Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช - Coggle Diagram
การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ฮอร์โมนพืช (plant hormone)
เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณน้อยมาก เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ออกซิน (auxin)
เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นจากปลายยอดหรือปลายราก เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ขยายขนาดที่ปลายยอดออกซินแพร่จากด้านที่มีแสงมากไปยังด้านที่มีแสงน้อย ดังนั้นด้านที่มีแสงน้อยจะมีออกซินมากกว่า เซลล์จึงขยายตัวได้มากกว่า ปลายยอดจึงโค้งเข้าหาแสง
ออกซินควบคุมการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรดทำให้ออกดอกเร็วขึ้น
ยับยั้งการเจริญของตาข้าง
จิบเบอเรลลินหรือกรดจิบเบอเรลลิก (gibberellic acid)
กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา (ทำลายการพักตัวของเมล็ดและตา)
เพิ่มการติดผล เพิ่มการเกิดดอกสำหรับพืชวันยาว
กระตุ้นการเจริญของเซลล์ตรงข้อทำให้ต้นไม้สูง
ช่วยเปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียของพืชกระกูลแดง
ไซโทไคนิน
กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เช่น ในลำต้นและราก
จากการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีไซโทไคนิน พบว่า เนื้อเยื่อจะถูกชักนำให้เกิดการแบ่ง
เร่งการขยายตัวของเซลล์ทำให้เซลล์ขยายใหญ่ขึ้น แต่ในรากปริมาณไซโทไคนินที่มากเกินไป จะยับยั้งการยืดยาวของเซลล์ได้
เอทิลีน
เร่งการสุกของผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย ละมุด เร่งการแก่ของผลไม้บนต้น
กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับปะรด
เป็นแก๊สที่เกิดในกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช โดยมีต้นตอจากกรดอะมิโนเมไทโอนีน
กรดแอบไซซิก
พบในใบแก่จัด ผล และรากบริเวณหมวกราก
กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลแก่จัด
สังเคราะห์ในพืชทุกชนิด
ยับยั้งการเจริญและการยืดตัวของเซลล์บริเวณตา
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต (growth move4ment)
nutation เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดเฉพาะส่วนปลายยอดพืช ที่มีกลุ่มเซลล์เจริญเติบโต ไม่เท่ากัน เช่น ต้นถั่ว
spiral movement เป็นการเคลื่อนไหวที่ปลายยอดบิดเป็นเกลียวรอบแกนเพื่อพยุงลำต้นขณะเจริญเติบโต เช่น การพันหลักของมะลิวัลย์ พริกไทย พลู เป็นต้น
การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายใน
การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับแรงดันเต่ง (turgor movement)
การเคลื่อนไหวเนื่องจากการสัมผัส
การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนความเข้มแสง เช่น พืชตระกูลถั่ว ใบหุบตอนเย็น “ต้นไม้นอน” และกางใบตอนรุ่งเช้าเมื่อมีแสงสว่าง
การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์คุม ได้แก่ การปิดเปิดของปากใบเกิดจากการเต่งของเซลล์คุม (guard cell) เนื่องจากการออสโมซิสเข้า – ออกของน้ำในเซลล์คุม
การเคลื่อนไหวที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก
tropism หรือ tropic movement เป็นการเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ถ้าเคลื่อนที่เข้าหาสิ่งเร้าเป็น positive tropism ถ้าเคลื่อนที่ออกจากสิ่งเร้าเป็น negative tropism
nasty หรือ nastic movement เป็นการเคลื่อนไหวที่มีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เช่น การหุบบานของดอกไม้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (thermonasty) เช่น การบานของดอกบัวสวรรค์ บัวจีน ทิวลิป หรือ แสงสว่าง (photonasty) เช่น ดอกบัว ดอกกระบองเพชร หรือการสัมผัส (thigmonasty) เช่น ใบกาบหอยแครง ใบหยาดน้ำค้าง