Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีปัญหาการใช้สารเสพติด,…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีปัญหาการใช้สารเสพติด
สารเสพติด (substance)
คือสารใดก็ตามเมื่อเขาสู่ร่างกายโดยวิธีกิน ฉีด ดม หรือสูบแล้วมีผลต่อร่างกายและจิตใจผู้ใช้ โดยทำให้มีการเพิ่มขนาดการใช้สารเรื่อยๆ หากหยุดใช้จะเกิดอาการขาดสารเสพติด เมื่อใช้นานๆความต้องการสารนั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น และสารเหล่านั้นเมื่อสะสมจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้ร่างกายทรุดโทรมและจิตใจผิดปกติ
ประเภทของสารเสพติด
1.แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
1.2 สารกระตุ้นประสาท จะกระตุ้นสมองทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีมากผิดปกติจนร่างกายตื่นตัว กระฉับกระเฉง ความต้องการนอนและความอยากอาหารลดลง เช่น แอมเฟตามีน โคเคน บุหรี่ กระท่อม กาแฟ ยาไอซ์ ยาอี
1.1 สารกดประสาท มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยจะกดการทำงานของสมองบางส่วน เช่น แอลกอฮอล์ สารระเหย ฝิ่น ยากล่อมประสาท Benzodiazepine ยากลุ่มยากันชัก
1.4 สารออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกดประสาท กระตุ้นหรือหลอนประสาทร่วมกัน เช่น กัญชา โดยในตอนแรกอาจทำให้ตื่นตัว ต่อมาอาจมีอาการเมาอ่อนๆ จนสุดท้ายทำให้เกิดอาการประสาทหลอนและการรับรู้เสียไป
1.3 สารหลอนประสาท ทำให้การรับรู้ความจริงบิดเบือนไป โดยสารนี้จะมีผลต่อประสาทสัมผัส ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เช่น เห็ดขี้ควาย ยาอี ยาเลิฟ กัญชา สารระเหย LSD
แบ่งตามที่มาของสาร
2.1 ได้จากธรรมชาติ เช่น กัญชา กระท่อม ฝิ่น มอร์ฟีน โดยพืชประเภทนี้มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ไปนำดอก ใบ มาเสพมาแปรรูปจนเกิดอาการติดสารเสพติดตามมา
2.2 ได้จากการสังเคราะห์ เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน สารระเหย
แบ่งตามการบังคับใช้กฏหมาย
3.1 ถูกกฏหมาย(legal drug) เช่น กาแฟ บุหรี่ สุรา กัญชา
3.2 ผิดกฏหมาย (illegal drug) เช่น กระท่อม ฝิ่น มอร์ฟีน แอมเฟตามีน
แบ่งตามพรบ.สารเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
4.3 ประเภทที่ 3 ให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาประเภทที่ 2 เป็นส่วนผสม โดยมีประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน
4.4 ประเภทที่ 4 คือ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2
4.2 ประเภทที่ 2 ให้โทษประเภททั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่น
4.5 ประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย
4.1 ประเภทที่ 1 ให้โทษร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน
สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการใช้สารเสพติด
ด้านชีวภาพ เช่น
พันธุกรรม
บุคคลที่ครอบครัวมีประวัติการใช้สารเสพติดจะโอกาสใช้สารเสพติดมากกว่าบุคคลที่ครอบครัวไม่มีประวัติการใช้ และ
พยาธิสภาพในสมอง
จากการตรวจการทำงานของสมองจะพบว่าบุคคลที่เสพสารเสพติด จะมีสารโดปามีนในระดับต่ำ เพราะสารเสพติดบางชนิดทำให้กดการหลั่งของโดพามีน
ส่งผลให้ผู้เสพต้องเสพยาเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระตุ้นความสุขแทน
โดพามีนที่เสียไป
ปัญหาด้านจิตใจ
ผู้ที่ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดมากกว่าผู้อื่น
ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
พฤติกรรมเลียนแบบ
ทำตามค่านิยมของสังคมเพื่อให้คนอื่นยอมรับ
ครอบครัวมีปัญหา
ส่งผลให้ต้องใช้สารเสพติดเพื่อเพิ่มความสุข
ความยากง่ายในการซื้อขาย
เมื่อยาเสพติดราคาถูกและสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ด้านการเรียนรู้และการมีเงื่อนไข เช่น
การเสริมแรงทางบวก
ทำไมคนถึงเสพเรื่อยๆ เพราะ เขาเสพแล้วมีความสุข มีเพื่อนชวนเสพเรื่อยๆ เขาเสพเพราะได้รับความสุขจากการเสพ
การเสริมแรงทางลบ
ผู้เสพรู้ว่าการเสพช่วยให้เขาลดความไม่สบายใจต่างๆลงได้ จึงพยายามใช้ยาเพื่อป้องกันความรู้สึกเหล่านั้น
