันเป็น บทบาทอิสระที่พยาบาลสามารถกระทำได้เอง และมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวชเป็นอย่างมาก
เนื่องจากผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการบำบัดรักษาในกลุ่มกิจกรรมบำบัด สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองจากการพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่ม
3.3 จุดมุ่งหมายในการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) เพื่อป้องกันการถดถอย (Regression) ของผู้ป่วย
เพราะกิจกรรมจะทำให้ผู้ป่วยต้องใช้ความสามารถที่มีอยู่ทำกิจกรรมนั้น
2) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
เพราะในการทำกิจกรรมผู้ป่วยต้องตัดสินใจทำในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
3) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) ผู้ป่วยทำกิจกรรมบางอย่างที่ประสบผลสำเร็จ และได้รับคำชมเชยจะทำให้ความรู้สึกภาคภูมิใจ
4) เพื่อให้ผู้ป่วยมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอื่น ๆ รู้จักที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เรียนรู้ที่จะไว้วางใจผู้อื่น และรู้จักประนีประนอมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้
5) เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของกลุ่มและบุคคลอื่น
6) เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสระบายความรู้สึก
7) เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในความเป็นจริงไม่อยู่กับการรับรู้ที่ผิด ๆ
8) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้จักตนเองรู้ถึงความสามารถของตนเอง
เพราะกิจกรรมจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ค้นหาตนเอง แสดงความสามารถของตนเอง
9) ให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียดให้กับผู้ป่วย
10) เพื่อช่วยในการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
จากการกระทำและพฤติกรรมของผู้ป่วยขณะอยู่ในกลุ่ม
3.4 หลักการรักษาด้วยกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Meeting basic need)
2) ป้องกันความเสื่อมถอย (Prevention)
3) พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น (Development)
4) การคงสภาพที่เหลืออยู่เอาไว้ (Maintenance)
3.5 แนวคิดเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นกลุ่ม
มีดังนี้
1) ความต้องการของมนุษย์ โดยพื้นฐานมีความปรารถนาจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2) บุคคลแต่ละคนมีความสามารถพิเศษในตนเองและมีความแตกต่างกัน
3) การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ละคนมีผลต่อการ
3.6 ประโยชน์ของกระบวนการกลุ่ม
ช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้นำเอาความสามารถต่าง ๆ
ของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.7 คุณสมบัติของกลุ่ม
1) กลุ่มมีความสามารถพัฒนาความผูกพัน ความเห็นอกเห็นใจกัน
มีแรงดึงดูดให้สมาชิกเข้าร่วมกัน
2) กลุ่มมีความสามารถควบคุม
ให้รางวัลและลงโทษพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งจะสร้างวัฒนธรรม กฎเกณฑ์
3) กำหนดขอบเขตของความเป็นจริงให้กับผู้ป่วยแต่ละคนได้
4) ช่วยให้สมาชิกแสดงอารมณ์และระบายอารมณ์ที่รุนแรงในทางที่เหมาะสม
5) เปรียบเทียบและสะท้อนกลับ เช่น เปรียบเทียบอารมณ์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ
3.8 ประเภทของกลุ่ม
1) แบ่งตามลักษณะการรับสมาชิก
2) แบ่งตามเทคนิคการดำเนินการกลุ่ม
3) แบ่งตามวัตถุประสงค์
3.9 ชนิดของกิจกรรมบำบัด
3.9.1 กลุ่มอาชีวบำบัด (Occupational Therapy Group) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณค่าของตนเอง และสอนทักษะใหม่ ๆ ในด้านอาชีวะใช้ได้กับ ผู้ป่วยทุกวัย
3.9.2 นันทนาการบำบัด (Recreation Therapy Group)
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อรื่นเริงบันเทิงใจ และให้ทุกคนในกลุ่มได้สนุกสนาน
3.9.3 กลุ่มการศึกษาบำบัด (Re-Education Therapy Groups)
เป็นกลุ่มกิจกรรมที่สัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาในการปรับตัวบางอย่างของผู้ป่วย
1) กลุ่มวรรณกรรมบำบัด (Poetry Therapy Groups)
2) กลุ่มบรรณานุกรมบำบัด (Library or Bibliotherapy Groups)
3) กลุ่มกระตุ้นผู้ฟัง (Re-motivation Groups)
4) กลุ่มสอนหนังสือ (Schooling Groups)
5) กลุ่มสอนสุขศึกษา (Health Education Groups)
3.9.4 กลุ่มฝึกหัดการเข้าสังคม (Resocialization Therapy Groups)
1) กลุ่มประชุมกลุ่มบุคลากร (Staff Meeting Groups)
2) กลุ่มพบปะสังสรรค์ (Social Meeting Groups)
