Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่12บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเ…
บทที่12บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
การบำบัดรักษาทางกาย (Somatic therapy)
จิตเภสัชบำบัดและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs or Major transquilizer drugs)
1) Phenothiazine derivatives
Chlopromazine (Largactil)
Promazine (Sparine)
Trifluoperazine (Stelazine, Triflazine, Triplex)
Thioridazine (Melleril)
2) Thioxanthene derivatives
3) Butyrophenone derivatives
Haloperidol (Haldol)
มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายฟีโนไทอะซีน
Clozapine ใช้รักษาโรคจิตเภทได้ผลดีทั้งอาการทางด้านบวกและอาการทางด้านลบ
4) Dihydroindolone derivatives
5) Dibenzoxapine derivatives
ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant drugs)
Secondary generation antidepressants
Bicyclic antidepressants เช่น Zimelidine (Zelmid), Viloxazine (Vivalan)
Tetracyclic antidepressants เช่น Maprotiline (Ludiomil),
Tetracyclic antidepressants เช่น Maprotiline (Ludiomil),
Conventional antidepressant
(2) Tricyclic antidepressants
(1) Monoamine Oxidase inhibitors (MAOI)
ยาควบคุมอารมณ์ (Mood-stabilizing drug)
1) ลิเทียมคาร์บอเนต (Lithium Carbonate)
ยาคลายกังวล (Anxiolytic, Antianxiety drug or minor transquilizer drugs)
Benzodiazepines มีฤทธิ์ Anti anxiety, Anti
aggression, Muscle relaxant, Anti convulsant
Sedative ออกฤทธิ์โดยเพิ่ม GABA ergicneurotransmission (GABA – aminobutyric acid เป็น Inhibitory neurotransmitterที่สำคัญของสมอง) มีฤทธิ์คลายกังวลดีที่สุด
การรักษาด้วยไฟฟ้า
การรักษาทางจิตเวชโดยใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนจำกัดผ่านเข้าสมองในระยะเวลาจำกัดทำให้เกิดอาการชักเกร็งทั้งตัว (Grandmal Seizaue) ทำให้ความผิดปกติทางจิตบางชนิดลดลง
ข้อบ่งใช้ในการรักษา
1) ผู้ป่วยที่อาการเศร้าทุกชนิด และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
2) ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่คลั่งหรือซึมเฉย (Catatonic Schizophrenia)
3) โรคจิตในวัยเสื่อมในระยะเศร้า
4) โรคความผิดปกติของอารมณ์ทั้งในระยะคลั่งและระยะเศร้า
5) อาการทางจิตเวชอื่นๆ ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
การผูกยึดและการจำกัดพฤติกรรม
การผูกมัด (Physical restrain) โดยใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 3-5 คน
วิธีการนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องรู้ขั้นตอนในการดำเนินงาน ทำอย่างรวดเร็ว มั่นใจ ไม่กลัว
การใช้ยาและการจำกัดขอบเขต (Medical restrain and room seclusion)สำหรับรายฉุกเฉิน แพทย์อาจให้ฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยสงบก่อนนำผู้ป่วยเข้าห้องหรือให้ยา)หลังจากนำผู้ป่วยเข้าห้องเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันการใช้ห้องแยก (Room seclusion)ยังมีประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง
การบำบัดรักษาทางจิต (Psychotherapy)
จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
เป็นการรักษาทางจิตที่เน้นบทบาทของแรงในจิตไร้สำนึกในโรคประสาท
ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากการสะกดจิต ปรากฏการณ์บางอย่าง เช่น การฝัน และการพลั้งปาก
การสะกดจิต (Hypnosis)
การทำให้เกิดความผิดปกติในการรู้สึกตัว
คล้ายกับการนอนหลับ แต่ไม่ใช่การนอนหลับขณะถูกสะกดจิต ผู้ป่วยจะมีสมาธิสูง
และเชื่อฟังคำแนะนำหรือคำสั่งได้ดีแต่ความรู้สึกในส่วนปลาย
จิตบำบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy)
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งของจิตใจเฉพาะเรื่อง
แก้ไขกลไกทางจิตที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความจริงของชีวิต
โรคที่ใช้รักษา ได้แก่ โรคประสาท บุคลิกภาพแปรปรวน หลงตัวเอง กามวิตฐาน บกพร่องทางเพศ จิตเภทชนิดแฝง
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัดรายบุคคล
1) พยาบาลทั่วไป ได้แก่ พยาบาลที่จบหลักสูตรการพยาบาลที่มีวุฒิปริญญาตรีอาจได้รับการศึกษาพิเศษในหลักสูตรการพยาบาลจิตเวชระยะสั้นจะทำหน้าที่บริหารงานในหน่วยรักษาให้การพยาบาลตามแผนการรักษา
2) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจิตเวช หรือ Clinical nurse specialistเป็นพยาบาลที่ได้รับการศึกษาขั้นปริญญาโททางการพยาบาลจิตเวชสามารถทำจิตบำบัดได้ทั้งกับผู้ป่วยรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และเป็นที่ปรึกษาสำหรับพยาบาลทั่วไปและช่วยแพทย์ในการบำบัด
จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม
1) พยาบาลทั่วไป ได้แก่ พยาบาลที่จบหลักสูตรการพยาบาลที่มีวุฒิปริญญาตรีอาจได้รับการศึกษาพิเศษในหลักสูตรการพยาบาลจิตเวชระยะสั้นจะทำหน้าที่บริหารงานในหน่วยรักษาให้การพยาบาลตามแผนการ
2) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจิตเวช หรือ Clinical nurse specialistเป็นพยาบาลที่ได้รับการศึกษาขั้นปริญญาโททางการพยาบาลจิตเวชสามารถทำจิตบำบัดได้ทั้งกับผู้ป่วยรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และเป็นที่ปรึกษาสำหรับพยาบาลทั่วไปและช่วยแพทย์ในการบำบัด
เป็นการรักษาความแปรปรวนทางจิตใจและพฤติกรรมอย่างหนึ่ง โดยอาศัยอิทธิพลของกระบวนการกลุ่ม หรือกลไกกลุ่มโดยเน้นสัมพันธภาพระหว่างบุคคลช่วยให้เกิดการเรียนรู้ความ ไว้วางใจ ความซื่อสัตย์การให้และรับความคิดเห็นอย่างเปิดเผย ช่วยให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ตนเอง กลุ่มมักจะพบกัน 1-2ครั้ง/สัปดาห์ ใช้เวลาครั้งละประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง
ครอบครัวบำบัด (Family Therapy)
เป็นวิธีการรักษาสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางจิตใจโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การกระทำหน้าที่ในครอบครัวทั่ว ๆ ไปดีขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงในสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัวเพื่อลดปัญหาหรือความไม่ลงรอยกันที่เกิดขึ้น
นิเวชบำบัดหรือสิ่งแวดล้อมบำบัด (Milieu therapy)
ลักษณะของ Milieu therapy
1) มีโปรแกรมสำหรับการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
2) มีรูปแบบการปกครองตนเอง เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบ
3) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบมากขึ้น
4) มีความหลากหลายของกิจกรรมบำบัด
5) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับครอบครัว
6) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกไปสู่ชุมชน
7) ทีมสุขภาพจิตต้องร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของ Milieu therapy
1) ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดทัศนคติที่ดีต่อทีมสุขภาพจิต 2) เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นการฝึกทักษะการอยู่ในสังคม 3) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของจิตใจ 4) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เป็นจริง 5) เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมที่เป็นการบำบัดผู้ป่วย
1) สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุได้แก่ - สภาพของโรงพยาบาลและหอผู้ป่วย การเงียบสงบ ร่มรื่น น่าอยู่อาศัยมีลักษณะคล้ายบ้าน คือมีความสะดวกสบาย และรู้สึกปลอดภัย มีห้องนอนและห้องน้ำที่จัดเป็นสัดส่วน
2) สิ่งแวดล้อมด้านบุคคล- ผู้ให้การรักษา ที่สำคัญได้แก่ จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก
3) สัมพันธภาพระหว่างบุคคลในหน่วยรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตรทำให้เกิดความสามัคคีและปรองดองกันตรงข้ามสัมพันธภาพที่ไม่ดีต่อกันก่อให้เกิดข้อขัดแย้งและปัญหาอื่น ๆ
บทบาทของพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการตอบสนองทางอารมณ์ เช่น ในยามโกรธจะบอกความรู้สึกโกรธแทนการแสดงออกให้เห็นทางพฤติกรรมว่ากำลังโกรธ
2) เป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมปกติการตอบสนองต่อผู้ป่วยควรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสังคมทั่วไป ไม่ใช่ตอบสนองเพราะผู้ป่วยเป็นผู้ป่วย
3) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมทางสังคม เช่นพฤติกรรมการตอบรับในกรณีที่พยาบาลควรตอบรับ
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
องค์ประกอบในการใช้พฤติกรรมบำบัด
1) การรักษามีรูปแบบและโครงสร้างที่แน่นอน
2) การรักษาจะเน้นที่ปัญหาปัจจุบัน
3) วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและยังคงดำเนินต่อมา
4) ทำการประเมินปัญหาทั้งก่อนและหลังการรักษา
5) ผู้ป่วยจะมีส่วนในการกำหนดโปรแกรมการรักษา
6) ในการรักษาแต่ละครั้งจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน
7) จุดประสงค์หลักของการรักษา
8) ผู้รักษาจะช่วยสอนให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา
9) เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในผู้ป่วยแต่ละราย
เทคนิคที่ใช้บ่อยในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
การใช้แรงเสริมพฤติกรรม (Reinforcement)
การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertive Training)
การขจัดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (Systemic Desensitization)
การเรียนรู้จากตัวแบบ (Social Modeling Technique)
การใช้ตัวกระตุ้นที่ไม่พึงพอใจ (Aversive Therapy)
การสร้างพฤติกรรมใหม่ (Behavior rehearsal)
การขจัดพฤติกรรม (Extinction) เป็นการหยุดยั้ง
บทบาทของพยาบาล
1) เป็นผู้บำบัดหรือผู้ช่วยเหลือผู้บำบัด 2) ช่วยสถานที่และจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาแต่ละวิธี
3) ร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา
4) ให้กำลังใจผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา
กิจกรรมบำบัด (Activity therapy)
ความสำคัญของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
กลุ่มกิจกรรมบำบัดเป็นวิธีการบำบัดรักษาวิธีหนึ่งที่พยาบาลมีบทบาทสำคัญในปัจจุบันเป็นบทบาทอิสระที่พยาบาลสามารถกระทำได้เองและมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวชเป็นอย่างมากเนื่องจากผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการบำบัดรักษาในกลุ่มกิจกรรมบำบัดสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองจากการพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่มทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวล สามารถเรียนรู้ เลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
จุดมุ่งหมายในการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) เพื่อป้องกันการถดถอย (Regression) ของผู้ป่วย
2) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
3) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem)
4) เพื่อให้ผู้ป่วยมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอื่น ๆ
5) เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของกลุ่มและบุคคลอื่น
หลักการรักษาด้วยกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Meeting basic need)
2) ป้องกันความเสื่อมถอย (Prevention)
3) พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น (Development)
4) การคงสภาพที่เหลืออยู่เอาไว้ (Maintenance)
แนวคิดเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นกลุ่ม
1) ความต้องการของมนุษย์ โดยพื้นฐานมีความปรารถนาจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2) บุคคลแต่ละคนมีความสามารถพิเศษในตนเองและมีความแตกต่างกัน
3) การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ละคนมีผลต่อการ