Substance Induced Disorders
ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด
ภาวะเป็นพิษ (substance intoxication) หรืออาการเมายา เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวภายหลังเสพสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น อารมณ์ผิดปกติ การรับรู้ผิดปกติ สติลดลง ตัดสินใจบกพร่อง
ภาวะถอนสารเสพติด (substance withdrawal) หรืออาการถอนยา จะเกิดขึ้นภายหลังการหยุดยาหรือลดขนาดยาลง โดยจะออกฤทธิ์ตรงข้ามกับการเสพ จึงเป็นสาเหตุให้กลับไปเสพอีก
ความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดจากสารเสพติด (other substance/medication induced mental disorders) เช่น ซึมเศร้า กังวล ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ มีอารมณืสองขั้ว โดยอาการบางอย่างสามารถหายหรือดีขึ้นภายหลังหยุดเสพ แต่บางอย่างก็ไม่หาย
Substance Use Disorders
ความผิดปกติของการใช้สารเสพติด
คือ การเสพติดจนเกิดโทษ เกิดการใช้สารที่ไม่เหมาะสมจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ การทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีอาการดังข้อต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
1.ใช้สารนั้นมากหรือเป็นนานกว่าที่ตั้งใจไว้
2.ต้องการสารนั้นอย่างต่อเนื่อง แม้พยายามลดก็ไม่สำเร็จ
3.ใช้เวลาส่วนมากไปกับการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งสาร
4.มีแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากใช้สารนั้นมาก
5.ใช้สารนั้นซ้ำๆ จนกระทบการทำหน้าที่ปกติของตน
6.ใช้สารนั้นซ้ำๆแม้การเสพติดจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านสังคม
7.กิจกรรมทางสังคม ปฏิสัมพันธ์ต่างๆถูกยกเลิกเนื่อจากการใช้สาร
8.ใช้สารนั้นซ้ำๆจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย
9.ใช้สารนั้นเรื่อยๆแม้จะรู้ว่าอาการทางกายและทางจิตเกิดจากการใช้สาร
10.มีอาการดื้อยา (tolerance) โดยมีลักษณะตามข้อต่อไปนี้ 1 ใน 2
มีความต้องการใช้ยาเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดผลตามต้องการ
ผลที่เกิดจากการใช้ลดลง เมื่อใช้จำนวนเท่าเดิม
11.มีอาการขาดยา (withdrawal) โดยมีลักษณะตามข้อต่อไปนี้ 1 ใน 2
มีอาการในกลุ่มขาดยา
ใช้สารนั้นเพื่อบรรเทาอาการขาดยา
Alcohol
คือ สารเสพติดที่ใช้ได้อย่างถูกกฏหมาย เป็นสารที่มีส่วนผสมของ ethyl-alcohol ที่สามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วในทางเดินอาหาร จะจับกับ GABA receptor ออกฤทธิ์กดประสาท
Alcohol intoxication
ภาวะพิษจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้เกิดความผิดปกติของพฤกติกรรมหรือจิตใจ ในขณะเมาเช่น ก้าวร้าว อ่อนไหว อาการหน้าแดง เดินเซ จะเริ่มเมาเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมีค่า 200 มก.เปอร์เซ็น และจะส่งผลเสียรุนแรงหากมีปริมาณถึง 400 มก.เปอร์เซ็น ผู้ดื่มอาจหมดสติและเสียชีวิตได้
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะ Alcohol intoxication
1.ประเมินสัญญาณชีพและอาการของ Alcohol intoxication
2.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ลดการกระตุ้น ดูแลป้องกันอุบัติเหตุ (กรณีวุ่นวายแพทย์อาจจ่าย Diazepam 5 - 10mg พยาบาลต้องดูแลให้ได้รับยาและประเมินอาการข้างเคียง ที่สำคัญ คือ กดการหายใจ) และระวงการได้รับยาที่อาจเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์
Alcohol withdrawal
คือ ภาวะถอนสุราหรืออาการขาดสุรา ภายหลังจากดื่มมาจนติดแล้วหยุดดื่ม มีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง เช่น หน้าแดง นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก เพ้อ ระแวง สับสน อาการรุนแรงในวันที่ 2 และจะดีขึ้นในวันที่ 4 - 5
Canabinoids
Cannabidiol (CBD) เป็นสารจำพวก cannabinoids ที่แยกได้จากกัญชา CBD มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาค่อนข้างกว้าง และไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทางการแพทย์นิยมใช้รักษาอาการปวดเรื้อรัง
นางสาวภาวิตา ทิพย์ญาณ รหัสนักศึกษา 62122301062