3) กลุ่มเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน (Discharge Groups)
3.10 ขั้นตอนในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม ได้แก่ การเตรียมความรู้ การเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปประเมินผล เป็นการประเมินปัญหา อุปสรรค
3.11 องค์ประกอบของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) สถานที่ จะต้องเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมแต่ละชนิด มีอุปกรณ์ที่จำเป็น
2) ผู้นำกลุ่มผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ
3) สมาชิกกลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการดีขึ้น
มีความสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ ทั้งชายและหญิง
4) กิจกรรม ที่นำมาใช้ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่มกิจกรรมบำบัดที่ทำเหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
5) บรรยากาศ จะช่วยให้การทำงานเป็นกลุ่มดำเนินไปอย่างมีความสุขมีชีวิตชีวา
3.12 แผนผังการจัดกลุ่ม
ในการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ควรเลือกรูปแบบการจัดผังที่นั่งให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ
แบบที่ 1 นั่งรอบโต๊ะ
แบบที่ 2 นั่งรูปตัววี
แบบที่ 3 นั่งรูปวงกลม
3.13 ขนาดของกลุ่มและการกำหนดเวลาในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ได้แบ่งออกเป็น 3 ขนาดดังนี้ 1) กลุ่มขนาดเล็ก มีจำนวนสมาชิก 8-12 คน ใช้เวลา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง 2) กลุ่มขนาดกลางมีจำนวนสมาชิก 20-30 คน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 3) กลุ่มขนาดใหญ่มีจำนวนสมาชิก 30-50 คน ใช้เวลา 1 - 2 ชั่วโมง
3.14 หลักในการเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม
1) ผู้ป่วยซึมเศร้า (Depression) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรม
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความอบอุ่นใจ หายว้าเหว่
2) ผู้ป่วยวิตกกังวล (Anxiety) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่ให้พลังงาน กลุ่มกีฬา กลุ่มอ่านหนังสือและวิจารณ์ข่าว
3) ผู้ป่วยก้าวร้าว (Aggressive) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่ได้ออกแรง เช่น กลุ่มกีฬา
4) สมาชิกในกลุ่มควรมีทั้งเพศชายและหญิง เป็นการฝึกให้ผู้ป่วยได้ปรับตัวอยู่ในสังคมที่เป็นจริง
3.15 การจัดผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดด้วยกิจกรรม
ผู้ป่วยทุกคนที่รับเข้าไว้รักษาอยู่ในโรงพยาบาล จะได้รับการประเมินตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลการจัดกิจกรรมให้กับผู้ป่วยจะต้องคำนึงถึงอาการ พฤติกรรม และอารมณ์ของผู้ป่วยซึ่งแบ่งเป็นระยะ 1) ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการทางจิต แต่ไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว 2) ระยะที่สอง เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีพฤติกรรมสนใจสิ่งแวดล้อม 3) ระยะก่อนกลับบ้าน ระยะนี้ผู้ป่วยจะถูกส่งไปอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ 4) ระยะที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่ชุมชน
3.16 บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) ผู้นำกลุ่ม (Leader)
3) สมาชิกกลุ่ม (Member)
2) ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม (Co-leader)
4) ผู้สังเกตการณ์ (Observer)
3.17 ข้อตกลงของกลุ่ม (Group Contract)
ในการบำบัดรักษาแบบกลุ่มผู้รักษาและผู้รับการรักษา
ควรจะได้ทำการตกลงกันเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของผู้รักษาและสมาชิกเกี่ยวกับกฎระเบียบของกลุ่ม โครงสร้างและการดำเนินการอาจเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือตกลงด้วยวาจาซึ่งจะต้องครอบคลุม
3.18 บทบาทของพยาบาลในการจัดกิจกรรมบำบัด
พยาบาลเป็นบุคลากรหนึ่งในทีมผู้รักษาพยาบาลทางจิตเวช ในงานกิจกรรมบำบัดจิตเวช พยาบาลมีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม หรือสมาชิกในกลุ่ม และผู้สังเกตการณ์ก็ได้
3.19 ปัญหาในการทำกิจกรรมและแนวทางแก้ไข
1) สมาชิกไม่พูด เหม่อลอย ไม่ฟัง ไม่สนใจผู้อื่น
ผู้นำกลุ่มต้องพิจารณาว่าความเงียบเกิดจากอะไร
2) สมาชิกโกรธ ผู้นำกลุ่มต้องระมัดระวังในการโต้ตอบกับสมาชิกที่มีความโกรธเพราะคนอื่นๆ จะสังเกตอย่างใกล้ชิด
3) สมาชิกสร้างฉากกำบัง ผู้ป่วยบางคนหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงประสบการณ์
4) สมาชิกพูดอยู่คนเดียว ปกติการผูกขาดการพูดมักจะแสดงถึงความวิตกกังวลและปกป้องตนเอง