Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 สรุปกลุ่มที่ 7, จรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึ…
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 สรุปกลุ่มที่ 7
องค์กรวิชาชีพ
องค์กรวิชาชีพครู
องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ
กระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
หมวด ๗
ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายก าหนด
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
การจัดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และ บุคลากรทางการศึกษาอื่น
ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่บุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาตามมาตรา ๑๘ (๓) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษาและวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
จรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและ เสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ
สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา
กำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
จะต้องมีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ
มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด
มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
อย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้
มาตรฐานการปฏิบัติตน
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนว ทางในการประพฤติปฏิบัติ
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพกำหนดเป็นข้อบังคับคุรุสภา
หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น จนได้รับร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหาร
Higgs และ Dulewicz (1999)
EQ (Emotional Quotient) และ EI (Emotional Intelligent)
EI จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างด้านต่าง ๆ ของความฉลาดทางอารมณ์
EQ มีความหมายเกี่ยวข้องกับผลที่ได้จากการวัดหรือประเมิน
“วุฒิภาวะทางอารมณ์” หมายถึง
สามารถในการสร้างสมดุลของภาวะจูงใจและแรงขับของตนด้วยพฤติกรรมอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะและมีจริยธรรม
การบรรลุเป้าหมายของบุคคล โดยใช้ความสามารถบริหารจัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ตนเอง
มีความสามารถรับรู้ได้ไว และมีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอื่น ๆ
Daniel Goleman
สมรรถนะที่เกี่ยวกับตนเอง
( Personal competence )
ด้านความสามารถตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง ( Self - awareness )
1.2 สมรรถนะในการประเมินตนเองได้ถูกต้อง
1.3 สมรรถนะด้านความมั่นใจ
1.1 สมรรถนะในการตระหนักรู้ตนเอง
ด้านความสามารถบริหารจัดการตนเอง ( Self - management )
2.2 สมรรถนะด้านความโปร่งใส่ ( Transparency )
2.3 สมรรถนะด้านความสามารถปรับตัว (aptability)
2.4 สมรรถนะด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Achievement )
2.5 สมรรถนะด้านริเริ่ม ( Initiative )
2.6 สมรรถนะการมองโลกในแง่ดี ( Optimism )
2.1 สมรรถนะในการควบคุมอารมณ์ตนเอง
สมรรถนะที่เกี่ยวกับสังคม ( Social competence )
ด้านความสามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์ ( Relationship management )
2.1 สมรรถนะในการสร้างแรงดลใจ ( Inspiration )
2.2 สมรรถนะด้านอำนาจอิทธิพล ( Influence )
2.3 สมรรถนะในการพัฒนาผู้อื่น ( Developing others )
2.4 สมรรถนะการเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง ( Change catalyst )
2.5 สมรรถนะในการบริหารความขัดแย้ง ( Conflict management )
2.6 สมรรถนะในการสร้างทีมงานและความร่วมมือ (Teamwork and collaboration )
ด้านความตระหนักรู้ทางสังคม ( Social awareness ) มี 3 สมรรถนะ ดังนี้
1.2 สมรรถนะความตระหนักรู้ด้านองค์การ ( Organizational awareness )
1.3 สมรรถนะด้านการบริการ ( Service )
1.1 สมรรถนะในการเข้าใจผู้อื่น