ประโยชน์ของกระบวนการกลุ่ม
ช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้นำเอาความสามารถต่างๆของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ช่วยเสริมสร้างทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกและประสบการณ์ที่ได้รับจากกลุ่มจะส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มได้พัฒนาความสามารถพิเศษขึ้นมาแล้วนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและกลุ่มได้พัฒนาทางด้านสังคมไปในทางที่ดี
คุณสมบัติของกลุ่ม
1) กลุ่มมีความสามารถพัฒนาความผูกพัน
2) กลุ่มมีความสามารถควบคุมให้รางวัลและลงโทษพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
3) กำหนดขอบเขตของความเป็นจริงให้กับผู้ป่วยแต่ละคนได้
4) ช่วยให้สมาชิกแสดงอารมณ์และระบายอารมณ์ที่รุนแรงในทางที่เหมาะสม
ประเภทของกลุ่ม
1) แบ่งตามลักษณะการรับสมาชิก
กลุ่มเปิด (Open Group) หมายถึง
การรับสมาชิกเข้ากลุ่มแต่ละครั้งไม่ยึดติดว่าจะเป็นสมาชิกกลุ่มเดิม
กลุ่มปิด (Closed Group) หมายถึง กลุ่มที่มีการรับสมาชิกคงที่ และจำกัด
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะเสร็จสิ้นการดำเนินกลุ่ม
2) แบ่งตามเทคนิคการดำเนินการกลุ่มเป็น 2 ลักษณะ
กำหนดโครงสร้าง คือ กลุ่มที่มีการจัดโครงสร้างที่แน่นอนว่าใครเป็นประธาน เลขา
ผู้สังเกตการณ์ สถานที่ ระยะเวลา รูปแบบการดำเนินกลุ่ม และวิธีการประเมิน
ไม่กำหนดโครงสร้าง คือ กลุ่มที่ไม่มีการกำหนดโครงสร้างว่าจะเป็นอย่างไรไม่มีการนำทาง แล้วแต่กระแสของกลุ่ม สมาชิกทุกคนมีอิสระในการดำเนินกลุ่ม
3)แบ่งตามวัตถุประสงค์หรือผสมผสานระหว่างการแบ่งวัตถุประสงค์และการกำหนดโครงสร้าง
ชนิดของกิจกรรมบำบัด
กลุ่มอาชีวบำบัด (Occupational Therapy Group)
นันทนาการบำบัด (Recreation Therapy Group)
กลุ่มการศึกษาบำบัด (Re-Education Therapy Groups)
กลุ่มสอนสุขศึกษา (Health Education Groups)
กลุ่มฝึกหัดการเข้าสังคม (Resocialization Therapy Groups)
กลุ่มสอนหนังสือ (Schooling Groups)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด (Therapeutic Relationship)
การบำบัดเชิงการรู้คิด
แนวคิดพื้นฐานของการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-behavioral therapy
:CBT)
เชื่อว่าความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือ dysfunctional thinkingทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ของมนุษย์ โดยในโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่จะพบลักษณะของความคิดที่บิดเบือนไปบางประการ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาความคิด อัตโนมัติทางลบ
ขั้นตอนที่ 2 การ ประเมินและตรวจสอบความคิดดังกล่าวว่าเป็นความจริง หรือไม่มากน้อยเพียงใด (Validity)
ขั้นตอนที่ 3 การตอบสนองต่อความคิดอัตโนมัติ
ขั้นตอนการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
1) สร้างสัมพันธภาพแห่งความไว้วางใจกับผู้รับ
2) ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมมองของ
แนวคิดทางปัญญาตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะ
3) แนะนำให้ผู้รับการปรึกษารู้จักการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
4) ให้ผู้รับการปรึกษามีความหวังในการที่จะปรับ ลดอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์ของตนเอง
5)ปรับความคาดหวังของผู้รับการปรึกษาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์
6) ตั้งประเด็นสำหรับการให้การปรึกษาในวันนี้ร่วมกัน
7) ระบุอารมณ์และให้คะแนนระดับความแรงของอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม
8) สำรวจเบื้องต้นถึงเรื่องราวของปัญหาของผู้รับการปรึกษา
9) ระบุปัญหาและตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
10) สอนผู้รับการปรึกษาถึงความเชื่อมโยงของความคิดอารมณ์พฤติกรรมและสรีระ
11) มอบหมายการบ้านให้ผู้รับการปรึกษาสังเกต
12) สรุปการสนทนาและให้ข้อมูลย้อนกลับจาก