Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A beautiful mind, อ้างอิง - Coggle Diagram
A beautiful mind
สาเหตุ
เพศและอายุ สามารถเกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้ชายจะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 15-25 ปี ผู้หญิงจะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 25-35 ปี
-
-
-
-
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อผู้ป่วย นายจอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (Mr. John Forbes Nash, Jr.) อายุ 24 ปี เชื้อชาติอเมริกัน สัญชาติอเมริกัน
เขาเป็นอัจฉริยะ แม้จะมีพฤติกรรมแปลกๆ เป็นคนฉลาดมากกว่าคนทั่วไป แต่เขาคงมีปัญหาบางอย่างตั้งแต่วัยเด็ก มีปัญหาในการสัมพันธ์กับคนอื่น เขาเล่าให้เพื่อนฟังว่า "ครูบอกว่า ผมมีสมองโตกว่าคนอื่นสองเท่า แต่มีหัวใจแค่ครึ่งเดียว"
ปัญหาของจอห์น แนช ที่เห็นในหนัง คือ เขาพยายามหาเหตุผลของทุกอย่าง และพยายามแก้สมการชีวิตตามแบบถนัดของเขาตลอดเวลา
-
อาการสำคัญ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาลหวาดระแวงว่ามีคนสะกดรอยตามจะมาทำร้ายวิ่งหนีด้วยความหวาดกลัวออกจากที่ทำงานเพื่อนร่วมงานจึงนำส่งโรงพยาบาลจิตเวช
พัฒนาการตามช่วงวัย
วัยเด็ก
จอห์นเป็นเด็กเรียนเก่ง ชอบทำอะไรด้วยตนเอง แต่เป็นคนเก็บตัว ไม่มีเพื่อนสนิทและมักมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ผู้ป่วยชอบอยู่คนเดียว เนื่องจากรู้สึกว่าเพื่อนชอบแกล้งเขาเพราะเห็นว่าเขาเก่งกว่าฉลาดกว่า ผู้ป่วยไม่ชอบกิจกรรมนันทนาการแต่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์และทำการทดลองด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 12 ปี
วัยรุ่น
จอห์นสนใจทางด้านคณิตศาสตร์และมุ่งมั่นในการเรียนจนจบปริญญาโท ตอนอายุ 20 ปี จอห์นเริ่มมีบุคลิกที่ดูแตกต่างจากผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัดโดยยังคงเป็นคนเก็บตัวและไม่มีเพื่อนสนิท
จอห์นเข้าเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและมีความโดดเด่นทางด้านการเรียนในระดับอัจฉริยะเขาเริ่มมีความคิดว่านักคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่ออนาคตของอเมริกาและในช่วงเดียวกันนั้นจอห์นพบว่ามีเพื่อนรูมเมทคนหนึ่งชื่อชาร์ลส์ (Mr. Charles) ได้มาชวนพูดคุยในสถานการณ์ต่างๆให้กำลังใจและคอยอยู่เป็นเพื่อน ช่วงที่จอห์นเริ่มมีความคิดหมกมุ่นและมีพฤติกรรมแปลก ๆ เพิ่มมากขึ้น
วัยผู้ใหญ่
จอห์นทำงานที่วีลเลอร์แลปส์และงานสายลับ ซึ่งพบว่าชาร์ลส์ยังมาปรากฏตัวอยู่กับเขาหลายสถานการณ์บางครั้งยังมีหลานสาวตามมาด้วยโดยชาร์ลส์เป็นเพียงคนเดียวที่จอห์นสามารถพูดคุยเรื่องราวต่างๆด้วยได้ จอห์นเริ่มสร้างห้องทำงานลับที่ใช้ทำงานสายลับถอดรหัสจากนิตยสารต่างๆต่อมาจอห์นมีแฟนและตัดสินใจแต่งงานกันในที่สุด
วัยสูงอายุ
จอห์นสามารถควบคุมตัวเองและอยู่กับภาพหลอนนั้นได้ เขาจึงได้รับการยอมรับจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและได้รับรางวัลโนเบลจากทฤษฎีสมดุลระบบ ที่เขาพัฒนาตั้งแต่เป็นนักศึกษา
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
-
- ครอบครัววิตกกังวลเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย
-
-
-
กิจกรรมพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและญาติด้วยท่าทีที่เป็นมิตร เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติไว้วางใจ ลดความวิตกกังวล ยอมรับความเจ็บป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษา พยาบาลต้องให้เวลา มีความอดทนในการรับฟัง แสดงความเข้าอกเข้าใจผู้ป่วยและญาติด้วยการมีท่าทีที่เป็นมิตรและอบอุ่น
2.ให้คำปรึกษา แนะนำผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับอาการ พยาธิภาพของโรค และร่วมวางแผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา
3.เปิดโอกาสให้ผู้ปวยและญาติได้ระบายความรู้สึกวิตกกังวล และให้ซักถามข้อสงสัยพร้อมอธิบายให้เข้าใจ เพื่อลดความกดดันทางอารมณ์ และรับฟังด้วยความตั้งใจ
4.ให้คำแนะนำ และร่วมกันหาวิธีรับมือกับผลข้างเคียงของยา เช่น ถ้าหากผู้ป่วยมีความต้องการทางเพศลดลง อาจใช้วิธีอื่นที่สามารถช่วยให้ภรรยาสำเร็จความใคร่ ได้แก่ Sex toys เพื่อลดปัญหาภายในครอบครัว
5.กระตุ้นให้ญาติมีส่วนร่วมในการให้กำลังใจ และกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งส่งเสริมการปรับตัว การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันได้
6.แนะนำเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด การฝึกหายใจ การทำจิตใจให้สงบ อ่านหนังสือ ฟังเพลง เพื่อคลายความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
-
-
การวินิจฉัย
DSM-5
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน และต้องมีอย่างน้อย 1 อาการในข้อ 1, 2, หรือ 3
-
การพูดจาสับสน เนื่องจากไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นระบบได้ เช่น ตอบไม่ตรงคำถาม (Disorganized speech)
-
พฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิมมากหรือมีพฤติกรรมแบบ catatonic (Grossly disorganized or catatonic behavior)
ตั้งแต่ ทำตัวบ้าๆบอๆแบบเด็ก หรือก้าวร้าวรุนแรงได้; catatonic behavior คือ การไม่เคลื่อนไหวตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม อาจต่อต้านเมื่อจับให้เคลื่อนไหว (negativism) อาจมีรูปแบบการเคลื่อนไหวซ้ำๆ แข็งทื่อ ทำหน้าตาบูดเบี้ยว ไม่พูดหรือพูดเลียนคำพูดคนอื่น
-
-
C. มีอาการโรคจิตต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยอย่างน้อยต้องมีช่วงที่มีอาการตรงตามเกณฑ์ข้อ A อย่างน้อย 1 เดือน
-
กรณีศึกษา
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน และต้องมีอย่างน้อย 1 อาการในข้อ 1, 2, หรือ 3
-
-
-
-
-
-
-
การตรวจสภาพจิต
- ลักษณะทั่วไป (General Appearance)
จากการสังเกต ผู้ป่วยเป็นชายชาวตะวันตก วัยผู้ใหญ่ตอนต้น รูปร่างสันทัด ผมสีน้ำตาลเข้ม ไม่มัน ไม่มีรังแค ผิวขาว ปากแห้งเล็กน้อย เล็บมือและเท้าตัดสั้นสะอาด นั่งกุมมือและบีบมือตัวเองเกือบตลอดเวลา แต่งตัวสะอาด สีหน้า วิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
- การเคลื่อนไหว (Psychomotor Activity)
-
- ความสามารถในการรับสัมผัส (Perception)
จากการสนทนาและการสังเกตเพื่อประเมินการรับสัมผัสด้านต่างๆ ผู้ป่วยรับสัมผัสได้ตามปกติ แต่บางครั้งผู้ป่วย พูดคนเดียวเหมือนก าลังสนทนากับใคร สอบถามทราบว่าผู้ป่วยก าลังสนทนากับเพื่อนชื่อชาร์ลส์ ซึ่งผู้ป่วยบอกว่า ตอนที่ถูกน าตัวมาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยเห็นเพื่อนคนนี้เข้ามาในห้องตรวจด้วย เขาเป็นเพื่อนกับชาร์ลส์ตั้งแต่เริ่มเข้า เรียนปริญญาเอก อยู่ด้วยกันมาตลอดแม้จะจบการศึกษาแล้วผู้ป่วยยังมักเห็นเพื่อนคนดังกล่าวมาปรากฏตัวอยู่กับเขา บ่อยๆในสถานการณ์ต่างๆ
