Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case Analysis - Coggle Diagram
Case Analysis
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ด้านแม่
-
-
-
-
ปวดมดลูกและฝีเย็บ
การพยาบาล
1.จัดท่านอนที่ช่วยในการลดการปวดแผลฝีเย็บ โดยควรนอนตะแคงซ้ายเนื่องจากตัดแผลฝีเย็บทางด้านขวาเพื่อลดแรงกดต่อแผลฝีเย็บและลดอาการปวด (พัชรา, 2561)
2.จัดกระเป๋าน้ำแข็งประคบบริเวณแผลฝีเย็บใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเพราะความเย็นจะส่งผลให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้อาการปวดและบวมลดลง (พัชรา, 2561)
3.สอนเทคนิคการผ่อนคลายโดยการบริหารการหายใจเป็นจังหวะ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด (พัชรา, 2561)
4.แนะนำการทำความสะอาดแผลฝีเย็บด้วยน้ำอุ่นหลังการอาบน้ำโดยล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง และเช็ดให้แห้งจากด้านหน้าไปด้านหลัง ขณะทำความสะอาดไม่ควรแยกแคม เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดได้ (พัชรา, 2561)
5.แนะนำให้ล้างฝีเย็บทุกครั้งหลังปัสสาวะหรืออุจจาระ และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าหรือกระดาษชำระจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด (พัชรา, 2561)
7.ดูแลให้มารดาหลังคลอดรับประทานยาบรรเทาปวด Paracetamal (500mg) 2 เม็ด เพื่อบรรเทาอาการปวดและให้สุขสบายขึ้น (พัชรา, 2561)
6.แนะนำการบริหารฝีเย็บ เช่น การทำ Kegel exercise โดยให้ขมิบช่องคลอด ซึ่งจะต้องทำวันละ 100-300ครั้ง เพื่อส่งเสริมการหายของแผล และช่วยให้กล้ามเนื้อรอบช่องคลอดและฝีเย็บแข็งแรงและหดรัดตัวดี (พัชรา, 2561)
-
ด้านลูก
-
เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ได้ง่ายเนื่องจากมีการสูญเสียความร้อนและการควบคุมอุณภูมิของร่างกายยังไม่ดีพอ
การพยาบาล
1.ดูแลให้ทารกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิที่ทำให้ทารกมีการใช้ออกซิเจนและมีการเผาผลาญอาหารน้อยที่สุด (Neutral thermal environment, NTE) โดยให้ทารกอยู่ในตู้อบ หรือ Radiant warmer สำหรับทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 1,000 กรัม (ELBW) ควรใช้ Servocontrolled incubator โดยติด Skin probe ไว้ที่ผนังหน้าห้อง และตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิผิวหนังทารกไว้ที่ 36.5 องศาเซลเซียส
2.ทารกแรกเกิดประเภท ELBW ที่ได้รับความอบอุ่นจาก Radiant warmer ควรดูแลโดยคลุมแผ่นพลาสติกใส (Plastic wrap) ที่เตียงของทารกเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและความร้อนทางผิวหนัง (Insensible water loss)
4.สังเกตอาการของ Hypothermia เช่น เขียวตามปลายมือปลายเท้า ซึม กระสับกระส่าย ผิวหนังซีดและเย็น หายใจเร็ว รับนมไม่ได้ น้ำหนักไม่เพิ่ม เมื่อพบว่า ทารกมีภาวะ Hypothermia ควรให้การดูแลโดยเพิ่มอุณหภูมิของตู้อบหรือวางตัวทารกไว้ใต้ Radiant warmer หรือห่อตัวทารกให้อบอุ่น
5.สังเกตอาการของ Hyperthermia เช่น ผิวหนังแดงขึ้น และร้อน หายใจเร็วขึ้น ควรแก้ไขตามสาเหตุของการมีอุณหภูมิร่างกายสูง เช่น ห่อตัวทารกมากเกินไป อุณหภูมิของตู้อบสูงเกินไป เป็นต้น
3.หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงที่อาจทำให้ทารกสูญเสียความร้อน เช่น หลีก เลี่ยงการวางทารกไว้บนที่นอนที่เย็น หรือที่ๆ มีลมพัดผ่าน หรือวางทารกไว้ใกล้ฝาผนังห้องที่เย็น เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกเมื่อเปียกชื้น เป็นต้น
-
Diagnosis
Elderly gravidarum with Mild pre-eclampsia without severe features with Malposition (OPP) with ND. vaccuum extrction with SGA