Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cholangioma, ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล - Coggle Diagram
Cholangioma
การรักษา
*การผ่าตัด
- การผ่าตัดมักใช้ในกรณีที่มะเร็งไม่ลุกลามไปนอกท่อน้ำดี ซึ่งอาจทำได้ยาก ระหว่างการผ่าตัดท่อน้ำดีในส่วนที่เป็นมะเร็งจะถูกตัดออกและเชื่อมต่อส่วนที่เหลือระหว่างตับและลำไส้เล็กเพื่อให้น้ำดีกลับมาไหลอีกครั้ง
- ถ้ามะเร็งลุกลามไปเนื้อเยื่อรอบ ๆ อาจจำเป็นต้องตัดบางส่วนของตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อน และเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก
- การผ่าตัดเพื่อสร้างทางเดินน้ำดีใหม่ใช้ในกรณีถ้าก้อนมะเร็งอุดกั้นท่อน้ำดีและเกิดภาวะตัวตาเหลือง แต่ไม่สามารถตัดก้อนออกได้ การผ่าตัดใช้ถุงน้ำดี เรียกว่า Cholecysto – Jejunostomy หรือ Cholecystoduodenostomy ถ้าใช้ท่อน้ำดี เรียกว่า Hepatico – Jejunostomy
- การผ่าตัดที่เรียกว่า Gastrojejunostomy ถ้ามีการอุดกั้นของลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการผ่าตัดเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กส่วนกลาง ซึ่งช่วยลดอาการอาเจียน ซึ่งเกิดจากมะเร็งอุดกั้นลำไส้เล็กส่วนต้น
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- ERCP เป็นวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารแล้วใส่ขดลวดที่ยาวประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร หรือ 2 – 4 นิ้ว เข้าไปในท่อน้ำดีที่อุดตัน
- PTBD เป็นการรักษาผ่านผิวหนัง โดยใส่ท่อระบายเล็ก ๆ ผ่านเข้าไปในตับ และทำการระบายน้ำดีออกเป็นการชั่วคราว บางครั้งอาจมีการใส่ขดลวด (Stent) เพื่อแก้ไขภาวะอุดตัน
*การฉายรังสีรักษา
มีการใช้การฉายรังสีรักษาเป็นบางครั้ง อาจใช้รังสีจากเครื่องกำเนิดรังสีจากภายนอก หรือการฝังอุปกรณ์กำเนิดรังสีในร่างกายใกล้กับก้อนมะเร็ง
-
-
ข้อมูลผู้ป่วย
หญิงไทย อายุ 68 ปี เริ่มมีอาการปวดตื้อๆ ซ้ำที่บริเวณลิ้นปี่ด้านขวา มีอาการคันอย่างรุนแรง พร้อมกับอาการตัวเหลืองตาเหลือง อุจจาระมีสีขาว น้ำหนักตัวลดลง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และมีอาการอ่อนเพลียมาประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล
-
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : 1.การตรวจค่าการทดสอบสารสีเหลือง (Bilirubin) และสารบ่งชี้มะเร็งCA19-901
2.ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Untrasonography)
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography Scan : CT Scan)
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography Scan : CT Scan)
4.การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic Rasonance Imaging Scan : MRI Scan)
5.การส่องกล้องตรวจและฉีดสีเอกซเรย์ ท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography : ERCP)
พยาธิสภาพ
มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma, CCA ) คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีภายในตับ และท่อน้ำดีภายนอกตับ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 4 ระยะ
ขั้น 1 เอ (Stage 1A) มะเร็งอยู่เฉพาะบริเวณท่อน้ำดี ขั้น 1 บี (Stage 1B) มะเร็งลุกลามออกจากท่อน้ำดี แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะใกล้เคียง
ขั้น 2 เอ (Stage 2A) มะเร็งลุกลามไปที่ตับ ตับอ่อน หรือถุงน้ำดี หรือหลอดเลือดใกล้เคียง แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
ขั้น 2 บี (Stage 2B) มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ขั้น 3 (Stage 3) มะเร็งลุกลามไปที่หลอดเลือดหลักที่นำเลือดเข้าและออกจากตับหรือลุกลามไปที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร หรือผนังช่องท้อง และแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
ขั้น 4 (Stage 4) มะเร็งลุกลามไปที่อวัยวะห่างไกล เช่น ปอด เป็นต้น
สาเหตุ
เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับจากการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลา ปลาดิบ ปลาร้าที่ไม่สุก ภาวะที่มีความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีแต่กำเนิด เช่น โรคซีสต์ของทางเดินท่อน้ำดี ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของท่อน้ำดี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ภาวะตับแข็ง
ภาวะแทรกซ้อน พบว่ามีการลุกลามไปสู่อวัยวะอื่นได้โดยเฉพาะอวัยวะข้างเคียงและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ๆ ทั้งๆที่ตัวก้อนมะเร็งนั้นอยู่ในระยะสุดท้ายแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ยังลุกลามไปยังเส้นประสาท ที่อยู่ใกล้ๆและพบว่าได้มีการกระจายไปที่อื่นๆเช่น กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกอื่นๆ สมอง ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังก็พบได้บ้าง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
ปัญหาที่ 4
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารและอิเล็กโตรไลต์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเนื่องจากเบื่ออาหาร
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินภาวะพร่องโภชนาการและความรุนแรงของภาวะพร่องโภชนา ได้แก่ อ่อนเพลีย ผอม ชีด น้ำหนักลด ระดับอัลบูมินและโปรตีนในเลือด ประเมินดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) จากน้ำหนักตัวและความสูง
- ประเมินภาวะขาดน้ำ ได้แก่ การตึงตัวของผิวหนังลดลง ริมฝีปากแห้ง กระหายน้ำ ความดันต่ำ ชีพจรเร็ว การเปลี่ยนแปลงการรับรู้
3ดูแลความสะอาดของปากและฟันเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
4.จัดให้นอนศีรษะสูงขณะรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าปอด
- ดูแลให้ได้รับสารอาหาร สารน้ำ รวมถึงยาเพื่อบรรเทาอาการอาเจียน ท้องเสียตามแผนการรักษา
- ติดตามอาการ อาการแสดงของการพร่องสมดุลของสารอาหารน้ำและอิเล็กโตรลัยต์ และรายงานแพทย์เพื่อช่วยเหลืออย่างเหมาะสม 6.1ภาวะโพแทสเชียมในเลือดต่ำ (hypokalemia)
ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงคลื่นไส้
6.2 ภาวะคูลอไรด์ในเลือดต่ำ (hypochloremia) ได้แก่เวียนศีรษะ อ่อนแรง กล้ามเนื้อหดเกร็ง
6.3 ภาวะแคลเชียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) ได้แก่ ชาตามปลายมือปลายเท้า
-
-