Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มงคลชีวิต, www.kalyanamitra.org, image, image, image, image, นายศตายุ…
มงคลชีวิต
การเห็นอริยสัจ
ให้เห็นถึงความจริงอันประเสริฐ คือ
ทุกข์ (ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ)
สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์)
นิโรธ (ความดับทุกข์)
และมรรค (วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์)
การนำไปประยุกต์ใช้ คือ ให้รู้จักคิดอย่างมีลำดับขั้น รู้เหตุรู้ผล ให้คิดวิเคราะห์แยกแยะ รู้ซึ้งถึงปัญหา และสรรหาวิธีแก้ได้อย่างถูกต้อง เช่นรู้วิธีป้องกันตนจากโควิด รู้ว่าควรต้องทำสิ่งใดก่อนและหลัง
การประพฤติพรหมจรรย์
การประพฤติตนอย่างพระพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลส
การนำไปประยุกต์ใช้ คือ รู้จักให้ทานช่วยเหลือบริจาค เป็นมิตรกับคนโดยทั่วไป เว้นจากการเสพเมถุน ละเว้นจากความชั่วร้ายทั้งปวง เช่นให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน บริจาค ปฏิบัติตามมาตรการ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ความเพียรเผากิเลส
ให้ปรับกิริยาอิริยาบถเพื่อเผาไหม้กิเลส ซึ่งเราจะคุ้นเคยกับกิเลส เราจึงต้องทำลายกิเลสก่อนกิเลสจะย้อนมาทำลายเรา
การนำไปประยุกต์ใช้ คือ ไม่หลงไปกับสิ่งรอบกาย อดทนไม่อ่อนแอ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่งมงาย เช่นให้มีจิตใจที่มั่นคง ไม่หลงไปตามอะไรง่าย รู้จักตามข่าวสาร ไม่ตื่นตระหนก หรือตีตนไปก่อนไข้ ให้รู้จักเฝ้าระมัดระวังแต่พอดี
การบรรลุนิพพาน
การนำไปประยุกต์ใช้ คือ ตั้งจิตใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ยอมรับกับความจริงของโลก ให้จิตใจไม่โศก ปราศจากธุลี พร้อมเผชิญหน้ากับทุกๆสถานการณ์ เช่นการประสบพบเจอกับการสูญเสีย
ให้ดับกิเลส ดับทุกข์ สูญจากกิเลส สูญจากทุกข์ เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร (ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่เจ็บตาย)
www.kalyanamitra.org
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค., 2557.
-
-
-
-
-