กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินด้วย Braden Scale โดยประเมิน
ระดับความรู้สึกตัว (การรับรู้) ,ความเปียกชื้นของผิวหนัง , ระดับของการทำกิจกรรม ,การเคลื่อนไหวของร่างกาย , ภาวะโภชนาการ , การเสียดสีและการดึงรั้ง เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของการเกิดแผลกดทับ
2.ประเมินผิวหนังผู้ป่วยว่ามีผื่น บวม แดงหรือไม่ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของการเกิดแผลกดทับ
3.ดูแลความสะอาดร่างกายของผู้ป่วย โดยเฉพาะข้อพับต่างๆ ไม่ให้อับ ทาโลชั่นให้กับผู้ป่วยหากมีผิวหนังแห้ง และดูแลการขับถ่ายไม่ให้ผิวหนังบริเวณผู้ป่วยเปียกชื้น เพื่อป้องกันผิวหนังเปียกชื้อทำให้เกิดแผลกดทับ
4.เปลี่ยนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนทุกครั้งที่มีการเปียกชื้น เพื่อลดการอับชื้น
5.ดูและแลแนะนำญาติใช้ผ้าขวางเตียงรองตัวผู้ป่วยและยกตัวผู้ป่วยด้วยผ้าขวางเตียงเพื่อป้องกันผิวหนังของผู้ป่วยเสียดสีกับที่นอน
6.ดูแลให้ได้รับสารอาหารตามแผนการรักษา
วันที่ 9 /09/64
BD (1.5:1) lowsult 200 ml x 4 feed + น้ำตาม 30 ml/feed +ไข่ขาว2ฟอง/มื้อ โดยจะได้รับพลังงานทั้งหมด 1215 Kcal/มื้อ
วันที่12/09/64
BD (2:1) lowsult 200 ml x 4 feed + น้ำตาม 30 ml/feed +ไข่ขาว2ฟอง/มื้อโดยจะได้รับพลังงานทั้งหมด 3215 Kcal/มื้อ
7.พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดการกดทับและช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น ลดการลุกลามของแผลกดทับและบันทึกลักษณะความผิดปกติของผิวหนัง
8.ดูแลและแนะนำญาติให้สังเกตการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระของผู้ป่วย หากขับถ่ายให้ดูแลเช็ดทำความสะอาดผิวหนังและเปลี่ยนแผ่นรองซับทันทีหลังการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะหรืออย่างช้าไม่เกิน 30 นาที (พีธรากร, 2564)
-