- ระดับของการรู้สึกตัว (Conscious)
-
จากการสนทนาผู้ป่วยรับรู้วัน เวลา และสถานที่ได้ แต่บอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย ผู้ป่วยจึง ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเท่าที่ควร การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning; PBL)
จากการสนทนาผู้ป่วยมีความจำเฉพาะหน้า (Immediate and Recall memory) ความจำระยะสั้น (Recent memory) และความจำระยะยาว (Remote memory) เป็นปกติ สามารถจำกลุ่มตัวเลขยากๆยาวๆได้เป็นอย่างดี
- ระดับสติปัญญา (Intelligence)
จากการสนทนาและจากผลการทดสอบ ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จบการศึกษาระดับปริญญาเอก มีความรู้ ความเข้าใจและมีสติปัญญาในระดับอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์
- ความตั้งใจและสมาธิ (Attention & Concentration)
- 2 more items...
-
-
อ้างอิง
- กันต์ธีร์ อนันตพงศ์. (2558).Schizophrenia (โรคจิตเภท). สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/elearning/document/undergrade/Doc1-3/schizophrenia.pdf
- ชูทิตย์ ปานปรีชา.(2560).ตำราจิตเวชศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์อักษรไทย.สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จากhttp://mhtech.dmh.moph.go.th/fileupload/202002061595902378.pdf
- ชนกานต์ ชัชวาลา. (2557).การใช้ยาทางจิตเวชในเวชปฏิบัติจิตเวชกรรม.สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จากhttps://meded.psu.ac.th/binla/class06/388_622/Use_of_psychiatric_drugs/index2.html
- นภวัลย์กัมพลาศิริ.(2558).บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์(Mood Disorders).สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564,จาก http://www.elnurse.ssru.ac.th/noppawan_ku/pluginfile.php/204/block_html/content/.pdf
- นิตยา ศรีจำนง.(2557).บทที่ 4.2.1 การพยาบาลผู้ที่มี ความผิดปกติทางด้านความคดิและการรับรู้:Delusion, Hallucination, Illusion,Paraniod ,Withdrawal.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564, จากhttp://www.elnurse.ssru.ac.th/nitaya_si/pluginfile.php
- ผ่องศรี งามดี.(2562).การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิหวาดระแวง.สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564 ,จาก https://he02.tcithaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/246789/169016
- มาโนช หล่อตระกูล.(2558).โรคจิตเภท.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 จาก https://med.mahidol.ac.th/- วนิดา รัตนสุมาวงศ์. (ม.ป.ป.).โรคจิตเภท schizophrenia. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก http://www.pcm.ac.th/druweb/sites/default/files/userall76/Schi%20Brochur.pdf
- วรลักษณา ธิราโมกข์. (ม.ป.ป.).โรคจิตเภท (Schizophrenia). สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จากhttps://www.manarom.com/blog/schizophrenia.html
- อารีย์ หินเพชร.(2562).โรคจิตเภท(Schizophrenia)สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564, จาก http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileknowledge/183_2019-02-15.pdf